ข้ามไปเนื้อหา

คริสท็อฟ วิลลีบัลท์ กลุค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสท็อฟ วิลลีบัลท์ กลุค

คริสท็อฟ วิลลีบัลท์ ริทเทอร์ ฟ็อน กลุค (เยอรมัน: Christoph Willibald Ritter von Gluck; 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1714 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1787) เป็นคีตกวีที่สำคัญของโลกชาวเยอรมันในยุคของดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกในการทำอุปรากรภาษาเยอรมันเนื่องจากสมัยนั้นมีแต่อุปรากรภาษาอิตาลี

คริสโตฟ วิลลิบาลด์ กลุ๊ค

Cristoph Willibald Gluck 1714-1787 

กลุ๊ค เป็นคีตกวีและนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก ชีวิตของเขามีลีลาผิดแยกไปจากคีตกวีที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่าขณะเขามีอายุเกือบ 40 ปีนั้น ยังไม่มีท่าทางเลยว่าเขาจะกลายมาเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกดนตรี

ประวัติและผลงานของคริสโตฟ วิลลิบาลด์ กลุ๊ค

คริสโตฟ วิลลิบาลด์ กลุ๊ค (Cristoph Willibald Gluck) เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1714 ที่เมืองอีราสบาค (Erasbach) อยู่ใกล้ ๆ กับเมือง ไวเดนแวง (Weidenwang) และเมือง Nurnberg ทางตอนเหนือของ Palatinnate กลุ๊คเกิดมาท่ามกลางความร่มรื่นของพฤกษานานาพันธุ์ เพราะพ่อของเขาเป็นผู้ดูแลรักษาป่าและสัตว์ไว้ให้บรรดาเจ้านายชั้นสูงออกมาล่าเล่นเป็นกีฬา เขตป่าในดินแดนบาวาเรียน เป็นของเจ้าชายลอบโควิทซ์ (Prince Eugene Lobkowitz) เจ้าชายผู้นี้เป็นคนที่รักทางด้านดนตรีอย่างยิ่งผู้หนึ่ง ต่อมาทายาทของเจ้าชายผู้นี้เป็นผู้ให้ความอุปการะแก่เบโธเฟน

ชีวิตในตอนเด็ก ๆ ของกลุ๊คนั้น เขาได้อยู่ใกล้ชิดเห็นชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเจ้านายชั้น สูง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ใช่สมาชิกในตระกูลก็ตาม แต่เขาก็ได้ติดตามพ่อของเขาไปรับใช้อยู่ตามวงสมาคมของพวกเจ้านายชั้นสูงเหล่านั้นบ่อย ๆ การศึกษาในตอนแรกจึงอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง อยู่ที่นั้นบ้าง อยู่ที่นี้บ้าง เมื่ออายุ 12 ขวบจึงได้เข้าโรงเรียนอย่างจริงจังที่โรงเรียนเยซูอิต (Jesuit School) ในเมือง Komotau ประเทศโบฮีเมีย ระหว่างปี ค.ศ. 1726-1732 ได้ศึกษาในวิชาปรัชญา,ประวัติศาสตร์มวิทยาศาตร์และดนตรี ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้รับการศึกษาทางดนตรี ต่อมาก็เดินทางไปยังกรุงปร๊าคเพื่อเรียนร้องเพลงในโบสถ์ และเรียนออร์แกน,ไวโอลิน,เชลโล,ตลอดจนคลาเวียร์ กลุ๊คเรียนอย่างเอาจริงเอาจังจนได้รับความชมเชยจากบรรดาครูบาอาจารย์อยู่เนื่อง ๆ เขาได้ฟังเพลงจุลอุปกรของเยอรมันอยู่เสมอจึงทำให้กลุ๊คมีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักแต่งเพลงเหลือเกิน

ต่อมา ค.ศ. 1736 ตอนนั้นกลุ๊คมีอายุ 22 ปี ได้เดินทางไปพักอยู่กับครอบครัวของเจ้าชายลอบโควิทซ์ที่กรุงเวียนนา นครหลวงของออสเตรียเป็นเวลาหลายเดือน ขณะอยู่ที่นี่กลุ๊คได้รับเชิญให้เข้าร่วมวงดนตรีสมัครเล่นของเจ้าชายเมลซี (Prince Melzi) ซึ่งเป็นเจ้าชายที่มั่งคั่งผู้หนึ่ง จากนั้นเข้าได้เดินทางติดตามเจ้าชายเมลซีไปยังเมืองมิลาน (Milan) ในอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 1737 ได้ศึกษาการประสานเสียงและการแต่งเพลงอุปรากรกับครูชื่อ G.B. Sammartini เป็นเวลา 4 ปี โดยได้รับความอุปการะจากเจ้าชายเมลซี พอถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1741 กลุ๊คได้แต่งอุปรากรขึ้นเป็นเรื่องแรกชื่อ Artasere และได้นำออกแสดงในปีนั้น กลุ๊คพำนักอยู่ที่เมืองมิลานเป็นเวลา 4 ปี ใช้เวลาระหว่างนั้นแต่งอุปรากรได้ทั้งหมด 8 เรื่อง เป็นอุปรากรแบบอิตาเลียนซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอยู่ในขณะนั้น ชื่อเสียงของกลุ๊คเริ่มโด่งดังขึ้นบ้าง เมื่อได้นำอุปรากรเหล่านั้นออกแสดง

ค.ศ. 1745 ได้เดินทางติดตามเจ้าชายลอบโควิทซ์ไปกรุงลอนดอน และที่นั้นเขาได้รับเชิญให้เป็นนักแต่งเพลงอุปรากรประจำโรงละคร Haymarket Theatre ต่อมาวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1746 กลุ๊คได้นำอุปรากรเรื่อง เรื่อง La Caduta dei Giganti ออกแสดงและวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1746 นำอุปรากรเรื่อง Artamene ออกแสดง แต่อุปรากรทั้ง 2 เรื่องนี้นับว่าไม่ได้ผลดีเท่าไร ถ้าหากเทียบกับอุปรากรเรื่อง Pasticcio (Piramo e Tisbe) ที่ได้นำออกแสดงในปีต่อมา ขณะที่อยู่กรุงลอนดอนกลุ๊คได้พบกับฮันเดล (Handell) ซึ่งตอนนั้นอุปรากรของฮันเดลกำลังเฟื่องฟูอยู่ในอิตาลี จนอุปรากรของกลุ๊คไม่สามารถจะทาบติด กลุ๊คได้รับการตอนรับจากฮันเดลด้วยอัธยาศัยอันดียิ่ง แต่พอกลุ๊คคล้อยหลังให้ เขาก็พูดว่า “กลุ๊คมีความรู้เรื่อง Counterpoint ไม่มากไปกว่าพ่อครัวของฉันเท่าใดนัก” ข้อนี้เป็นความจริงเพราะพ่อครัวของฮันเดลนั้นเป็นนักร้องชั้นเยี่ยม มีความรู้เรื่อง Counterpoint เป็นอย่างดี

กลุ๊คได้ฟังเพลงอุปรากร และศึกษางานของฮันเดลเป็นครั้งแรก นับว่าการไปเยี่ยมลอนดอนครั้งนี้ได้กำไรอย่างมากทีเดียว ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1746 กลุ๊คได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ทสองเพลงที่กรุงลอนดอน ดูเหมือนว่าได้รับความสำเร็จดีกว่างานอุปรากรของเขาเสียอีก พอถึงฤดูใบไม้ร่วงกลุ๊คก็ได้เข้าร่วมกับคณะละครอุปรากรของพี่น้องตระกูล Mingotti เดินทางจนไปถึงเมืองเดรสเดน และที่เมืองนี้คณะละครของ Mingotti ได้นำอุปรากรเรื่อง Nozzeed’ Ereol e ed’ Ebe ของเขาออกแสดงในงานมหกรรมที่ Schloss pillnitz ในเดือน มิถุนายน ค.ศ. 1747 จากนั้นกลุ๊คก็ได้นำอุปรากรเรื่อง Semiramide Riconosciuta ออกแสดงที่กรุงเวียนนาเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1748 ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากนั้นกลุ๊คก้เดินทางกลับโดยร่วมไปกับคณะละครอุปรากรของ Mingotti ไปยังเมือง Hamburg ในฤดูใบไม้ร่วง ต่อจากนั้นกลุ๊คและคณะก็เดินทางไปโคเปนเฮเกน (Copenhagen) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1748 และแสดงคอนเสิร์ตอยู่ที่นั้นถึง 5 เดือนเศษ และได้นำอุปรากรเรื่อง Contesa dei Numi ออกแสดงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1749 ที่(Charlottenberg) โดยกลุ๊คเป็นผู้กำกับวงเอง อุปรากรเรื่องนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันประสตูของเจ้าชายคริสเตียน (Prince Cristian)

หลังจากนั้นกลุ๊คก็ต้องรีบเดินทางออกจากโคเปนเฮเกนกลับไปให้ถึงกรุงเวียนนาก่อนจะสิ้นปี เพื่อจะทำพิธีหมั่นกับมาเรียเน่ เปอร์กิน (Marainne Pergin) ลูกสาวนักธุรกิจชาวเวียนนาผู้มั่งคั่ง ซึ้งทั้งสองรักกันมากแต่พ่อของมาเรียนเน่ เปอร์กิน พยายามกีดกันกลุ๊คไม่ให้ได้แต่งงานกับลูกสาว เพราะหวังจะให้ลูกสาวได้แต่งงานกับลูกเศรษฐี ดังนั้นกลุ๊คจึงอยู่ในความลำบากใจ

ในระหว่างปี ค.ศ. 1750 นั้น ไม่แน่ว่าเขาไปที่ไหนบ้าง แต่ตอนหลังเขาได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Ezio ที่กรุงปร๊าค เนื่องในงานเทศกาลประจำปี พอถึงฤดูร้อนในปีเดียวกันพ่อของมาเรียนเน เปอร์กิน ได้ถึงแก่กรรมลง พอคกคทราบข่าวก็ดีใจรีบกลับไปกรุงเวียนนา และได้แต่งงานกับมาเรียนเน่ คนรักอย่างสมปรารถนา เมื่อ วันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1750 แล้วก็ต้องตกลงใจอยู่ที่คฤหาสน์เวียนนิลเฮ้าส์ อัยเป็นบ้านของ Frau Pergin พ่อของมาเรียนเน่นั้นเอง ขณะนั้นกลุ๊คมีอายุ 36 ปีแล้ว อาชีพที่เป็นหลักฐานก็ไม่มี เพราะการแต่งงานของเขานั้นไม่ได้คิดว่าจะลงเอยกันแบบนี้ จึงเตรียมโครงการไว้ไม่ทัน ในระหว่างปี ค.ศ. 1751 นั้นไม่ปรากฏว่ากลุ๊คนำอุปรากรเรื่องใด ๆ ออกแสดงเลย จนกระทั่งจนถึงปี ค.ศ. 1752 เขาได้นำอุปรากรเรื่อง Issipile ออกแสดงที่กรุงปร๊าคในเดือนมกราคม ค.ศ. 1752 ไม่ค่อยจะได้รับการต้อนรับจากประชาชนเท่าใดนัก แต่เขาก็ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีที่เมืองเนเปิลส์ เมื่อเขานำอุปรากรเรื่องใหม่ชื่อ  La Clemenza di Tito ออกแสดงเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1752 ในเดือนเดียวกันนี้กลุ๊คก็รีบเดินทางกลับไปยังกรุงเวียนนา เพื่อไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการวงดนตรีให้แก่ Prince of Sachsen Hildburghausen ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ที่นี่กลุ๊คมีเวลาเขียนเพลงฟิมโฟนี่ได้ถึงเก้าเพลง และได้แต่งอุปรากรเรื่อง Le Cinesi จากเรื่องของ Metastasio ได้นำออกแสดงในฤดูใบไม้ร่วงปี 1754 ที่ Schlosshof หลังจากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งจากพระนางมาเรียเทเรซา (Empress Maria Teresa) ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงละครอุปรากรประจำราชสำนัก

จากตำแหน่งอันนี้ทำให้เขามีรายได้สูง แต่ทว่าทำให้เขายุ่งและวุ่นอยู่กับการจัดแสดงอุปรากรตลอดเวลานอกจากนั้นก็ได้รับเรีบยเรียงเพลงเกี่ยวกับทางศาสนาของอิตาลี ตลอดจนเขียนอุปรากรประเภทชวนหัวแบบฝรั่งเศส (French Operas Comiques) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น

ใน ค.ศ. 1755 กลุ๊คได้แต่งอุปรากรเรื่อง La Danza และ L’Innocenza Giustficate ได้นำออกแสดงที่นครเวียนนา ค.ศ. 1756 กลุ๊คได้แต่งอุปรากรเรื่อง II Re Pastore นำออกแสดงเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1756 จากนั้นก็เดินทางไปยังกรุงโรม เพื่อเปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Antigono ที่โรงละคร Argentina Theatre ขณะอยู่ที่กรุงโรม สันตะปาปา เบเนดิคท์ที่ 15 (Benedict XV) ซึ่งพอใจในผลงานของเขา ได้มอบยศชั้น ‘Cavalier of the Order of the Golden Spur’ ซึ่งเป็นยศเทียบเท่าชั้นอัศวิน นับว่าเป็นเกียรติสูงยิ่งที่นักดนตรีพึงจะได้ ตั้งต่นั้นมาก็มีผู้คนเรียกเขาว่า ‘Chevalier (or Ritter) von Gluck’ หลังจากนั้นกลุ๊คกลับกรุงเวียนนาแล้วนำอุปรากรเรื่อง II Re Pastore ออกแสดงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1756

ค.ศ. 1758 กลุ๊คได้แต่งอุปรากรเรื่อง เรื่อง L’III de Merlin และ La Fausse Esclave ให้แก่ราชสำนักเมืองเวนิส ค.ศ. 1759 ได้เขียนอุปรากรเรื่อง L ‘Arbre Enchante’ ซึ่งเป็นอุปรากรชวนหัวขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง และในปีเดียวกันนี้กลุ๊คก็ได้เปิดการแสดงอุปรากรชวนหัวเรื่อง Cythere Assiegee ที่ Schwetzingen ต่อมาในปี ค.ศ. 1760 กลุ๊คได้เปิดการแสดงเรื่อง Tetide ที่กรุงเวียนนาและได้แต่งอุปรากรเรื่อง L ‘Ivrogne Corrige’

กลุ๊คได้เริ่มศึกษาเทคนิคใหม่ ๆ ในการแต่งอุปรากรชวนหัวแบบฝรั่งเศส (French Operas Comiques) กลุ๊คได้ศึกษารวดเร็วและช่ำชองขึ้นมาก ทำให้ความรู้ทางด้านดนตรีของเขาดีขึ้นอีกมาก เพราะอุปรากรที่เขาศึกษามาใหม่นี้เป็นแบบกว้าง ๆ ไม่จำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ เหมือนแบบ Opera Seria แบบเก่าแก่ที่เคยเรียนมาตอนแรก ๆ 

ในระหว่างปี ค.ศ. 1755-1761 นั้น กลุ๊คได้คลุกคลีอยู่กับพวกนักดนตรีที่มีฝีมือดี ศิลปินชั้นเยี่ยม ในกลุ่มนี้ก็มีท่านเคานท์ดูราซโซ (Count Durezzo) ผู้อำนวยการโรงละครแห่งราชสำนัก นอกจากนั้นก็มี Quaglio ช่างเขียนฉาก Angiolini นักระบำผู้มีชื่อเสียง และ Reniero Calzabigi ผู้มรฝีมือในการแต่งกลอนเป็นเยี่ยม

ค.ศ. 1761 กลุ๊คได้นำเพลงบัลเล่ท์เรื่อง Don Juan ออกแสดงที่กรุงเวียนนา และได้แต่งอุปรากรประเภทชวนหัวเรื่องหนึ่งชื่อ Le Cadi Dupe

ปีต่อมาคือ ค.ศ. 1762 กลุ๊คได้แต่งเพลงประกอบอุปรากรเรื่อง Orfeo ed Euridice ซึ่งเป็นอุปรากร 3 องค์จบ เขียนบทอุปรากรโดย Raniero da calzabigi นำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1762 อุปรากรเรื่องนี้ กลุ๊คได้ผสมผสานดนตรีลงไปตามความมุ่งหมายของเรื่องเพื่อจะประกอบบทกลอนของ Calzabigi ให้เข้มข้นขึ้น นับว่าเป็นเรื่องแรกที่กลุ๊ค และ Calzabigiได้ร่วมมือกันสร้างขึ้นอย่างประณีต งานชิ้นนี้จึงถือว่าเป็น Masterwork ของกลุ๊คทีเดียว แต่เมื่อนำออกแสดงในครั้งแรกนั้นปรากฏว่าไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเท่าที่ควร

กลุ๊คเป็นนักแต่งเพลงที่เฉลียวฉลาดมาก มีความคิดริเริ่มแปลก ๆ มีวิธีการใหม่ ๆ เสมอ และนับว่าเป็นนักแต่งเพลงอุปรากรในยุคแรกเริ่มทีเดียว เขาได้เป็นผู้ว่างกฎเกณฑ์ทางละครอุปรากรไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่อุปรากรสมัยใหม่เรื่อง Orfeo ed Euridice ที่แต่งในปี ค.ศ. 1762 ก็นับเป็นอุปรากรที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งจากนั้นเขาก็หันมาสนใจศิลปะแบบคลาสสิคของยุคกรีก แล้วนำมันมาดัดแปลงให้เข้ากับความคิดใหม่ ๆ ของเขาแต่เมื่อนำออกแสดงทำให้ประชาชนงงไปตาม ๆ กัน ทั้งนี้ก็เพราะความรู้สึกนึกคิดตามเขาไปไม่ทัน แต่ในที่สุดประชาชนก็เข้าใจและชอบงานของเขา กลุ๊คไม่ยอมหยุดอยู่แค่นั้น เขายังได้คิดอะไรพิลึก ๆ ออกมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จดังใจเขาปรารถนา

ค.ศ. 1763 กลุ๊คได้เดินทางไปเมืองเวนิส และ Bologna ได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง II Trionfo di Clelia ที่นั่น ค.ศ. 1764 ได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง La Rencontre Imprevue ที่กรุงเวียนนา ในปีเดียวกันนี้ก็ได้นำอุปรากรเรื่อง Orfeo ed Euridice ออกแสดงที่ Frankfurt-am-main อีกวาระหนึ่ง ปรากฏว่าได้ประสบความสำเร็จพอควร

ค.ศ. 1765 กลุ๊คแต่งอุปรากรเรื่อง II Parnaso Confuso ได้นำออกแสดงที่กรุงเวียนนาพร้อมกับเรื่อง Telemaco และเพลงสำหรับระบำบัลเลท์ชื่อ Semiramide ค.ศ. 1767 ได้แต่งอุปรากรเรื่อง II Prologo และได้นำออกที่เมืองฟลอเรนซ์ และได้แต่งเพลงอุปรากรขึ้นอีกเรื่องหนึ่งเป็นไปในทำนองเดี่ยวกับอุปรากรเรื่อง Orfeo ชื่อ Alceste ซึ่งมี Reniero da Calzabigi เป็นผู้เขียนอุปรากร ได้เปิดการแสดงในรอบปฐมทัศน์ (Premiere) ที่โรงละครเบอร์กเธียเตอร์ (Burgtheatre) กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1767 เมื่อ le Bailly du Roullet อุปทูตฝรั่งเศสประจำเวียนนาได้ชมเรื่องนี้ ก็เกิดความสนใจในตัวกลุ๊คและงานของด้านอุปรากรของเขามาก ดังนั้น จึงได้พยายามเกลี้ยกล่อมและเสนอให้กลุ๊คไปดำเนินกิจการอยู่ที่ ปารีส แต่กลุ๊คก็ยังลังเลใจอยู่ เพราะยังไม่แน่ใจว่าที่ปารีสเขาจะได้รับการต้อนรับจากคนดูแค่ไหน อาจเลวลงไปกว่าที่เวียนนาก็ได้

ที่เวียนนา กลุ๊คก็เป็นบุคคลที่สำคัญประจำราชสำนักของเอมเปอเรอ ฟรังซิสที่ 1 (Emperor Francisl) และพระนางมาเรีย เทเรซา (Maria Theresa) อยู่มากทีเดียว เพราะนอกจากการงานในหน้าที่แล้ว กลุ๊คยังต้องทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนดนตรีให้แกบรรดาเจ้าหญิงแห่งราชสำนักด้วย ทั้งนี้รวมทั้งพระนางมารีอังตัวเนตต์ (Marie Antoinette) ขณะที่ยังเป็นเจ้าหญิงอยู่ เขาได้รับความสะดวกสะบายจากตำแหน่งประจำราชสำนักนี้มาก ได้รับพระราชทานบ้านช่องและมีความเป็นอยู่อย่างดีที่ Walfischgaees ต่อมาในปี ค.ศ. 1768 เขาได้รับพระราชทานบ้านหลังใหม่ซึ่งใหญ่โตกว่าเดิมอยู่ที่ Rennweg ค.ศ. 1769 เขาได้นำอุปรากรเรื่อง Le Feste d’ Apollo ออกแสดงที่ Parma โน้ตเพลงอุปรากรเรื่อง Alceste ได้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีนี้ด้วย ค.ศ. 1770 กลุ๊คได้ความคิดจากอุปรากรเรื่อง Alceste โดยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ในเรื่องนี้ แล้วมาแต่งอุปรากรเรื่อง Paride ed Elena (Paris and Helen) ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ 3 ที่ได้เคยร่วมมือกับ Calzabigi ผู้เขียนอุปรากรเช่นเคย อุปรากรเรื่องนี้เป็นเรื่องโรแมนติกที่กลุ๊คแต่งเพลงประกอบได้อย่างงดงาม ได้นำออกแสดงที่กรุงเวียนนาในปีเดียวกันนั่นเอง แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จดังคาดหวังไว้เพราะมีคนเข้าชมน้อยมาก

หลังจากเปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Paride ed Elena แล้วกลุ๊ครู้สึกท้อแท้ใจมาก เพราะอุปรากรเรื่องนี้เขาได้เพียรพยายามแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของเขาจนสิ้นแล้ว และคิดว่าเรื่องนี้ดีที่สุดแล้ว แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะจิตใจผู้ชมชาวเวียนนาได้ และยังถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า เขาบังอาจแต่งเพลงนอกแบบนอกแผนแตกต่างไปจากคนอื่น ๆ

และในปี ค.ศ. 1770 นี้เอง เป็นปีที่เจ้าหญิงมารี อังตัวเนตต์ได้กระทำพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายโดแฟง (Dauphin) รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ฝรั่งเศส (ต่อมาเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส) ตอนนี้กลุ๊คจึงได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการเพลงแห่งราชสำนัก

เมื่อลาออกจากตำแหน่งราชสำนักในออสเตรียแล้ว กลุ๊คก็มีอิสระที่จะตกลงใจทำอะไรได้ตามลำพังตนเอง และตอนนี้ Ie Bailly du Roullet อุปทูตฝรั่งเศสได้มาทาบทามกลุ๊คอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดกลุ๊คก็ตกลงใจ แต่มีเงื่อนไขบางประการที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา คือจะต้องแต่งเพลงอุปรากรให้แก่โรงละครปารีสโอเปร่า (Paris Opera) โดยเฉพาะ ดังนั้น กลุ๊คจึงได้ทำสัญญาไว้กับ Ie Bailly du Roullet กลุ๊คมีความเชื่อมั่นอยู่ในใจว่า ถึงอย่างไรเขาก็คงจะทำงานอย่างดีเป็นแน่ เพราะพระนางมารี อังตัวเนตต์ ซึ่งเป็นพระชายาของเจ้าชายโดแฟง รัชทายาทแห่งฝรั่งเศสก็เคยเป็นลูกศิษย์ของเขาและได้โปรดงานของเขามาก เมื่อกลุ๊คตกลงใจว่าจะไปปารีส แล้วเขาได้รับมอบหมายให้แต่งเพลงอุปรากร เรื่อง Iphigenie en Aulide ของ Racine โดยมี Calzabigi เป็นผู้เขียนอุปรากรเช่นเคย ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 1772 Dr. Charles Burney (1776-1814) นักดุริยางคศาสตร์ชาวอังกฤษ (English musicologist) ได้เดินทางมาเยี่ยมกลุ๊ค

พอถึงปลายฤดูร้อนของปี 1773 กลุ๊คก็พาครอบครัวของเขา อันมีมาเรียนเน่ภรรยาพร้อมด้วยหลานสาว (Adopted nice) อายุ 10 ขวบ ที่เอามาเลี้ยงไว้ เดินทางจากเวียนนาไปยังกรุงปารีสเพื่อไปเป็นผู้อำนวยการละครอุปรากร

ในการไปสู่ปารีสของกลุ๊คครั้งนี้ ได้มีผู้พยายามกีดกันขัดขวางเขาอยู่มาก ทั้งนี้เพื่อมิให้เขาได้เปิดการแสดงอุปรากรที่กรุงปารีส แต่ด้วยความช่วยเหลือของพระนางมารี อังตัวเนตต์ ลูกศิษย์ของเขานั้นเองขณะนั้นยังเป็นเพียงเจ้าหญิง จึงทำให้การไปสู่ปารีสเป็นไปโดยสะดวก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1774 กลุ๊คก็ได้เปิกการแสดงอุปรากรเรื่อง Iphigenie en Aulide ซึ่งเป็นอุปรากร 3 องค์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ The Acedemie de Musique,paris เมื่อวันที่ 19 เมษายน การแสดงครั้งนี้ทำความพอใจให้แก่ผู้ชมมาก และได้รับผลสำเร็จพอสมควร และต่อมากลุ๊คก็ได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Orphee ขึ้นในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 1774 คือในปีเดียวกันนั้นเอง และปรากฏว่าเป็นที่นิยมของผู้ชมเช่นเดียวกัน

ความจริงชาวปารีสรู้จักกลุ๊คและได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของเขาก่อนที่กลุ๊คจะมาสู่ปารีสเสียอีก เพราะว่ากลุ๊คได้เขียนอธิบายไว้ที่หน้าบทนำในโน้ต (Score) เพลงประกอบอุปรากรเรื่อง Alceste และ Paride ed Elena ซึ่งได้ตีพิมพ์จำหน่ายไปแล้ว กลุ๊คได้เขียนอิบายไว้มีบางตอนว่า ‘My purpose was to restrict music to its true office that of administering to the expression of the poetry and the situation of the plot, without intetrupting the action or weakening it by superfluous ornament’

กลุ๊คเป็นคนแรกที่ได้บุกเบิกทางให้แก่อุปรากรจนเกิดความสำเร็จโดยการนำอุปรากรแบบฝรั่งเศสมาผสมกับแบบของเขาได้กลมกลืนกันเป็นอย่างดี เมื่อเสร็จสิ้นการแสดงอุปรากรเรื่องนี้แล้ว เขาได้เงิน 20,000 livres หลังจากนั้นพระนางมาเรียเทเรซา ก็ได้แต่งตั้งให้เขาเป็นนักแต่งเพลงประจำราชสำนัก (Imperial Conrt Composer) ของพระนาง ดังนั้น กลุ๊คจึงได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1774 และได้รับเงินในตำแหน่งนี้เป็นจำนวน 2,000 กุลเดน หลังจากการแสดงอุปรากรเรื่อง Iphigenie ผ่านไปได้สี่เดือน กลุ๊คก็ได้นำอุปรากรเบา ๆ แบบฝรั่งออกแสดง อุปรากรเรื่องนี้ได้ดัดแปลงจากเรื่อง Orfeo ของเขานั้นเอง ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากคนดูอย่างล้นหลาม

พอถึงเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1775 กลุ๊คได้กลับจากเวียนนามาปารีสอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับต้นฉบับของอุปรากรเรื่องเรื่องใหม่อีกสองเรื่องคือ Roland และ Armide ของ Quinault พอถึงปารีสกลุ๊คได้นำอุปรากรเรื่อง L’Arber Enchante ออกแสดงที่พระราชวังแวร์ซ้ายส์ (Versailles) เมื่อเสร็จการแสดงแล้วเดินทางกลับเวียนนา

จากความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของกลุ๊คนี้เอง ทำให้เขามีศัตรูขึ้นมาจากพวกที่ไม่นิยมเขา และหัวหน้าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเขาครั้งนี้ก็มี Marmonter นักเขียนอุปรากรแบบ Opera-Commique รวมถึง Caraccioli เอกอัคราชทูตแห่งเนเปิลส์ ได้จัดให้นิโคลา พิชชินนี (Niccola Piccinni) นักแต่งอุปรากรผู้มีชื่อเสียงชาวเนเปิลส์ เป็นผู้ที่จะมาแต่งเพลงอุปรากรประชันแข่งกับกลุ๊ค ดดยให้แต่งเพลงอุปรากรเรื่อง Roland ของ Quinault ซึ่งเป็นอุปรากรที่กลุ๊คได้เขียนเพลงประกอบและได้เคยนำออกแสดงแล้ว ออกแสดงที่ปารีสอีกขณะนั้นกลุ๊คไม่ได้อยู่ที่ปารีส

ความจริงพิชชินนีกับกลุ๊คไม่เคยผิดพ้องหมองใจอะไรต่อกันมาก่อนเลย การที่เกิดไม่กินเส้นกับกลุ๊คครั้งนี้ก็เพราะถูกพวกนักหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช่นักดนตรี เป็นผู้ยุแหย่ให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น ตามปกติแล้วพิชชินนีเป็นคนที่มีนิสัยเรียนร้อย ขี้อาย และชอบเก็บตัว เขาเป็นนักดนตรีที่มีพรสวรรค์ในการแต่งเพลง และเล่นดนตรีได้อย่างไรเราะนุ่มนวลทีเดียว แต่เขาเป็นศิลปินผู้รู้สำนึกในคุณค่าของศิลปะ ผลงานของกลุ๊คและของเขาเองก็มีความแตกต่างกันไปคนละแบบ

แผนอุบายของ Marmonter ได้ล่วงรู้ไปถึงหูของกลุ๊ค ซึ่งขณะนั้นกำลังทำหน้าที่อยู่ที่กรุงเวียนนาทำให้กลุ๊คโกรธมาก เขาเขียนจดหมายไปต่อว่า Bailly du Roullet ทูตฝรั่งเศสที่เคยมาตกลงกับเขาซึ่งมีใจความว่า “ขณะนี้เขาได้ทราบข่าวว่า พิชชินนีได้แต่งเพลงอุปรากรเรื่อง Roland ซึ่งไปซ้ำกับงานของเขาด้วยความค้าเคืองเขาได้โยนต้นฉบับร่างของเขาเข้ากองไฟทันที แต่ทว่าบางทีอุปรากรเรื่อง Aemide อาจยิ่งใหญ่กว่าเรื่อง Alceste และทางปารีสไม่ควรได้รับเกียรติที่จะฟังเรื่องนี้ จนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ทำกันไว้

ค.ศ. 1776 กลุ๊คได้กลับมายังปารีส และได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Alceste ที่นั่น เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1776 โดยกลุ๊คเป็นผู้กำกับวงดนตรีเอง แต่ไม่ทำใหกิดความตื่นเต้นแก่วงอุปรากรปารีสเท่าใดนัก หลังจากนั้นกลุ๊คก็ถูกเรียกกลับเวียนนาทันทีเพราะหลานสาวซึ่งขณะนั้นอายุ 17 ปี ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคฝีดาษทำให้เขาเศร้าใจมาก เพราะเป็นหลานสาวคนเดียวที่เขาได้เลี้ยงมาแต่เล็กจนโต

แผนอุบายชิงดีชิงเด่นของฝ่ายตรงข้าม ด้วยความยุยงของพวกนักหนังสือพิมพ์ที่ปารีส ที่จะให้มีการประชันแข่งกัน ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และได้มาถึงจุดสุดยอดซึ่งขณะนั้นกลุ๊คกำลังประสบเคราะห์กรรมเกี่ยวกับการสูญเสียหลานสาวอยู่ ก็จำต้องเดินทางจากเวียนนามาปารีสอีนในต้นฤดูหนาว ทางปารีสขณะนั้นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายนิยมกลุ๊คและฝ่ายนิยมพิชชินนี ฝ่ายนิยมกลุ๊คก็มีพระนางมารี อังตัวเนตต์,วอลแตร์และรุซโซรวมถึงนักเขียนที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ทางฝ่ายนิยมพิชชินนีก็มีชื่อในวงการประพันธ์ ตลอดเจ้านายในราชสำนักเช่นกัน

จากนั้นสงครามแห่งอุปรากรครั้งยิ่งใหญ่ก็ประทุขึ้น โดยได้จัดให้มีการแข่งขั้นแต่งเพลงประกอบอุปรากรในเรื่องเดียวกัน คือ Iphigenie en Tauride เพื่อพิสูจน์ว่าใครเขียนแน่กว่าใคร กลุ๊คแต่งเพลงประกอบอุปรากรเรื่องนี้จบใน 1 ปี (ค.ศ. 1777) และอีก 2 ปีต่อมา พิชชินนีจึงแต่งเสร็จ (ค.ศ. 1779)

ค.ศ. 1777 กลุ๊คได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Armide ที่ปารีส และ ค.ศ. 1778 กลับไปยังเวียนนาอีก (เดือนมีนาคม) แต่พอถึงเดือนพฤศจิกายนก็เดินทางกลับมาปารีส

ค.ศ. 1779 อุปรากรเรื่อง Iphigenie en Tauride ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นที่ยิ่งใหญ่ และเป็นงานเขียนที่แข่งขันกันระหว่างกลุ๊คกับพิชชินนีได้นำออกแสดงผลัดกันคนละหน เพื่อพิสูจน์ความดีเด่นกัน ในที่สุดกลุ๊คก็ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พิชชินนีก็ยอมรับว่างานของกลุ๊คชิ้นนี้ดีเยี่ยมจริง ๆ และในปีเดียวกันนี้ กลุ๊คก็ได้เปิกการแสดงอุปรากรเรื่อง Echoet Narcisse ขึ้นที่ปารีสเมื่อวันที่ 24 กันยายน โดยเขาเป็นผู้กำกับดนตรีเอง แสดงอยู่ไม่นานก็เดินทางกลับเวียนนาอีก

กลุ๊คใช้ชีวิตในบั้นปลายชีวิตของเขาแบบคนมั่งคั่งทั้งหลายคือแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าอย่างดี มีบ้านอยู่อย่างใหญ่โตหรูหราอยู่ที่กรุงเวียนนา ระยะนี้เลิกแต่งเพลงอุปรากรโดยเด็ดขาด แต่ยังคงสนใจเกี่ยวกับดนตรีอยู่ เคยช่วยเหลือและร่วมมือกับโมสาร์ทแต่งเพลง Eutfuhrung ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1782 และจักการเลี้ยงอาหารเย็นแก่โมสาร์ทพร้อมกับภรรยาของเขา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1782 ตั้งแต่นั้นมากลุ๊คก็เริ่มป่วย สุขภาพทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ แต่เขายังคงเป็นคนสนุกสนานอยู่เช่นเคย และจากความอ้วนมากของเขานี้ทำให้เขาเป็นโรงความดันโลหิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ หมอได้แนะนำให้เขางดอาหารบางจำพวก และให้เลิกดื่มอย่างเด็ดขาด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายต่อชีวิตเขามาก มาเรียนเน่ ภรรยาของเขาได้ควบคุมเรื่องอาหารการกินอย่างกวดขัน

ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1787 ได้มีการเลี้ยงอาหารแก่เพื่อนชาวปารีสที่มาเยี่ยมเขาและขณะนั้นมาเรียนเน่มีเหตุต้องลุกจากโต๊ะอาหารไปธุระประมาณ 2-3 นาที บนโต๊ะนั้นมีสุราอย่างแรงใช้จิบเวลาหลังอาหารว่างอยู่ 2 แก้ว เพื่อให้แก่แขก แต่แขกคนหนึ่งไม่ดื่มเหล้า กลุ๊คจึงหยิบมาดื่ม เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วกลุ๊คพยายามจะลุกจากเกาอี้ แต่ก็ไม่อาจทำได้ เพราะกลายเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก หลังจากนั้นเพียง 2-3 ชั่งโมงเขาก็สิ้นใจ ขณะที่มีอายุ 73 ปี

กลุ๊คนับว่าเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของอุปรากร ในฐานะผู้บุกเบิกทางให้แก่อุปรากรสมัยใหม่ เมื่อกลุ๊คตายไปแล้ว นิคโคลา พิชชินนี คู่แข่งคนสำคัญของเขาได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการรวบรวมสร้างอนุสาวรีย์ให้แก่ คริสโตฟ วิลลิบาลด์ กลุ๊ค

ผลงานดีเด่นของคริสโตฟ วิลลีบาล์ด กลุ๊ค

Artasrese Milan 1741

Demetrio Venice 1742

Tigrane Crema 1744

L’lle de Merlin Vienna 1758

Don Juan Vienna 1761

Sex Sonatas a tre published in London in 1746 

De Profundis

Klopstock’s Odes

Iphigenie en Tauride

บรรณานุกรม

คมสันต์ วงค์วรรณ์.  ดนตรีตะวันตก.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551

ทวี  มุขธระโกษา.  นักดนตรีเองของโลก.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2542

Jirawat Koatsombat.  (2555).   ชีวประวัติสังคีตกวี.   สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560.  จาก https://sites.google.com/site/mrjisclassroom/prawati-sangkhit-kwi-laea-phl-ngan/christoph-willibald-gluck

Komson Wongwan.  (2546).  ดนตรีสมัยคลาสสิค.    สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560.  จากhttp://musiclib.psu.ac.th/data/western-musuc/chapter4/chap4-6.htm

nattapat thamsuwan.  (2558).  ประวัติดนตรีสากล.  สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560.  จาก

http://historymusiccc.blogspot.com/2015/01/3-middle-age-5-6-pitch-and-time-melody.html