ข้ามไปเนื้อหา

ความขัดแย้งซัมปิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งซัมปิต
ส่วนหนึ่งของ ยุคหลังซูฮาร์โต
วันที่18–28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001
สถานที่
ผล
  • การจลาจลสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์
  • เกิดการจลาจลประปรายต่อไปตลอดทั้งปี
คู่สงคราม
ผู้ก่อเหตุชาวไดยัก ผู้ก่อเหตุชาวมาดูรา

อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย

กำลัง
  • 32,000 คนในซัมปิต
  • 1,500,000 คนในจังหวัดกาลีมันตันกลาง
90,000 คนในซัมปิต 4,000–5,000 นายในจังหวัดกาลีมันตันกลาง
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 188 คน
  • เสียชีวิต 500–1,000 คน (ถูกตัดศีรษะ 100–700 คน)[1][2]
  • พลัดถิ่น 100,000–250,000 คน[3]
เสียชีวิต 6 นาย[4]

ความขัดแย้งซัมปิต สงครามซัมปิต หรือ เหตุจลาจลในซัมปิต[5] เป็นความรุนแรงระหว่างชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 และกินเวลาตลอดทั้งปี ความขัดแย้งเริ่มขึ้นที่เมืองซัมปิต จังหวัดกาลีมันตันกลางก่อนจะขยายตัวทั่วจังหวัดรวมถึงปาลังการายาที่เป็นเมืองหลวง เป็นการปะทะกันระหว่างชาวไดยักที่เป็นคนพื้นเมืองกับชาวมาดูราที่อพยพมาจากเกาะมาดูรา นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะชวา[6]

ความขัดแย้งซัมปิตปะทุขึ้นเมื่อชาวมาดูราเริ่มฆ่าชาวไดยักและเข้ายึดเมืองซัมปิต ก่อนจะประกาศให้เป็น "ซัมปังที่สอง" (มาดูราที่สอง) ฝูงชนวุ่นวายชาวมาดูรายังไล่ล่าสังหารชาวไดยักในอีกหลายวันต่อมา จนกระทั่งชาวไดยักตอบโต้ด้วยการตัดศีรษะชาวมาดูราหลายร้อยคน[7][8]

ภูมิหลัง

[แก้]

ชาวไดยักเป็นหนึ่งในกลุ่มคนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว[9] ขณะที่ชาวมาดูราอพยพมาที่เกาะบอร์เนียวใน ค.ศ. 1930 ตามโครงการย้ายถิ่นฐานของเจ้าอาณานิคมดัตช์และรัฐบาลอินโดนีเซียที่สานต่อโครงการ[10] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1996 ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1997 เกิดเหตุความรุนแรงระหว่างชาวไดยัก-มาดูราจนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 600 คน[11] ต่อมาใน ค.ศ. 1999 ชาวไดยักและชาวมลายูร่วมกันฆ่าชาวมาดูราในความขัดแย้งซัมบัสจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน โดยรัฐบาลอินโดนีเซียแทบไม่มีส่วนในการหยุดยั้งเหตุการณ์นี้[12]

ใน ค.ศ. 2000 ผู้อพยพชาวมาดูราคิดเป็น 21 เปอร์เซ็นต์ของประชากรจังหวัดกาลีมันตันกลาง[13] และเริ่มครอบงำภาคเศรษฐกิจส่วนล่าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสการจ้างงานของชาวไดยัก[14] นอกจากนี้กฎหมายใหม่ยังเอื้อให้ชาวมาดูราควบคุมอุตสาหกรรมในจังหวัดอย่างการทำไม้ การทำเหมืองและการเพาะปลูก[13]

ยังไม่ทราบชนวนเหตุความขัดแย้งซัมปิตที่แน่ชัด เรื่องหนึ่งบรรยายว่าเกิดจากไฟไหม้บ้านชาวไดยักก่อนจะมีการแพร่ข่าวลือว่าชาวมาดูราเป็นคนวางเพลิง ชาวไดยักจึงเผาบ้านชาวมาดูราเป็นการตอบโต้[11] ด้านสมาคมชาวไดยักอ้างว่าการสังหารหมู่ที่ชาวไดยักก่อเป็นการป้องกันตัว[15] และอาจมีสาเหตุจากชาวไดยักคนหนึ่งถูกกลุ่มชาวมาดูราทรมานและฆ่าด้วยเรื่องการพนันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000[16] ส่วนอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่าเกิดจากการทะเลาะวิวาทของนักเรียนต่างชาติพันธุ์[17]

การตัดศีรษะและกินอวัยวะ

[แก้]

ชาวไดยักมีประวัติศาสตร์ในการล่าศีรษะมนุษย์มาอย่างยาวนาน แม้ว่าธรรมเนียมนี้จะค่อย ๆ เลือนหายไปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[15][18] ชาวไดยักตัดศีรษะชาวมาดูราอย่างน้อย 300 คนในความขัดแย้งครั้งนี้ และมีรายงานถึงพฤติการณ์หลายอย่าง เช่น การดื่มเลือดเหยื่อ ควักหัวใจและกินเป็นอาหาร โฆษกชาวไดยักกล่าวถึงเรื่องนี้ว่ามาจากความโกรธแค้นชาวมาดูรา "พวกเขาไม่สนใจว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเด็ก พวกเขาเห็นพวกนั้นเป็นแค่สัตว์ที่ต้องฆ่าทิ้ง"[19] ผู้รอดชีวิตชาวมาดูราคนหนึ่งโศกเศร้าที่ลูกหลานของตนที่ถูกฆ่าและกล่าวว่า "พวกนั้นตัดหัวและตัดอวัยวะต่าง ๆ เพื่อนำไปกิน" ขณะที่ตำรวจและทหารยังคงปล่อยให้เกิดเหตุต่อไปจนกระทั่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน[16]

เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานการณ์

[แก้]

เจ้าหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ในจังหวัดกาลีมันตันกลางได้ลำบากเนื่องจากระดับความรุนแรงในการสังหารหมู่และเรียกกำลังเสริมเข้ามาสมทบ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 ชาวไดยักยึดเมืองซัมปิตคืนจากชาวมาดูรา[20] หลังจากนั้นชาวไดยักกว่าพันคนล้อมสถานีตำรวจและกดดันให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังชาวไดยักที่ถูกจับก่อนหน้านี้[20] ตำรวจยอมทำตามข้อเรียกร้องเนื่องจากฝูงชนมีจำนวนมากกว่า ต่อมาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์ได้สำเร็จ[20] แต่การปะทะกันครั้งคราวยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kalimantan's Agony: The failure of Transmigrasi". CNN. May 31, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2008.
  2. "Dan Kepala Bocah Pun Dipenggal". Liputan6 (ภาษาอินโดนีเซีย). March 5, 2001.
  3. Patji, Abdul Rachman (2003). "Tragedi Sampit 2001 Dan Imbasnya Ke Palangka Raya" (PDF). Jurnal Masyarakat Dan Budaya (ภาษาอินโดนีเซีย). 5 (2): 14–34.
  4. "Sampit Mencekam, TNI-Polri Baku Tembak". Liputan6 (ภาษาอินโดนีเซีย). February 28, 2001.
  5. "Sampit jadi lautan api (Kalimantan)". e-borneo.com (ภาษาอินโดนีเซีย). February 23, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-29. สืบค้นเมื่อ April 12, 2019.
  6. Rinakit, Sukardi (2005). The Indonesian Military After the New Order. Nordic Institute of Asian Studies. ISBN 87-91114-06-3.
  7. "Horrors of Borneo massacre emerge". BBC. February 27, 2001. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
  8. "Sejarah Konflik Sampit: Kronologi, Penyebab, dan Penyelesaiannya". Kompas.com (ภาษาอินโดนีเซีย). March 16, 2023.
  9. "Report for ISO 639 code: day". Ethnologue: Countries of the World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2007.
  10. Tri Nuke Pudjiastuti (June 2002). "Immigration and Conflict in Indonesia" (PDF). IUSSP Regional Population Conference, Bangkok. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 11, 2010. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
  11. 11.0 11.1 "Indonesia: The Violence in Central Kalimantan (Borneo)". Human Rights Watch. February 28, 2001. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
  12. Hedman, Eva-Lotta E. (February 16, 2008). Conflict, Violence, and Displacement in Indonesia. SEAP Publications. ISBN 9780877277453 – โดยทาง Google Books.
  13. 13.0 13.1 "Indonesia flashpoints: Kalimantan". BBC. June 28, 2004. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
  14. Rochman, Achwan; Hari, Nugroho; Dody, Prayogo; Suprayoga, Hadi (2005). Overcoming Violent Conflict: Peace and Development Analysis in West Kalimantan, Central Kalimantan and Madura (PDF). Jakarta, Indonesia: United Nations Development Programme. pp. 11–12. ISBN 979-99878-2-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 4, 2014. สืบค้นเมื่อ April 29, 2019.
  15. 15.0 15.1 "Kalimantan's Agony: The failure of Transmigrasi". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2008. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
  16. 16.0 16.1 Elegant, Simon (March 5, 2001). "The Darkest Season". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2006. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
  17. "Interim Report of KONTRAS Fact Finding into the Causes of the Sampit Tragedy". Kontras. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2007. สืบค้นเมื่อ August 14, 2008.
  18. "Beheading: A Dayak ritual". BBC. February 23, 2001. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
  19. Paddock, Richard C. (February 28, 2001). "118 Ethnic Refugees in Borneo Massacred After Police Flee". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 16, 2023.
  20. 20.0 20.1 20.2 "Chronology of violence in Central Kalimantan". Indahnesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2021. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.