คดีระหว่างมาสเตอร์พีซเค้กช็อป กับคณะกรรมการสิทธิพลเมืองรัฐโคโลราโด
คดีระหว่างมาสเตอร์พีซเค้กช็อป กับคณะกรรมการสิทธิพลเมืองรัฐโคโลราโด | |
---|---|
Masterpiece Cakeshop v. Colorado Civil Rights Commission | |
![]() | |
ตราศาลสูงสุดสหรัฐ | |
สาระแห่งคดี | |
คำร้อง | การใช้กฎหมายบริการสาธารณะของรัฐโคโลราโดเพื่อบังคับฟิลลิปส์ให้สร้างผลงานซึ่งละเมิดต่อความเชื่อทางศาสนาที่เขายึดถือโดยจริงใจเกี่ยวกับการสมรสละเมิดต่อวรรคเสรีภาพในการพูดหรือการปฏิบัติเสรีแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1 หรือไม่ |
คู่ความ | |
ผู้ร้อง | บริษัท มาสเตอร์พีซเค้กช็อป และพวก |
ผู้ถูกร้อง | คณะกรรมการสิทธิพลเมืองรัฐโคโลราโด และพวก |
ศาล | |
ศาล | ศาลสูงสุดสหรัฐ |
ตุลาการ | ประธาน: John Roberts
ตุลาการสมทบ: Anthony Kennedy · Clarence Thomas · Ruth Bader Ginsburg · Stephen Breyer · Samuel Alito · Sonia Sotomayor · Elena Kagan · Neil Gorsuch |
วินิจฉัย | |
" คณะกรรมการสิทธิพลเมืองรัฐโคโลราโดไม่กระทำในทางที่เป็นกลางต่อศาสนา เป็นการละเมิดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 1 " | |
คำวินิจฉัย | |
คำวินิจฉัย | 584 U.S. ___ (2018) |
ลงวันที่ | 4 มิถุนายน 2018 |
กฎหมาย | การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 1 |
คดีระหว่างมาสเตอร์พีซเค้กช็อป กับคณะกรรมการสิทธิพลเมืองรัฐโคโลราโด, 584 U.S. ___ (2018) เป็นคดีในศาลสูงสุดสหรัฐ ในประเด็นว่าเจ้าของบริการสาธารณะ (public accommodation) สามารถปฏิเสธบริการบางอย่างได้โดยอาศัยข้ออ้างเสรีภาพในการพูดและการปฏิบัติศาสนาเสรีตามการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 1 หรือไม่ ฉะนั้นจึงได้รับข้อยกเว้นจากกฎหมายซึ่งรับประกันการไม่เลือกปฏิบัติในบริการสาธารณะ โดยเฉพาะโดยการปฏิเสธให้บริการสร้างสรรค์ เช่น การทำเค้กแต่งงานแบบสั่งทำสำหรับการสมรสคู่สมรสเกย์ บนรากฐานความเชื่อทางศาสนาของเจ้าของ
คดีนี้มีใจความว่า มาสเตอร์พีซเค้กช็อป ร้านขนมปังในเมืองเลกวูด รัฐโคโลราโด ปฏิเสธออกแบบเค้กแต่งงานสั่งทำสำหรับคู่สมรสเกย์เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาของเจ้าของ ฝ่ายคณะกรรมการสิทธิพลเมืองรัฐโคโลราโดซึ่งทำหน้าที่ประเมินคดีภายใต้รัฐบัญญัติต่อต้านการเลือกปฏิบัติรัฐโคโลราโดวินิจฉัยว่าร้านดังกล่าวเลือกปฏิบัติต่อคู่สมรส และออกคำสั่งจำเพาะต่อร้านดังกล่าว เจ้าของร้านอุทธรณ์ภายในรัฐซึ่งยืนยันคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ร้านดังกล่าวจึงนำคดีขึ้นสู่ศาลสูงสุด
ศาลสูงสุดสหรัฐมีคำวินิจฉัยฝ่ายข้างมาก 7–2 วินิจฉัยบนมูลเหตุอย่างแคบว่าคณะกรรมการฯ มิได้ใช้ความเป็นกลางทางศาสนา ละเมิดสิทธิของแจ็ก ฟิลลิปส์ เจ้าของมาสเตอร์พีซ และกลับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ศาลฯ มิได้วินิจฉัยจุดตัด (intersection) ในวงกว้างของกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ การใช้เสรีภาพทางศาสนา และเสรีภาพในการพูด เนื่องจากผลของคณะกรรมการฯ ที่ขาดความเป็นกลางทางศาสนา