ข้ามไปเนื้อหา

ชาวเกาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คนเกาหลี)
ชาวเกาหลี
ประชากรทั้งหมด
ป. 81 ล้านคน[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
เกาหลีใต้       ป. 49,110,000 (2019)[a][2]
เกาหลีเหนือ       25,955,138[b][3]
พลัดถิ่น (ข้อมูลเมื่อ 2021)
ป. 7.3 ล้านคน[4]
 สหรัฐอเมริกา2,633,777[4]
 จีน2,109,727[c][5]
 ญี่ปุ่น818,865[d][4]
 แคนาดา237,364[4]
 อุซเบกิสถาน175,865[e][4]
 รัสเซีย168,526[f][4]
 ออสเตรเลีย158,103[4]
 เวียดนาม156,330[4]
 คาซัคสถาน109,495[g][4]
 เยอรมนี47,428[4]
 สหราชอาณาจักร36,690[4]
 บราซิล36,540[4]
 นิวซีแลนด์33,812[4]
 ฟิลิปปินส์33,032[4]
 ฝรั่งเศส25,417[4]
 อาร์เจนตินา22,847[4]
 สิงคโปร์20,983[4]
 ไทย18,130[4]
 คีร์กีซสถาน18,106[4]
 อินโดนีเซีย17,297[4]
 มาเลเซีย13,667[4]
 ยูเครน13,524[h][4]
 สวีเดน13,055[4]
 เม็กซิโก11,107[4]
 อินเดีย10,674[4]
 กัมพูชา10,608[4]
 เนเธอร์แลนด์9,473[4]
 เดนมาร์ก8,694[4]
 นอร์เวย์7,744[4]
 ไต้หวัน5,132[6][7]
 บรูไน3,771[4]
ภาษา
เกาหลี,[8]
ชนกลุ่มน้อย: เชจูและภาษามือเกาหลี
ศาสนา
ส่วนใหญ่ : ไม่นับถือศาสนา
เป็นนัยยะสำคัญ : เชมันเกาหลี, คริสต์ และพุทธ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวเชจู

ชาวเกาหลี[i] เป็นกลุ่มชาติพันธุ์และประชาชาติเอเชียตะวันออกที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี[9][10][11][12] ชาวเกาหลีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐอธิปไตยเกาหลีสองแห่ง คือ เกาหลีเหนือและใต้ ซึ่งเรียกรวมกันเป็นเกาหลี ณ ค.ศ. 2021 มีชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่นอกเกาหลีประมาณ 7.3 ล้านคน[4]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชาวเกาหลีใต้เรียกตนเองเป็น ฮันกุก-อิน[j] หรือ ฮันกุก-ซารัม[k] ทั้งสองคำมีความหมายว่า "ชาวสามฮัน" โดย "ฮัน" ในที่นี้คือชื่อของจักรวรรดิเกาหลี แทฮันเชกุก (Daehan Jeguk) และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ส่วนแทฮันมินกุก (Daehan Minguk) หรือฮันกุก เป็นชื่อที่อิงถึงสามราชอาณาจักรเกาหลี ไม่ใช่สมาพันธรัฐโบราณในคาบสมุทรเกาหลีตอนใต้[13][14] สมาชิกที่ชาวเกาหลีพลัดถิ่นมักใช้คไว่า ฮัน-อิน[l]

ชาวเกาหลีเหนือเรียตนเองเป็น โชซ็อน-อิน[m] หรือ โชซ็อน-ซารัม[n] ทั้งสองคำมีความหมายว่า "ชาวโชซ็อน" คำนี้มีที่มาจากโชซ็อน ราชอาณาจักรสุดท้ายของเกาหลีที่นำชื่อมาจากโกโชซ็อน ราชอาณาจักรแรกของเกาหลี เช่นเดียวกันกับชาวเกาหลีในประเทศจีนที่เรียกตนเองในภาษาจีนว่า เฉาเสี่ยนจู๋[o] หรือในภาษาเกาหลีว่า โชซ็อนจก, โชซ็อนซารัม[p] ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายที่มีความหมายตรงตัวว่า "กลุ่มชาติพันธุ์โชซ็อน"[15][16] ชาวเกาหลีในประเทศญี่ปุ่นเรียกตนเองในภาษาญี่ปุ่นเป็น ไซนิจิโชเซ็นจิง, โชเซ็นจิง[q] หรือในภาษาเกาหลีว่า แชอิลโชซ็อนอิน, โชซ็อนซารัม, โชซ็อนอิน[r] ผู้มีเชื้อสายเกาหลีที่อาศัยอยู่ในรัสเซียและเอเชียกลางเรียกตนเองว่า โครยอ-ซารัม,[s] ซึ่งพาดพิงถึงโครยอ ราชวงศ์เกาหลีที่อยู่ในช่วง ค.ศ. 918 ถึง 1392 ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า 'เกาหลี'

ในบทร้องประสานของเพลงชาติเกาหลีใต้ ชาวเกาหลีได้รับการเรียกขานเป็น แทฮัน-ซารัม ("ชาวฮันใหญ่")[t]

ในบริบทระหว่างภาษาเกาหลี เช่น เมื่อพูดถึงกลุ่มภาษาเกาหลีหรือกลุ่มชาติพันธุ์เกาหลีทั้งหมด ชาวเกาหลีใต้ใช้คำว่า "ฮันกยอเร"[u]

ต้นกำเนิด

[แก้]

ต้นกำเนิดของชาวเกาหลียังไม่ชัดเจนนัก จากหลักฐานทางภาษา โบราณคดี และพันธุกรรมพบว่าต้นกำเนิดของพวกเขาอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แต่รูปแบบการขยายตัวและการเข้ามายังคาบสมุทรเกาหลีที่แน่นอนยังคงไม่ชัดเจน[17]

จากมุมมองทางพันธุกรรมคาดการณ์ว่าชาวเกาหลีมีต้นกำเนิดมาจากชาวมองโกลในเอเชียกลาง[18] หลักฐานทางโบราณคดีเสนอแนะว่าชาวเกาหลีดั้งเดิมเป็นผู้อพยพจากแมนจูเรียในช่วงยุคสัมฤทธิ์[19] ต้นกำเนิดภาษาเกาหลีและประชากรเป็นประเด็นถกเถียงที่ยังคงดำเนินอยู่ ทฤษฎีบางอย่างชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกับภูมิภาคอัลไต โดยเสนอความเชื่อมโยงกับภาษาและประชากรในเอเชียเหนือ รวมถึงกลุ่มมองโกล เติร์ก และตุงกุสิก อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างเหล่านี้ยังคงไม่มีข้อสรุป และนักวิชาการหลายคนโต้แย้งว่าภาษาเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาเกาหลีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีต้นกำเนิดด้านภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์[20][21]

ผู้พูดภาษาตระกูลเกาหลีจากทางเหนืออพยพลงใต้ แล้วเข้าแทนที่และดูดกลืินผู้พูดภาษาตระกูลญี่ปุ่น[22][23] วิตแมน (2011) เสนอแนะว่าชาวเกาหลีดั้งเดิมอพยพเข้าพื้นที่ตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลีประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ. และอาศัยร่วมกับ (หรือดูดกลืน) ลูกหลานเกษตรกรมูมุนที่พูดภาษาตระกูลญี่ปุ่น[24] โววินเสนอแนะว่าภาษาเกาหลีดั้งเดิมเทียบเท่ากับวิธภาษากลุ่มเกาหลีที่พูดกันในพื้นที่แมนจูเรียใต้ถึงคาบสมุทรเกาหลีตอนเหนือในสมัยสามราชอาณาจักรเกาหลีและกระจายไปเกาหลีตอนใต้ผ่านอิทธิพลของผู้อพยพชาวโคกูรยอ[25] การเข้ามาของชาวเกาหลียุคแรกสามารถเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมกริชยุคสัมฤทธิ์ที่ขยายจากภูมิภาคทางตะวันตกของแม่น้ำเหลียว[26] หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการทำเครื่องปั้นดินเผาจากวัฒนธรรมยุคหินใหม่ตอนปลายถึงยุคสัมฤทธิ์ในลุ่มแม่น้ำเหลียวตะวันตกและคาบสมุทรเกาหลี[27] มิยาโมโตะ (2021) โต้แย้งคล้ายกันว่าผู้พูดภาษากลุ่มเกาหลีดั้งเดิมเข้ามาพร้อมกับ "วัฒนธรรมภาชนะขอบม้วน" (วัฒนธรรมช็อมโทแด [Jeomtodae]) จากคาบสมุทรเหลียวตง แล้วค่อย ๆ แทนที่ผู้พูดภาษากลุ่มญี่ปุ่นในวัฒนธรรมมูมุน-ยาโยอิ[28]

ภาษา

[แก้]

ภาษาของชาวเกาหลีคือภาษาเกาหลีที่ใช้อักษรฮันกึลซึ่งพระเจ้าเซจงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้นเป็นระบบการเขียนหลัก การใช้งานอักษรฮันจาในชีวิตประจำวันถูกยกเลิกไปแล้วในคาบสมุทรเกาหลี ยกเว้นหนังสือพิมพ์และบริษัทสื่อบางแห่งของเกาหลีใต้ที่ใช้ในกรณีอ้างถึงนักการเมืองคนสำคัญ (เช่น ประธานาธิบดีคนปัจจุบันและอดีต ผู้นำพรรคการเมืองสำคัญ) หรือประเทศไม่กี่แห่งเป็นตัวย่อ (เช่น จีน ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร) นอกนั้น อักษรฮันจามีการใช้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการ ประวัติศาสตร์ และศาสนาเท่านั้น อักษรโรมันเป็นระบบการเขียนชั้นรองในเกาหลีใต้โดยพฤตินัย โดยเฉพาะในคำยืม และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายผ่านการสื่อสารในชีวิตประจำวันและทางการ มีผู้พูดภาษาเกาหลีทั่วโลกมากกว่า 78 ล้านคน[29]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ใน ค.ศ. 2019 ประชากรเกาหลีร้อยละ 95.1 เป็นชาวเกาหลีใต้ตามสัญชาติและร้อยละ 4.9 มีสัญชาติต่างประเทศ ทำให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีสังคมที่มีเชื้อชาติเดียวกันมากที่สุดในโลก การประมาณจำนวนชาวเกาหลีเป็นการเฉพาะทำได้ยาก เนื่องจากสถิติเกาหลีใต้ไม่ได้บันทึกเชื้อชาติ นอกจากนี้ ผู้ย้ายถิ่นฐานจำนวนมากเป็นผู้มีเชื้อชาติเกาหลีที่ถูกส่งตัวกลับประเทศ ในขณะที่พลเมืองเกาหลีใต้จำนวนหนึ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดนั้นไม่ได้มีเชื้อชาติเกาหลี ทำให้การประมาณทางสถิติคลาดเคลื่อน กลุ่มผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดบางกลุ่มคือผู้ที่มีเชื้อสายเกาหลีจากประเทศจีน (โชซ็อนจก), ประเทศญี่ปุ่น (ไซนิจิ) และอดีตสหภาพโซเวียต (โครยอ-ซารัม)
  2. เนื่องจากนโยบายโดดเดี่ยวของประเทศ จึงสันนิษฐานว่าเกาหลีเหนือมีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเกือบทั้งหมด
  3. รวมชาวเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือในประเทศจีน โดยในจีน ชาวเกาหลีที่มีสัญชาติจีนได้รับการเรียกขานในภาษาเกาหลีเป็นโชซ็อนจกและในภาษาจีนมาตรฐานว่าเฉาเสี่ยนจู๋
  4. ในภาษาญี่ปุ่นเรียกเป็นไซนิจิ
  5. ชาวเกาหลีในอุซเบกิสถานเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์โครยอ-ซารัม
  6. ชาวเกาหลีในรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์โครยอ-ซารัม
  7. ชาวเกาหลีในคาซัคสถานเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์โครยอ-ซารัม
  8. ชาวเกาหลีในยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์โครยอ-ซารัม
  9. เกาหลีใต้: 한민족/한국인/한국사람, 韓民族/韓國人/韓國사람, Han minjok (กลุ่มชาติพันธุ์ฮัน), Hanguk-in (บุคคลแห่งประเทศฮัน), Hanguksaram (Han country people), เกาหลีเหนือ: 조선민족/조선인/조선사람, 朝鮮民族/朝鮮人/朝鮮사람, Joseon minjok (กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลี), Joseon-in (คนโชซ็อน)/Joseonsaram (ชาวโชซ็อน); ดูชื่อของเกาหลี
  10. 한국인; 韓國人
  11. 한국 사람
  12. 한인; 韓人; แปล ชาวฮัน
  13. 조선인; 朝鮮人
  14. 조선 사람
  15. จีน: 朝鲜族
  16. เกาหลี: 조선족, 조선사람
  17. 在日朝鮮人, 朝鮮人 Zainichi Chousenjin, Chousenjin
  18. เกาหลี재일조선인, 조선사람, 조선인
  19. เกาหลี: 고려 사람; ซีริลลิก: Корё сарам
  20. เกาหลี: 대한사람, แปลว่า ชาวฮันใหญ่
  21. เกาหลี한겨레; อาร์อาร์Hangyeore; เอ็มอาร์Han'gyŏre, แปลว่า ชาติ/ชาวฮัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Korean". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 5 November 2023.
  2. "Foreign population in Korea tops 2.5 million". The Korea Times. 24 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2023.
  3. "Worldbank, 2020". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 4.28 4.29 4.30 재외동포현황(2021)/Total number of overseas Koreans (2021). South Korea: Ministry of Foreign Affairs. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
  5. 재외동포 현황 [Current status of overseas Koreans]. oka.go.kr. Office of Overseas Koreans, Republic of Korea. 2023.
  6. 재외동포 본문(지역별 상세). Ministry of Foreign Affairs and Trade. 15 July 2011. p. 64. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2021. สืบค้นเมื่อ 25 February 2012.
  7. "Wachtregister asiel 2012-2021". npdata.be. สืบค้นเมื่อ 12 April 2023.
  8. ชาวเกาหลี ที่ Ethnologue (17th ed., 2013)
  9. Horai, Satoshi; Murayama, Kumiko (1996). "mtDNA Polymorphism in East Asian Populations, with Special Reference to the Peopling of Japan". American Journal of Human Genetics. Cambridge, Massachusetts: Cell Press. 59 (3): 579–590. PMC 1914908. PMID 8751859.
  10. Yi, SoJeong; An, Hyungmi; Lee, Howard; Lee, Sangin (2014). "Ancestry informative SNP panels for discriminating the major East Asian populations: Han Chinese, Japanese and Korean". Annals of Human Genetics. Cambridge: John Wiley & Sons (ตีพิมพ์ 2013). 35 (10): 477–485. doi:10.1097/FPC.0000000000000075. PMID 25029633. S2CID 43243512.
  11. Siska, Veronika; Jones, Eppie Ruth; Jeon, Sungwon; Bhak, Youngjune; Kim, Hak-Min; Cho, Yun Sung; Kim, Hyunho; Lee, Kyusang; Veselovskaya, Elizaveta; Balueva, Tatiana; Gallego-Llorente, Marcos; Hofreiter, Michael; Bradley, Daniel G.; Eriksson, Anders; Pinhasi, Ron; Bhak, Jong; Manica, Andrea (2017). "Genome-wide data from two early Neolithic East Asian individuals dating to 7700 years ago". Science Advances (ตีพิมพ์ 1 February 2017). 3 (2): e1601877. Bibcode:2017SciA....3E1877S. doi:10.1126/sciadv.1601877. PMC 5287702. PMID 28164156.
  12. Wang, Yuchen; Lu, Dongsheng; Chung, Yeun-Jun; Xu, Shuhua (2018). "Genetic structure, divergence and admixture of Han Chinese, Japanese and Korean populations". Hereditas (ตีพิมพ์ 6 April 2018). 155: 19. doi:10.1186/s41065-018-0057-5. PMC 5889524. PMID 29636655.
  13. [이기환의 흔적의 역사] 국호논쟁의 전말…대한민국이냐 고려공화국이냐. Kyunghyang Shinmun (ภาษาเกาหลี). 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 2024-09-17.
  14. [이덕일 사랑] 대~한민국. The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). 2020-08-04. สืบค้นเมื่อ 2024-09-17.
  15. Lee, Seokwoo (2016). The Making of International Law in Korea: From Colony to Asian Power. Brill Nijhoff. p. 321. ISBN 978-9004315785.
  16. Kim, Hyunjin (21 May 2009). Ethnicity and Foreigners in Ancient Greece and China. Bloomsbury Academic. p. 140.
  17. Kim, Jangsuk; Park, Jinho (2020-05-05). "Millet vs rice: an evaluation of the farming/language dispersal hypothesis in the Korean context". Evolutionary Human Sciences. 2: e12. doi:10.1017/ehs.2020.13. ISSN 2513-843X. PMC 10427441. PMID 37588344.
  18. Kim, W., Saitou, N., & Jin, L. (1992). [Phylogenetic relationships of East Asian populations, inferred from restriction patterns of mitochondrial DNA](https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1510113/). *Molecular Biology and Evolution, 9*(5), 547-553. doi:10.1093/oxfordjournals.molbev.a040753
  19. Ahn, Sung-Mo (June 2010). "The emergence of rice agriculture in Korea: archaeobotanical perspectives". Archaeological and Anthropological Sciences. 2 (2): 89–98. Bibcode:2010ArAnS...2...89A. doi:10.1007/s12520-010-0029-9. S2CID 129727300.
  20. Kim, J. (2021). [Relationship between the Altaic Languages and the Korean Language](https://www.researchgate.net/publication/348061296_Relationship_between_the_Altaic_Languages_and_the_Korean_Language). *ResearchGate.*
  21. Cho, Sungdai; Lee, Hyo Sang (2022). Korean: A Linguistic Introduction. Cambridge University Press. ISBN 978-0521514859.
  22. Janhunen, Juha (2010). "RReconstructing the Language Map of Prehistorical Northeast Asia". Studia Orientalia (108). ... there are strong indications that the neighbouring Baekje state (in the southwest) was predominantly Japonic-speaking until it was linguistically Koreanized.
  23. Vovin, Alexander (31 December 2013). "From Koguryǒ to T'amna: Slowly riding to the South with speakers of Proto-Korean". Korean Linguistics. 15 (2): 217–235. doi:10.1075/kl.15.2.03vov.
  24. Whitman, John (1 December 2011). "Northeast Asian Linguistic Ecology and the Advent of Rice Agriculture in Korea and Japan". Rice. 4 (3): 149–158. Bibcode:2011Rice....4..149W. doi:10.1007/s12284-011-9080-0.
  25. "Vovin, Alexander (2008). From Koguryo to Tamna: Slowly Riding to the South with Speakers of Proto-Korean". Korean Linguistics. 15. Linguistic evidence indicates speakers of
  26. Kim, Jangsuk; Park, Jinho (2020). "Millet vs rice: an evaluation of the farming/language dispersal hypothesis in the Korean context". Evolutionary Human Sciences (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. 2: e12. doi:10.1017/ehs.2020.13. ISSN 2513-843X. PMC 10427441. PMID 37588344. He also suggests that the arrival of Koreanic in Korea was associated with the spread of the Korean-style bronze dagger culture from present-day northeast China to Korea around 300 BCE. ...

    While pottery styles clearly differ between northeast China and the Korean Peninsula, an influx of northeast Chinese pottery styles into Korea has not been detected, and the styles of the two areas remain distinct long after the appearance of millet with little change in Chulmun pottery styles over time. ...

    However, as outlined above, because the Korean Peninsula was already occupied by Chulmun hunter–fisher–gatherers since at least 6000 BCE, a key to evaluating the millet hypothesis is determining whether millet was adopted by the Chulmun foragers (diffusion) or whether it was brought along as a part of a large-scale migration of farmers from Liaoning. If millet was introduced as a result of a large-scale migration of farmers from Liaoning, an archaeologically detectable influx of Liaoning culture and changes in material culture after the introduction of millet should be expected, because vessel shape, manufacturing technology and the design layout and motifs of Korean Chulmun pottery markedly differ from those of Liaoning pottery. However, there is no detectable appearance of elements of Liaoning material culture that accompanies the arrival of millets. ...

    Even if millet was brought by some migrants from northeast China to Korea, archaeological evidence demonstrates that the scale of migration was probably not large enough to lead to a fundamental linguistic change or the dispersal of a linguistic family.
  27. Osada, Naoki; Kawai, Yosuke (2021). "Exploring models of human migration to the Japanese archipelago using genome-wide genetic data". Anthropological Science. 129 (1): 45–58. doi:10.1537/ase.201215.
  28. Miyamoto, Kazuo (January 2022). "The emergence of 'Transeurasian' language families in Northeast Asia as viewed from archaeological evidence". Evolutionary Human Sciences (ภาษาอังกฤษ). 4: e3. doi:10.1017/ehs.2021.49. hdl:2324/4796095. ISSN 2513-843X. PMC 10426040. PMID 37588923. Therefore, it is reasonable to assume that the people of the Jeomtodae pottery culture, the direct ancestors of Three kingdom states, spoke Proto-Koreanic.
  29. "Korean". ethnologue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2008. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Breen, Michael (2004). The Koreans: Who They Are, What They Want, Where Their Future Lies. New York: St. Martin's Press. ISBN 978-1-4668-6449-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]