สนธิสัญญาจันทรา
ความตกลงว่าด้วยกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น | |
---|---|
วันลงนาม | 18 ธันวาคม ค.ศ. 1979 |
ที่ลงนาม | นิวยอร์ก สหรัฐ |
วันมีผล | 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1984 |
เงื่อนไข | ให้สัตยาบัน 5 ประเทศ |
ผู้ลงนาม | 11[1] |
ภาคี | 18[2][1] (ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022) |
ผู้เก็บรักษา | เลขาธิการสหประชาชาติ |
ภาษา | อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สเปน, อาหรับ และจีน |
ข้อความทั้งหมด | |
![]() |
ความตกลงว่าด้วยกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น (อังกฤษ: Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies)[3][4] ที่รู้จักกันในชื่อ สนธิสัญญาจันทรา (อังกฤษ: Moon Treaty) หรือ ความตกลงจันทรา (อังกฤษ: Moon Agreement) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้บรรดาเทห์ฟากฟ้าและวัตถุที่โคจรรอบเทห์ฟากฟ้า เป็นพื้นที่ในเขตอำนาจของประชาคมโลก ส่งผลให้กิจกรรมทั้งปวงในพื้นที่ดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ
น่าเสียดายที่ความตกลงนี้ไม่ประสบผลสำเร็จดังคาดหมายกัน เนื่องเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐชาติที่ดำเนินหรือจะดำเนินการสำรวจอวกาศโดยมนุษย์ด้วยตนเองแม้แต่รัฐเดียว (รัฐเหล่านี้ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน) ทำให้ไม่มีความเกี่ยวข้องในกฎหมายระหว่างประเทศ[5] ข้อมูลเมื่อ มกราคม 2022[update] มีประเทศที่เป็นสมาชิกสนธิสัญญา 18 ประเทศ[1]
สาระสำคัญ
[แก้]สนธิสัญญานี้ประกาศเจตนารมณ์ว่า ดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจะต้องได้รับการใช้สอยเพื่อประโยชน์แห่งรัฐทั้งปวงและประชาคมโลก กับทั้งประกันความคุ้มครองดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจากการตกเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยสนธิสัญญานี้มีข้อกำหนดดังนี้
- ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าเพื่อประโยชน์ทางการทหาร รวมถึงเพื่อการทดลองอาวุธหรือเพื่อเป็นฐานที่ตั้งทางการทหาร
- ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าโดยมิได้รับความยินยอมจากรัฐอื่นหรือโดยไม่ก่อประโยชน์แก่รัฐอื่น
- การใช้เทห์ฟากฟ้า รวมถึงการค้นพบและการพัฒนาอันเนื่องจากการใช้ดังกล่าว ต้องแจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบทุกกรณี
- รัฐทุกรัฐมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินการวิจัยบนเทห์ฟากฟ้า
- รัฐที่ได้มาซึ่งตัวอย่างของแร่หรือสสารอื่นจากเทห์วัตถุ ต้องพิจารณาแบ่งส่วนตัวอย่างนั้นเพื่อจัดไว้ให้รัฐอื่นหรือประชาคมทางวิทยาศาสตร์ที่สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อใช้ในงานวิจัยได้
- ห้ามการยังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบนเทห์ฟากฟ้า และรัฐที่ดำเนินกิจกรรมบนนั้นต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษโดยอุบัติเหตุ
- ห้ามรัฐใด ๆ อ้างอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งใดก็ดีบนเทห์ฟากฟ้า
- ห้ามบุคคลหรือองค์กรใดมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันมีแหล่งกำเนิดนอกโลก เว้นแต่เป็นองค์กรระหว่างประเทศหรือระหว่างรัฐบาล
- การสกัดเอาและนำพาไปซึ่งทรัพยากรจากเทห์ฟากฟ้า ให้กระทำได้โดยระบอบระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international regime)
สมาชิก
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a6/Moon_Treaty_Participation.svg/400px-Moon_Treaty_Participation.svg.png)
ประเทศ[1][2] | ลงนาม | ยืนยัน | วิธีการ |
---|---|---|---|
![]() |
19 ม.ค. 2018 | เข้าถึง | |
![]() |
7 ก.ค. 1986 | เข้าถึง | |
![]() |
21 พฤษภาคม 1980 | 11 มิ.ย. 1984 | ให้สัตยาบัน |
![]() |
29 มิ.ย. 2004 | เข้าถึง | |
![]() |
3 ม.ค. 1980 | 12 พ.ย. 1981 | ให้สัตยาบัน |
![]() |
11 ม.ค. 2001 | เข้าถึง | |
![]() |
28 เม.ย. 2014 | เข้าถึง | |
![]() |
12 เม.ย. 2006 | เข้าถึง | |
![]() |
11 ต.ค. 1991 | เข้าถึง | |
![]() |
25 ก.ค. 1980 | 21 ม.ค. 1993 | ให้สัตยาบัน |
![]() |
27 ม.ค. 1981 | 17 ก.พ. 1983 | ให้สัตยาบัน |
![]() |
27 ก.พ. 1986 | เข้าถึง | |
![]() |
23 มิ.ย. 1981 | 23 พ.ย. 2005 | ให้สัตยาบัน |
![]() |
23 เม.ย. 1980 | 26 พฤษภาคม 1981 | ให้สัตยาบัน |
![]() |
18 ก.ค. 2012 | เข้าถึง | |
![]() |
29 ก.พ. 2012[6] | เข้าถึง | |
![]() |
1 มิ.ย. 1981 | 9 พ.ย. 1981 | ให้สัตยาบัน |
![]() |
3 พ.ย. 2016 | เข้าถึง |
ประเทศที่ลงนาม
[แก้]ประเทศ[1][2] | ลงนาม |
---|---|
![]() |
29 ม.ค. 1980 |
![]() |
20 พ.ย. 1980 |
![]() |
18 ม.ค. 1982 |
![]() |
17 เม.ย. 1980 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Agreement governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies". United Nations. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies". United Nations Office for Disarmament Affairs. สืบค้นเมื่อ 2013-05-16.
- ↑ Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies. - Resolution 34/68 Adopted by the General Assembly. 89th plenary meeting; 5 December 1979.
- ↑ Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies, Dec. 5, 1979, 1363 U.N.T.S. 3
- ↑ "Institutional Framework for the Province of all Mankind: Lessons from the International Seabed Authority for the Governance of Commercial Space Mining.] Jonathan Sydney Koch. "Institutional Framework for the Province of all Mankind: Lessons from the International Seabed Authority for the Governance of Commercial Space Mining." Astropolitics, 16:1, 1-27, 2008. doi:10.1080/14777622.2017.1381824
- ↑ "Reference: C.N.124.2012.TREATIES-2 (Depositary Notification)" (PDF). New York, NY: United Nations. สืบค้นเมื่อ 2012-04-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ Moon Treaty
- International Institute of Space Law เก็บถาวร 2016-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - promotes the expansion of the rule of law for the peaceful use of outer space.
- สนธิสัญญาจันทรา เก็บถาวร 2009-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — "Agreement Governing The Activities Of States On the Moon And Other Celestial Bodies" (1979)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสนธิสัญญา — United Nations Office for Outer Space Affairs (UNOOSA), including versions of the treaty in several languages: Arabic, Chinese, English, French, Russian, and Spanish.