ความคลาดไซเดิล
ความคลาดไซเดิล (Seidel aberration)[1][2][3][4][5] คือความคลาดแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางทัศนศาสตร์ เช่น การเบลอและการบิดเบี้ยว ที่เกิดขึ้นเมื่อภาพถูกสร้างขึ้นด้วยเลนส์ หรือกระจกเงา โดยในที่นี้ไม่รวมถึง ความคลาดสี แต่จะว่าด้วยความคลาดที่เกิดขึ้นกับแสงที่มีความยาวคลื่นเดียว สามารถอธิบายได้ว่าเป็นความคลาดที่เกิดจากพจน์อันดับสามในการคำนวณโดยประมาณ ตั้งชื่อตามนักวิจัย ชาวเยอรมัน ฟิลลิพ ลูทวิช ฟ็อน ไซเดิล ในศตวรรษที่ 19 อาจเรียกอีกอย่างว่า ความคลาดทั้ง 5 ของไซเดิล เพราะแบ่งเป็น 5 ประเภท
ชนิด
[แก้]ความคลาดไซเดิลมี 5 ประเภท ได้แก่
- ความคลาดทรงกลม
- ความคลาดที่ลำแสงซึ่งมีแหล่งกำเนิดแสงเป็นจุดในระบบเชิงแสงเกิดการกระจายตวไม่มาบรรจบกันที่จุดโฟกัสจุดเดียวหลังจากผ่านระบบเชิงแสง
- ความคลาดแบบโคมา
- ความคลาดที่แสงที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงนอกแกนเชิงแสงไม่บรรจบกันที่จุดเดียวบนระนาบภาพ
- ความคลาดเอียง
- ความคลาดที่ความยาวโฟกัสของแสงที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงจุดหนึ่งนอกแกนเชิงแสงจะเปลี่ยนไปตามทิศทางตามแนวรัศมีและแนวเส้นรอบวงเลนส์
- ความโค้งสนาม
- ความคลาดที่ระนาบโฟกัสขนานกับเลนส์ไม่สอดคล้องกันจากระนาบหนึ่งไปอีกระนาบที่ด้านหน้าและด้านหลังของเลนส์
- ความผิดรูป
- ความคลาดที่พบเมื่อมองวัตถุที่ควรจะเป็นตารางแต่กลับปรากฏว่าเป็นตารางอย่างที่ควรจะเป็น
ความคลาดทั้งหมดนี้มักเกิดขึ้นได้พร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ความแตกต่างของระดับความโค้งสนามระหว่างภาพ M และภาพ S ซึ่งปรากฏเป็นความคลาดเอียง ความคลาดเหล่านี้ปรากฏขึ้นในค่าสัมประสิทธิ์ของพจน์กำลังสามที่ได้จากการกระจายเทย์เลอร์ของ sin (โดยที่ เป็นมุมตกกระทบของลำแสงบนผิวเลนส์) เมื่อหาเส้นทางเดินแสงโดยใช้กฎของสแน็ล ด้วยเหตุผลนี้ จึงอาจถูกเรียกอีกอย่างว่า ความคลาดอันดับสาม
ความคลาดของไซเดิลเป็นวิธีการจำแนกประเภทตามทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต แต่ความคลาดนั้นยังอธิบายได้ว่าเป็นความคลาดของหน้าคลื่นในทัศนศาสตร์คลื่น