คริส จอห์น
คริส จอห์น | |
---|---|
เกิด | โยฮันเนส คริสเตียน จอห์น 14 กันยายน พ.ศ. 2522 |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
วูซู | ||
ซีเกมส์ | ||
ซีเกมส์ 1997 | ไม่ทราบรุ่น | |
ซีเกมส์ 2001 | ไม่ทราบรุ่น |
คริส จอห์น (อังกฤษ: Chris John) มีชื่อเต็มว่า โยฮันเนส คริสเตียน จอห์น (Yohannes Christian John) เป็นอดีตนักมวยสากลชาวอินโดนีเซีย เกิดวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2522 ที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นนักมวยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักมวยชาวเอเชียที่ดีที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 รองจากแมนนี่ ปาเกียว และโนนิโต โดแนร์ ในช่วงที่ยังชกมวยอยู่
ประวัติ
[แก้]คริส จอห์น เริ่มชกมวยตั้งแต่ยังอายุน้อย โดยมีพ่อคือ โยฮัน ยะห์ยาดี ซึ่งเคยเป็นนักมวยมาก่อนเป็นเทรนเนอร์ ก่อนจะมาชกมวยสากล จอห์นเคยเป็นนักกีฬาวูซูมาก่อน และจากการแข่งขันวูซู จอห์นเคยเป็นแชมป์วูซูของอินโดนีเซีย และเคยได้ได้เหรียญทองกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2540 ที่ อินโดนีเซียและเหรียญทองแดงในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 พ.ศ. 2544 ที่ มาเลเซีย
จอห์นเป็นแชมป์โลกคนที่ 3 ของอินโดนีเซีย ต่อจากเอ็ลลียัซ ปีกัลและนีโก โทมัส จอห์นเริ่มชกมวยสากลอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2540 และถูกตั้งฉายาว่า “ไอ้โย่ง” (Thin Man) ก่อนจะได้รับฉายาใหม่ภายหลังว่า “ไอ้มังกร” (The Dragon)
ใน พ.ศ. 2548 จอห์นเปลี่ยนเทรนเนอร์มาเป็น ซูตัน รัมบิง และเข้าร่วมกับค่ายของแฮรี่ใน เพิร์ธ ออสเตรเลีย ผู้จัดการของจอห์นในตอนนี้คือ เครก คริสเตียน
ใน พ.ศ. 2551 จอห์นได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว ESPN ว่าตนเองจะชกอีก 5-6 ครั้งก็จะแขวนนวมในฐานะนักมวยรุ่นเฟเธอร์เวทที่ดีที่สุดในโลก เมื่อ 24 ตุลาคม จอห์นป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10 ไว้ได้โดยชนะ ฮิโรยูกิ เอโนกิ ที่โตเกียว ญี่ปุ่น
เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 คริส จอห์น ชกป้องกันตำแหน่งในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกกับร็อคกี ฮัวเรซ ที่เท็กซัส ร่วมรายการเดียวกับฆวน มานูเอล มาร์เกซชกกับฮวน ดิแอซ จอห์นควบคุมการชกได้ดีในช่วงยกกลาง ๆ แต่ ฮัวเรซตีตื้นขึ้นมาในยกท้าย ๆ ทำให้เสมอกัน
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 คริส จอห์น ชกป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 17 กับ ชลธาร อ.พิริยะภิญโญ นักมวยชาวไทยที่มีสถิติไม่เคยแพ้หรือเสมอใครเช่นเดียวกัน ที่บ่อนกาสิโน ในสิงคโปร์ ผลปรากฏว่าจอห์นซึ่งประสบการณ์สูงกว่า เป็นฝ่ายเอาชนะคะแนนชลธารไปได้อย่างขาดลอย[1]
ต่อมาในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556 คริส จอห์น ป้องกันตำแหน่งแชมป์เป็นครั้งที่ 19 กับ ซิมพีเว เยทเวก้า นักมวยชาวแอฟริกาใต้ ที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ปรากฏว่าจอห์นเป็นฝ่ายแพ้ RTD (ขอยอมแพ้หลังหมดยก[2]) ไปในยกที่ 6 ทำให้สูญเสียตำแหน่งแชมป์โลก และทำให้สถิติการป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกสูงสุดของนักมวยชาวเอเชียยังเป็นของ เขาทราย แกแล็คซี่ นักมวยชาวไทยในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท ที่ 19 ครั้งอยู่[3] และหลังจากการชกครั้งนี้ คริส จอห์น ก็ได้แขวนนวมไป[4]
เกียรติประวัติ
[แก้]- แชมป์วูซูของอินโดนีเซีย
- เหรียญทองกีฬาวูซูในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2540 ที่ อินโดนีเซีย
- เหรียญทองแดงีฬาวูซูในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 พ.ศ. 2544 ที่ มาเลเซีย
- แชมป์มวยสากลอินโดนีเซียรุ่นเฟเธอร์เวท (2542 – 2544)
- แชมป์ PABA รุ่นเฟเธอร์เวท
- ชิง 9 พฤศจิกายน 2544 ชนะน็อค โซเล่ห์ ซุนดาวา ยก 7 ที่ สุราบายา อินโดนีเซีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 11 มกราคม 2545 ชนะน็อค ก้องธวัช ส.กิตติ ยก 8 ที่ บันดุง อินโดนีเซีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 29 มีนาคม 2545 ชนะน็อค เพชรเจริญ ว.สุรพล ยก 5 ที่ บันดุง
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 28 มิถุนายน 2545 ชนะน็อค ลี ดองคุก ยก 1 ที่ จาการ์ตา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 10 มกราคม 2546 ชนะน็อค ดันเต เปาลิโน ยก 8 ที่ จาการ์ตา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 3 กรกฎาคม 2546 ชนะน็ออค ปาร์ค แดเคียว ยก 1 ที่ จาการ์ตา
- แชมป์เฉพาะกาล WBA รุ่นเฟเธอร์เวท
- ชิง 26 กันยายน 2546 ชนะคะแนน โอสการ์ เลออน ที่ บาหลี อินโดนีเซีย (ต่อมา WBA แต่งตั้งให้เป็นแชมป์โลก)
- แชมป์โลก WBA รุ่นเฟเธอร์เวท
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 4 มิถุนายน 2547 ชนะคะแนน โอซามุ ซาโต ที่ โตเกียว
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 3 ธันวาคม 2547 เสมอกับ โฆเซ โรฮัส ที่ กาลีมันตันตะวันออก อินโดนีเซีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 22 เมษายน 2548 ชนะคะแนน เดอริก ไกเนอร์ ที่ จาการ์ตา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 7 สิงหาคม 2548 ชนะทีเคโอ ทอมมี บราวน์ ยก 10 ที่ ออสเตรเลีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 4 มีนาคม 2549 ชนะคะแนน ฆวน มานูเอล มาร์เกซ ที่ อินโดนีเซีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 9 กันยายน 2549 ชนะคะแนน เรนัน อาโกสตา ที่ จาการ์ตา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 3 มีนาคม 2550 ชนะคะแนน โฆเซ โรฮัส ที่ จาการ์ตา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 19 สิงหาคม 2550 ชนะอาร์ทีดี ไซกิ ทาเกโมโตะ ยก 9 ที่ โคเบะ
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 26 มกราคม 2551 ชนะคะแนนโดยเทคนิค รอยเน็ต กาบาเยโร ที่ อินโดนีเซีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 24 ตุลาคม 2551 ชนะคะแนน ฮิโรยูกิ เอโนกิ ที่ ญี่ปุ่น (ต่อมา WBA เลื่อนตำแหน่งให้เป็นซูเปอร์แชมป์)
- แชมป์โลก WBA (ซูเปอร์แชมป์) รุ่นเฟเธอร์เวท
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 28 กุมภาพันธ์ 2552 เสมอกับ ร็อคกี ฮัวเรซ ที่ เท็กซัส
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 19 กันยายน 2552 ชนะคะแนน ร็อคกี ฮัวเรซ ที่ สหรัฐ
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 5 ธันวาคม 2553 ชนะคะแนน ดาบิด เซาเซโด ที่ อินโดนีเซีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 17 เมษายน 2554 ชนะคะแนน ดาอูด ยอร์ดัน ที่ อินโดนีเซีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 30 พฤศจิกายน 2554 ชนะคะแนน สตานิสลาฟ เมอร์ดอฟ ที่ออสเตรเลีย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 5 พฤษภาคม 2555 ชนะคะแนน โชจิ คิมูระ ที่สิงคโปร์
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 9 พฤศจิกายน 2555 ชนะคะแนน ชลธาร อ.พิริยะภิญโญ ที่สิงคโปร์
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 14 เมษายน 2556 เสมอ ซาโตชิ โฮโซโนะ ที่ อินโดนีเซีย
- เสียแชมป์, 6 ธันวาคม 2556 แพ้อาร์ทีดี ซิมพีเว เยทเวกา ยก 6 ที่ออสเตรเลีย
- เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
- ชิงแชมป์โลก IBO รุ่นเฟเธอร์เวท 6 ธันวาคม 2556 แพ้อาร์ทีดี ซิมพีเว เยทเวกา ยก 6 ที่ ออสเตรเลีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""ชลธาร" แพ้คะแนนกำปั้นอิเหนาวืดแชมป์ WBA". ผู้จัดการออนไลน์. 9 November 2012. สืบค้นเมื่อ 9 November 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ที่สุดแห่งปี2013 'สังเวียนมวยโลก'". ไทยโพสต์. 31 December 2013. สืบค้นเมื่อ 6 February 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ช็อกโลก คริส จอห์น แพ้น็อกสถิติพี่ระยังอยู่". smmonline. 6 December 2013. สืบค้นเมื่อ 6 February 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Chris John retires with 48-1-3 mark". espn. 20 December 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2014.
- สถิติการชก boxrec.com เก็บถาวร 2012-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Juara Tinju Kelas Bulu WBA เก็บถาวร 2008-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อินโดนีเซีย)