ข้ามไปเนื้อหา

ควอลคอมม์ สแนปดรากอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สแนปดรากอน
โลโก้สแนปดรากอน
รายละเอียดทั่วไป
Launchedพฤษจิกายน ค.ศ. 2007
Marketed byควอลคอมม์
ออกแบบโดยควอลคอมม์
Common manufacturer
Products, models, variants
Core name
ยี่ห้อ ชื่อ
    • Snapdragon 8
    • Snapdragon 7
    • Snapdragon 6
    • Snapdragon 4
    • Snapdragon 2

สแนปดรากอน เป็นชุดชิปเซ็ตสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ออกแบบและจัดจำหน่ายโดยควอลคอมม์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของสแนปดรากอนใช้สถาปัตยกรรมอาร์ม ด้วยเหตุนี้ ควอลคอมม์จึงมักเรียกสแนปดรากอนว่าเป็น "ชิปประมวลผลสำหรับมือถือ" สแนปดรากอนนิยมใช้ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์, วินโดวส์โฟน และเน็ตบุ๊ก[1] นอกเหนือจากโปรเซสเซอร์แล้ว กลุ่มผลิตภัณฑ์สแนปดรากอนยังรวมถึงโมเด็ม ชิป ไวไฟและผลิตภัณฑ์ชาร์จมือถือ

ชิปเซ็ตสแนปดรากอน QSD8250 เปิดตัวสู่ตลาดในเดือนธันวาคม 2007 เป็นครั้งแรกที่ใช้ชิปประมวลผลความเร็ว 1 GHz สำหรับโทรศัพท์มือถือ ควอลคอมม์ได้เปิดตัวสถาปัตยกรรมไมโคร "Krait" ครั้งแรกในปี 2011 ใน Snapdragon SoC รุ่นที่สอง สถาปัตยกรรมไมโครนี้เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ซีพียูของควอลคอมม์ปรับความเร็วการทำงานได้ตามต้องการ ในงาน Consumer Electronics Show ปี 2013 ควอลคอมม์ได้เปิดตัวซีรีส์ Snapdragon 800 ตัวแรก และเปลี่ยนชื่อรุ่นก่อนหน้าเป็นซีรีส์ 200, 400 และ 600 ตั้งแต่นั้นมาก็มีการเปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่หลายรุ่น เช่น Snapdragon 805, 810, 615 และ 410 ควอลคอมม์เปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์โมเด็มใหม่ภายใต้ชื่อสแนปดรากอนในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ในปี 2018 เอซุส, เอชพี และ เลโนโว ได้เริ่มจำหน่ายแล็ปท็อปที่ใช้ชิปประมวลผลสแนปดรากอนจากควอลคอมม์ ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ภายใต้ชื่อ "Always Connected PCs" ถือเป็นการเข้าสู่ตลาดพีซีของควอลคอมม์และสถาปัตยกรรมอาร์ม[2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Snapdragon Phone Finder". Qualcomm. 2015-12-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2018.
  2. "ARM is going after Intel with new chip roadmap through 2020". Windows Central. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2018-10-06.
  3. "Always Connected PCs, Extended Battery Life 4G LTE Laptops | Windows". Microsoft.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-10-06.