คดีแชร์สหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คดีแชร์สหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ คดีแชร์ลูกโซ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คดีพิเศษที่ 40/2564[1]กล่าวหา รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] ในข้อหาร่วมกันทุจริตและฉ้อโกงบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็นสองคดีย่อยได้แก่คดีบริหารเงินสมาชิกสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผิดพลาดโดยจงใจฉ้อโกงกับคดี แชร์ลูกโซ่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมเงินทั้งสิ้น 1,629,730,000 บาท
คดีดังกล่าวเป็นคดีความผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงจากการระดมเงินจากประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2560 โดยการระดมเงินจากประชาชนในรูปการทุจริตยักยอกทรัพย์ในฐานะผู้บริหารเงินสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา มีผู้เสียหายจำนวนมากกว่า 160 คน โดยเงินของอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำไปลงทุนกับ สหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น (สคจ.) 1,431 ล้านบาท สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี (ส. มงคลเศรษฐี) 200 ล้านบาท สหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ (สค. นพเก้าฯ) 915 ล้านบาท ชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย (ชส. ธนกิจไทย) 585 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 3,131 ล้านบาท[3] โดยอัยการระบุว่ามูลค่าความเสียหายของสหกรณ์จุฬาทั้งหมดอยู่ที่ 1,446 ล้านบาท
นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา ยังก่อคดีหลอกให้อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเงินมาลงทุนส่วนตัวหรือหลอกเล่นแชร์ลูกโซ่จำนวน 183,730,000 บาท[4] หรือที่รู้จักในนามคดีแชร์ลูกโซ่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมเงินทั้งสิ้น 1,629,730,000 บาท[5] (1,446 ล้านบาท รวมกับ 183,730,000 บาท)
สวัสดิ์ แสงบางปลา
[แก้]รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา เป็นนักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดลหรือรู้จักกันในนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงได้รับนักสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2542 ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่รางวัลให้ทำเนียบรัฐบาล และเป็นรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย อดีตประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย และอดีตประธานกรรมการดำเนินงาน ชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย จำกัด สมรส กับ รองศาสตราจารย์ พูลพร แสงบางปลา
ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้หลอกลวงบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยราว 200 คน ให้มาลงทุนโดยอ้างว่าตนได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อสลากตามโควต้าเพื่อไปจำหน่ายเอากำไรต่อโดยจะได้ค่าตอบแทนร้อยละ 1 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ให้กู้ยืม หรือร้อยละ 12 ต่อปี และเดือนสุดท้ายจะได้รับผลตอบแทนคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย จนมีบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลงเชื่อจำนวนมาก โดยมีเงินหมุนเวียนทั้งสิ้น 183,730,000 บาท
นอกจากคดีนี้แล้ว เขายังตกเป็นจำเลยร่วมกับ นางสาว เมธวัชร์ คนมั่น หรือ นางสาว พชกร คนมั่น[6]ในความผิดฐานฟอกเงินที่สืบเนื่องจากการฉ้อโกงดังกล่าว วงเงินสูงถึง 641 ล้านบาทด้วย เบื้องต้น นางสาว เมธวัชร์ คนมั่น ให้การรับสารภาพในชั้นศาล และศาลพิพากษาจำคุกไปแล้ว 17 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือ 8 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ส่วน รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ปฏิเสธข้อกล่าวหา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวน[7]
และตกเป็นจำเลยร่วมในคดีฟอกเงิน หมายเลขดำที่ ฟย.20/2560 ที่พนักงานอัยการคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ฟ้อง รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธานกรรมการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, น.ส.จิรัชญา คุณยศยิ่ง และ น.ส.ภวิษย์พร ใบเกตุ
เบื้องหลัง
[แก้]อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งได้เสียชีวิตลง และบุตรไปค้นเจอใบถอนเงิน และใบเสร็จรับเงิน จาก รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา 6 ใบ วงเงินรวม 24 ล้านบาท โดยเมื่อถึงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งถึงคิวต้องได้รับเงินแบ่งจ่ายรายเดือน แต่กลับไม่ได้รับเงิน ส่งผลให้บุตรเดินทางไปพูดคุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา ที่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอเอาเงินดังกล่าวคืน แต่กลับไม่ได้รับเงิน ส่งผลให้เดินทางไปพูดคุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา ที่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอเอาเงินดังกล่าวคืน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา ยินยอม และจะจ่ายเป็นเช็คธนาคารมาให้เดือนละ 2 ล้านบาท รวม 12 เดือน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560 ได้นำเช็คไปขึ้นเงิน แต่ไม่สามารถเบิกเงินได้ จึงติดต่อไปยัง รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 ธนาคารได้แจ้งกลับมาว่า บัญชีเงินฝากดังกล่าวถูกปิดแล้ว และนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบันไม่สามารถติดต่อ รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา ได้แต่อย่างใด[8]
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา จะโทรศัพท์ชักชวนให้ร่วมลงทุน ก่อนจะเชิญชวนมาพบ และพูดจาหว่านล้อมให้กู้หุ้นสหกรณ์จุฬา โดยระบุว่า หากกู้หุ้นสหกรณ์จุฬาฯ เสียดอกเบี้ยร้อยละ 2.8 ต่อปี แต่เงินปันผลที่จะได้รับหากลงทุนกับ รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา คือร้อยละ 12 ต่อปี จึงคุ้มค่ากว่า ทำให้มีคนหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก[9] ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ออกประกาศลงราชกิจจานุเบกษาให้ผู้เสียหายยื่นหลักฐานภายในสามสิบวัน[10] โดยระบุตอนหนึ่งว่า รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา นำเงินไปลงทุนในบริษัท อสังหาริมทรัพย์
ผลการพิจารณาคดีของศาลอาญา
[แก้]พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ฟ้อง รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธานกรรมการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ น.ส.จิรัชญา หรือ “ไข่เจียว” คุณยศยิ่ง และ น.ส.ภวิษย์พร ใบเกตุ เป็นจำเลยที่ 1-3 จากกรณีที่จำเลยร่วมกันฟอกเงินสหกรณ์จุฬาฯ 42 ล้านบาท จากการฉ้อโกงเงินประชาชนที่นำมาร่วมลงทุนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือโควตาล็อตเตอรรี่คดีนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562 ให้จำคุก นายสวัสดิ์ จำเลยที่ 1 ไว้ 20 ปี จำคุก น.ส.ภวิษย์พร จำเลยที่ 3 ไว้ 3 ปี ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ห้องพิจารณาคดี 704 [11] ต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับคดีนี้เป็นคดีพิเศษ 25/2564 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[12]รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา เสียชีวิตภายในเรือนจำในอีกสองปีถัดจากนั้น คดีจึงสิ้นสุด
ผลการพิจารณาคดีของคดีแพ่ง
[แก้]ศาลแพ่งยังระบุว่ามีอาจารย์อีกสองรายซึ่งสังกัดคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความผิดเพราะไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากมูลหนี้ละเมิดในคดีหมายเลขแดงที่ พ 2561/2563 [13]ได้แก่ อาจารย์ ชาญวิทย์ อุปยโส เหรัญญิก สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์
ผลที่ตามมา
[แก้]คดีดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา เป็นอดีตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลการเรียนดีเยี่ยม ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง บุคคลที่ถูกหลอกส่วนมากเป็นอาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์[14]อดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลค่าเสียหาย 5 ล้านบาท
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณพร วีรวัฒน์ นายกสโมสรอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่เปิดเผยมูลค่าความเสียหาย
รองศาสตราจารย์ ดร.หรรษา สงวนน้อย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลค่าเสียหาย 19.2 ล้านบาท
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประสาร จิมากร อดีตหัวหน้าภาคพยาธิวิทยา[15] คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลค่าความเสียหาย 15 ล้าน
รองศาสตราจารย์ แม้น อมรสิทธิ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลค่าความเสียหาย 5 ล้านบาท
[16] ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ แม้น อมรสิทธิ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวกับ ไทยรัฐ ตอนหนึ่งว่า อยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาช่วยเหลือนับเป็นครั้งแรกที่อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอร้องให้เผด็จการทหารในประเทศไทยช่วยเหลือตนเอง
ต่อมาอัยการได้ฟ้องร้อง รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ อดีตรองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฐานยักยอกทรัพย์[17]
ต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติฟ้องร้องผู้บริหารสหกรณ์จุฬาฐานนำเงินบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ สหกรณ์เครดิตยูเนียนมงคลเศรษฐี จำกัด, สหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ จำกัด และสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด กู้ยืม [18]
ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.600/2566 พิพากษาว่า รองศาสตราจารย์ ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ อดีตรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ประกอบมาตรา 254 ให้จำคุก 5 ปี[19]
อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งถึงขั้นล้มละลายเพราะกู้ยืมเงินมาเล่นแชร์ลูกโซ่ หย่าขาดกับสามีหรือภรรยาบางส่วนหาสถานสงเคราะห๋คนชราอาศัยเพราะจำเป็นต้องขายบ้าน ปล่อยเช่าบ้าน และทรัพย์สินที่จำเป็นออกไปเพื่อเป็นเงินใช้ในบั้นปลายชีวิต
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวสามมิติตอนหนึ่งว่า
" "อาจารย์บางท่านต้องขายบ้านหรือปล่อยเช่าบ้านเพื่อไปอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา บ้างก็อาศัยในที่ซอมซ่อ สรุปว่าพวกเราลำบากมากกับการที่ท่านกระทำเยี่ยงนี้กับเรา" "
ดูเพิ่มเติม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ DSI สรุปสำนวนคดีสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯยักยอกทรัพย์/ฟอกเงินส่งอัยการคดีพิเศษ
- ↑ อ่านระหว่างบรรทัดสันติสุข มะโรงศรี
- ↑ บทเรียนโกงสหกรณ์จุฬาฯ
- ↑ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เพิ่มโทษ "สวัสดิ์ แสงบางปลา" ฟอกเงินฉ้อโกงสหกรณ์จุฬาฯ
- ↑ บทเรียนโกงสหกรณ์จุฬาฯ
- ↑ ศาลนัดตัดสินคดี หลังกิ๊กดร.จุฬาฯ กลับคำ รับสารภาพ คดีตุ๋นแชร์หวย
- ↑ คุกอ่วม“สวัสดิ์ แสงบางปลา” 200ปี 600 เดือน ฐานกู้ยืมเงินเป็นการฉ้อโกงปชช. ชดใช้ผู้เสียหาย
- ↑ หวั่นซ้ำรอยคลองจั่น! แจ้งความอดีต ปธ.สหกรณ์จุฬาฯ หลอกลงทุน-เสียหายพันล.
- ↑ พฤติการณ์อดีต ปธ.สหกรณ์จุฬาฯ ก่อนคุก 250 ปีคดีฉ้อโกง-เหลือปมฟอกเงิน 641 ล.
- ↑ ปปง.ให้เวลา 30 วัน เหยื่อถูก'สวัสดิ์'โกง ยื่นหลักฐานขอชดใช้
- ↑ ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษ จำคุก 50 ปี 'สวัสดิ์ แสงบางปลา'ฟอกเงินสหกรณ์จุฬาฯ
- ↑ ดีเอสไอรับคดีสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ เป็นคดีพิเศษ
- ↑ เลือกตั้งกรรมการ‘สอ.จฬ.’ชุดใหม่ ส่อวุ่น! สมาชิกฯค้านโหวต 4 รายชื่อ เหตุมีลักษณะต้องห้าม
- ↑ อดีต อ.จุฬาฯเสียใจถูก”รศ.สวัสดิ์์”ฉ้อโกงเงิน 5 ล้าน
- ↑ ภาคพยาธิวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ ออกหมายจับ! รศ.ดร.ดังโกงกว่าพันล้าน
- ↑ 'อัยการ'ยื่นฟ้องแล้ว! คดี'อดีตปธ.สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ 'ยักยอกทรัพย์ฯ เสียหาย 1.4 พันล้าน
- ↑ DSI สรุปสำนวนคดีสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ส่งอัยการแล้ว
- ↑ ‘ศาลอาญา’พิพากษาจำคุก‘อดีตประธาน สอ.จฬ.’ 5 ปี ยักยอกทรัพย์สหกรณ์ฯ เสียหาย 1.4 พันล้าน