คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด
คดีระหว่างบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัดกับบริษัทแอปเปิล | |
---|---|
Samsung Electronics Co. v. Apple Inc. | |
ตราศาลสูงสุดสหรัฐ | |
สาระแห่งคดี | |
คำฟ้อง | ขอให้วินิจฉัยว่า เมื่อสิทธิบัตรออกแบบใช้ได้เฉพาะกับองค์ประกอบหนึ่งของผลิตภัณฑ์ การยกกำไรของผู้ละเมิดสิทธิควรจำกัดอยู่เฉพาะกำไรซึ่งเกิดจากองค์ประกอบนั้นหรือไม่ |
คู่ความ | |
โจทก์ | บริษัทแอปเปิล |
จำเลย | บริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด |
ศาล | |
ศาล | ศาลสูงสุดสหรัฐ |
ตุลาการ | ประธาน: John Roberts ตุลาการสมทบ:
|
วินิจฉัย | |
" "บทประดิษฐกรรม" ดังที่ใช้ในบทบัญญัติรัฐบัญญัติสิทธิบัตรครอบคลุมค่าเสียหายสำหรับการละเมิดสิทธิสิทธิบัตรออกแบบ ครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ขายแก่ผู้บริโภค และองค์ประกอบของผลิตถัณฑ์นั้น และองค์ประกอบของสมาร์ตโฟนที่ละเมิดสิทธิอาจเป็น "บทประดิษฐกรรม" ที่เกี่ยวข้อง แม้ผู้บริโภคไม่อาจซื้อองค์ประกอบเหล่านั้นแยกจากสมาร์ตโฟนได้ " | |
ลงวันที่ | 6 ธันวาคม 2559 |
กฎหมาย | 35 U.S.C. § 289 |
เว็บไซต์ | |
No. 15-777 |
คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด (อังกฤษ: Apple Inc. v. Samsung Electronics Co., Ltd.) เป็นคดีในศาลแรกในชุดที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างบริษัทแอปเปิล กับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด ว่าด้วยแบบผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ผลิตสมาร์ตโฟนขายเกินครึ่งทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555[1] ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2554 แอปเปิลเริ่มฟ้องร้องซัมซุงในคดีการละเมิดสิทธิบัตร ขณะที่แอปเปิลกับโมโตโรล่าโมบิลิตีได้มีการฟ้องร้องมาแล้วก่อนหน้านี้[2] การฟ้องร้องสิทธิบัตรเทคโนโลยีในหลายชาติของแอปเปิลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ "สงครามสิทธิบัตรอุปกรณ์เคลื่อนที่" ซึ่งเป็นการฟ้องร้องอย่างกว้างขวางในการแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้บริโภคของโลก[3]
จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 แอปเปิลและซัมซุงได้ฟ้องร้องกันแล้ว 19 คดีใน 9 ประเทศ เมื่อถึงเดือนตุลาคม ได้มีการฟ้องร้องเพิ่มในอีกประเทศหนึ่ง รวมเป็น 10 ประเทศ[4][5] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 ศาลสหรัฐสั่งให้ประธานบริหารของแอปเปิลและซัมซุงเจรจาระงับคดีเพื่อจำกัดหรือแก้ไขข้อพิพาทด้านสิทธิบัตร[6][7] จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทั้งสองบริษัทยังพัวพันอยู่ในกว่า 50 คดีทั่วโลก โดยทั้งสองมีการเรียกร้องค่าเสียหายหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อกัน[8]
วันที่ 6 ธันวาคม 2559 ศาลสูงสุดสหรัฐวินิจฉัยด้วยมติ 8-0 ให้กลับคำวินิจฉัยจากการไต่สวนครั้งแรกซึ่งให้แอปเปิลได้เงินชดเชยเกือบ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งคดีคืนไปยังศาลอุทธรณ์กลางเพื่อให้นิยามมาตรฐานทางกฎหมายที่เหมาะสมของ "บทประดิษฐกรรม" เนื่องจากมิใช่ตัวสมาร์ตโฟน แต่เป็นเคสและจอภาพซึ่งสิทธิบัตรการออกแบบยังใช้ได้อยู่[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chellel, Kit (July 9, 2012). "Samsung Wins U.K. Apple Ruling Over 'Not As Cool' Galaxy Tab". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
- ↑ "Apple Inc. v. Samsung Electronics Co. Ltd. et al". United States District Court, Northern District of California. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ August 11, 2012.
- ↑ Barrett, Paul M. (March 29, 2012). "Apple's War on Android". Bloomberg Businessweek. Bloomberg. สืบค้นเมื่อ March 29, 2012.
- ↑ Albanesius, Chloe (September 14, 2011). 00.asp "Every Place Samsung and Apple Are Suing Each Other". PC Magazine. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ August 11, 2012.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Pyett, Amy; Feast, Lincoln; Davies, Ed (October 27, 2011). "Australian court to fast-track Samsung appeal on tablet ban". Reuters. Sydney: Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ August 11, 2012.
- ↑ Parnell, Brid-Aine (April 18, 2012). "US judge orders Apple, Samsung CEOs to get a room". The Register. Situation Publishing. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
- ↑ "Apple and Samsung chiefs to meet to sort patent dispute". BBC Online. BBC. April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
- ↑ Mueller, Florian (July 24, 2012). "Apple seeks $2.5 billion in damages from Samsung, offers half a cent per standard-essential patent". FOSS Patents. สืบค้นเมื่อ July 28, 2012.
- ↑ Mann, Ronald. "Opinion analysis: Justices tread narrow path in rejecting $400 million award for Samsung's infringement of Apple's cellphone design patents". SCOTUS Blog. สืบค้นเมื่อ 14 December 2016.