คดีระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซีย (พ.ศ. 2565)
ข้อกล่าวหาการล้างเผ่าพันธุ์ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมการล้างเผ่าพันธุ์ (คดีระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซีย) | |
---|---|
Allegations of Genocide under the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide (Ukraine v. Russian Federation) | |
สาระแห่งคดี | |
ข้อกล่าวหา | รัฐบาลรัสเซียวางแผนการกระทำล้างเผ่าพันธุ์ในยูเครน และการรุกรานของกองทัพรัสเซียเป็นการจงใจฆ่าและทำให้บาดเจ็บอย่างร้ายแรงต่อสมาชิกของชาติยูเครนเป็นการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญาภายใต้ข้อ 2 ของอนุสัญญาการล้างเผ่าพันธุ์ฯ |
คำฟ้อง | ขอให้ตัดสินว่ารัสเซียไม่มีเหตุผลชอบด้วยกฎหมายในการกระทำในและต่อยูเครนสำหรับวัตถุประสงค์ของการป้องกันและลงโทษการล้างเผ่าพันธุ์ตามอ้าง[ของรัสเซีย] |
คู่ความ | |
โจทก์ | ยูเครน |
จำเลย | รัสเซีย |
ศาล | |
ศาล | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ |
ตุลาการ | Donoghue (ประธาน), Gevorgian, Tomka, Abraham, Bennouna, Yusuf, Xue, Sebutinde, Bhandari, Robinson, Salam, Iwasawa, Nolte, Charlesworth, Daudet, Gautier |
สั่ง | |
" ให้รัสเซียยุติปฏิบัติการทางทหาร[ในยูเครน]ทันที " | |
ลงวันที่ | 16 มีนาคม 2565 |
เว็บไซต์ | |
Allegations of Genocide under the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide (Ukraine v. Russian Federation) |
ข้อกล่าวหาการล้างเผ่าพันธุ์ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมการล้างเผ่าพันธุ์ (คดีระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซีย) เป็นคดีที่ถูกนำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ยูเครนเป็นผู้เสนอคดีเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 ต่อประเทศรัสเซียหลังการรุกรานยูเครน ในเรื่องพิพาทเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปี 2491
ศาลฯ นั่งพิจารณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 ณ วังสันติ อันเป็นที่ตั้งศาลฯ เพื่อตัดสินว่ายูเครนมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่[1] ผู้แทนรัสเซียไม่มาเข้าร่วมการพิจารณาคดี[2] แต่ส่งถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรมา[3]
ในวันที่ 16 มีนาคม 2565 ศาลฯ วินิจฉัยด้วยเสียงข้างมาก 13–2 ว่ารัสเซียต้อง "ยุติปฏิบัติการทางทหาร[ในยูเครน]ทันที"[4] โดยมีผู้พิพากษาจากรัสเซียและจีนเห็นแย้ง[5] ศาลฯ ยังเรียกร้องเป็นเอกฉันท์ให้ "ภาคีทั้งสองฝ่ายละเว้นจากการกระทำใด ๆ ที่อาจกระตุ้นหรือขยายข้อพิพาทก่อนศาลฯ จัดการคดีได้ หรือทำให้ระงับได้ยากขึ้น"[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wintour, Patrick (7 March 2022). "International court of justice to fast-track ruling on Russian invasion". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
- ↑ Schnell, Mychael (2022-03-07). "Russian representatives skip UN court hearing on Ukraine". The Hill (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
- ↑ "Allegations of Genocide under the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide (Ukraine v. Russian Federation)". International Court of Justice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2022. สืบค้นเมื่อ 14 March 2022.
- ↑ 4.0 4.1 แม่แบบ:Cite Press release
- ↑ Quell, Molly (March 16, 2022). "International Court of Justice orders Russia to cease hostilities in Ukraine". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ March 16, 2022.