ข้ามไปเนื้อหา

คณะกรรมการยุทธศาสตร์จิตวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะกรรมการยุทธศาสตร์จิตวิทยา (อังกฤษ: Psychological Strategy Board) เป็นคณะกรรมการของฝ่ายบริหารสหรัฐที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประสานงานและวางแผนปฏิบัติการจิตวิทยา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1951 ในสมัยประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการข่าวกรองกลาง หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย[1] ผู้อำนวยการคนแรกคือ กอร์ดอน เกรย์ ซึ่งต่อมาเป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในรัฐบาลประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ คณะกรรมการฯ ก่อตั้งขึ้นเป็นการตอบสนองต่อการเติบโตของกิจกรรมในทางลับของสำนักงานการประสานงานนโยบายระหว่างสงครามเกาหลี[2]

ในสมัยไอเซนฮาวร์ คณะกรรมการฯ กลายมาเป็นหน่วยงานประสานงานเพียงอย่างเดียว หน้าที่ของคณะกรรมการฯ ได้รับการทบทวนโดยคณะกรรมาธิการแจ็กสันซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเสนอโครงการการสงครามสารสนเทศและจิตวิทยาของสหรัฐในอนาคต คณะกรรมาธิการฯ พบว่าคณะกรรมการฯ ก่อตั้งขึ้นบนสมมติฐานว่ายุทธศาสตร์จิตวิทยาสามารถดำเนินการได้เป็นเอกเทศจากนโยบายและการปฏิบัติราชการ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ไม่เห็นด้วย[3] สุดท้ายคณะกรรมการฯ จึงถูกยุบเลิกในวันที่ 3 กันยายน 1953 โดยคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 10483[4] และความรับผิดชอบถูกโอนไปยังคณะกรรมการประสานงานปฏิบัติการแทน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Staff Member and Office Files: Psychological Strategy Board Files". Harry S. Truman Presidential Library.
  2. "Foreign Relations 1964-1968, Volume XXVI, Indonesia; Malaysia-Singapore; Philippines: Note on U.S. Covert Action Programs". United States Department of State.
  3. "U.S. President's Committee on International Information Activities (Jackson Committee): Records, 1950-53". Eisenhower Presidential Center website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.
  4. "Dwight D. Eisenhower: Executive Order 10483—Establishing the Operations Coordinating Board". www.presidency.ucsb.edu. September 2, 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-12. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.