ข้ามไปเนื้อหา

ความตายจงประสบกับอเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ประท้วงชาวอิหร่านกำลังเผาธงชาติสหรัฐในเตหะราน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018

ความตายจงประสบกับอเมริกา (อังกฤษ: Death to America; เปอร์เซีย: مرگ بر آمریکا Marg bar Āmrikā) เป็นประโยคในทางการเมืองและบทสวดที่ใช้ในนโยบายต่อต้านอเมริกาของประเทศอิหร่านตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่านในปี ค.ศ. 1979[1] เมื่อรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำคนแรกของประเทศอิหร่านทำให้วลีนี้โด่งดังขึ้น[2] โดยเปิดในวิทยุและโทรทัศน์ แต่ไม่ใช้สำหรับประท้วงและจุดประสงค์อื่น[3]

ในการแปลภาษาเปอร์เซียส่วนใหญ่จะลดความรุนแรงจาก "Death to America" เป็น "Down with America" ในภาษาอังกฤษ[4][5] ส่วนบทร้อง "ความตายจงประสบกับอเมริกา" ได้กลายเป็นคำที่ใช้กันทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ต่อต้านอเมริกา[6] และสโลแกนเดียวกันมีชื่อว่า "ความตายจงประสบกับอิสราเอล" (เปอร์เซีย: مرگ بر اسرائیل) และในทางการของอิหร่านจะใช้บทร้องนี้สำหรับนักการเมืองของสหรัฐเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงประชาชนของสหรัฐแต่อย่างใด[7]

การใช้นอกประเทศอิหร่าน

[แก้]
สโลแกนบนธงของฮูษีในประเทศเยเมนกล่าวว่า "อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ความตายจงประสบกับอเมริกา ความตายจงประสบกับอิสราเอล ขอสาปแช่งแก่ชาวยิว ขอให้อิสลามได้ชัยชนะ"

ในสโลแกนของกลุ่มฮูษีในประเทศเยเมนได้ใช้ป้าย[8] ที่มีความหมายว่า "อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ความตายจงประสบกับอเมริกา ความตายจงประสบกับอิสราเอล ขอสาปแช่งแก่ชาวยิว ขอให้อิสลามได้ชัยชนะ"[9]

การตีความและความหมาย

[แก้]

ฮุเซ็น อัลฮัมรัน หัวหน้ากลุ่มฮูษีกล่าวว่า "คำว่า 'ความตายจงประสบกับอเมริกา' เราหมายถึงนักการเมืองอเมริกัน ไม่ใช่ประชาชนชาวอเมริกัน"[10] ส่วนอะลี อัล-บุคัยตีที่อยู่กลุ่มเดียวกันกล่าวว่า "เราไม่ต้องการให้ใครตาย สโลแกนนี้มักใช้กับรัฐบาลของพวกมัน [ป.ล. สหรัฐ และอิสราเอล]"[11]

ส่วนแฮแซน โรว์ฮอนี ประธานาธิบดีของอิหร่านปฏิเสธการตีความสโลแกนนี้ โดยกล่าวว่าวลีนี้ใช้แสดงความขัดแย้งต่อนักการเมืองของสหรัฐ มากกว่าความเกลียดชังต่อประชาชนชาวอเมริกัน[12][13]

เดวิด ลูบันสังเกตว่ามีการใช้สโลแกนนี้ในช่วงที่สหรัฐโจมตี เช่น วินาศกรรม 11 กันยายน[14]

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 แอลี ฆอเมเนอีกล่าวว่า "ความตายจงประสบกับอเมริกา" หมายถึง ความตายจงประสบกับโดนัลด์ ทรัมป์, จอห์น อาร์. โบลตัน และไมก์ พอมเพโอ[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vanessa Martin (2003). Creating An Islamic State: Khomeini and the Making of a New Iran. p. 152.
  2. Philip Herbst (2003). Talking Terrorism: A Dictionary of the Loaded Language of Political Violence. p. 6.[ลิงก์เสีย]
  3. Arash Karami: Khomeini Orders Media to End ‘Death to America’ Chant เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Iran Pulse, October 13, 2013
  4. "The politics of 'Death to America'". The Washington Post. 8 October 2013.
  5. "Iran's hardliners planning 'Death to America' rally on anniversary of US Embassy attack". The National. 22 October 2013.
  6. Herbst, p. 6-7
  7. ""Death to America" and the Iran Deal". New Yorker. 30 July 2015.
  8. "With Arms for Yemen Rebels, Iran Seeks Wider Mideast Role". The New York Times. 15 March 2012.
  9. "Yemen's 'Death to America' rebels bring calm to northern Yemen". The Christian Science Monitor. 28 October 2012.
  10. "Yemen in crisis". Esquire. 4 Jun 2015. สืบค้นเมื่อ 5 September 2015.
  11. "Photo Essay: Rise of the Houthis". Newsweek. 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 27 March 2015.
  12. "به برجام نه ماده‌ای اضافه می‌شود و نه تبصره‌ای/ در صحبت‌های ترامپ جز فحاشی و اتهامات واهی حرف دیگری وجود نداشت/ ملت ایران در برابر هیچ قدرتی سر تسلیم فرود نمی‌آورد". PressTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-16.
  13. "'Death to America' chants not personal, Rouhani says" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-10-15.
  14. Luban, David. "The war on terrorism and the end of human rights." Philosophy & Public Policy Quarterly 22.3 (2002): 9-14.
  15. Erdbrink, Thomas. "'Death to America' Means 'Death to Trump'". nytimes. สืบค้นเมื่อ 8 February 2019.