ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1929
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติที่ 1929 | ||
---|---|---|
วันที่ | 9 มิถุนายน 2010 | |
การประชุม ครั้งที่ | 6,335 | |
รหัส | S/RES/1929 (เอกสาร) | |
เรื่อง | การไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ อิหร่าน | |
สรุปการลงคะแนนเสียง |
| |
ผล | ตกลงรับ | |
องค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคง | ||
สมาชิกถาวร | ||
สมาชิกไม่ถาวร | ||
|
มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1929 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553 หลังจากมีการยกเลิกมติที่ 1696 (พ.ศ. 2549), มติที่ 1737 (พ.ศ. 2549), มติที่ 1747 (พ.ศ. 2550), มติที่ 1803 (พ.ศ. 2551), มติที่ 1835 (พ.ศ. 2551) และมติที่ 1887 (พ.ศ. 2552) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นของอิหร่านและการไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ คณะมนตรีความมั่นคงได้บันทึกไว้ว่าอิหร่านประสบความล้มเหลวที่จะยินยอมตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ผ่านมาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์อิหร่านและได้มีมติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านเพิ่มเติม[1]
มติดังกล่าว ถือเป็นการบังคับใช้การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรอบที่สี่ต่ออิหร่าน[2] โดยมีการสนับสนุน 12 ต่อ 2 เสียง บราซิลและตุรกิลงมติคัดค้าน และเลบานอน ไม่ลงคะแนน
มาตรการ
[แก้]ตามมาตราที่ 41 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตัดสินว่ารัฐบาลอิหร่านไม่บรรลุเงื่อนไขของมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ผ่านมาและเงื่อนไขของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) คณะมนตรีเห็นพ้องว่าอิหร่านควรจะร่วมมือกับ IAEA ในประเด็นที่ยังเหลือค้างอยู่ในทันที คณะมนตรียังได้ตัดสินใจว่าอิหร่านควรจะยินยอมทำตามข้อตกลงเครื่องป้องกันกับ IAEA โดยจะไม่ทำการผลิตใหม่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมวลหนักและการเสริมสมรรถนะ หรือการได้มาซึ่งความสนใจทางธุรกิจจากรัฐอื่นเกี่ยวกับการขุดยูเรเนียม หรือการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีนิวเคลียร์
ข้อกำหนดอื่น ๆ ของมติ รวมไปถึง:[3]
- อิหร่านไม่สามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขีปนาวุธพิสัยไกล
- การสั่งห้ามมิให้ชาติใดส่งยานพาหนะทางทหาร เครื่องบิน เรือรบ และขีปนาวุธหรือระบบขีปนาวุธ และวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องให้กับอิหร่าน;
- การสั่งห้ามมิให้ฝึก การให้เงินกู้ หรือการให้ความช่วยเหลือใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธและวัตถุดิบ และยับยั้งการจำหน่ายอาวุธและวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องให้กับอิหร่าน;
- การสั่งห้ามเดินทางของบุคคลในภาคผนวกของมติ โดยมีข้อยกเว้นตามที่ได้ตัดสินใจโดยคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามมติที่ 1737;
- การอายัดเงินและทรัพย์สินของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามและสายการเดินเรืออิหร่าน
รัฐทุกรัฐยังได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมให้ดำเนินการตามมาตรการที่ปรากฏด้านล่าง:[3]
- ทำการตรวจสอบสินค้าทั้งหมดที่มุ่งหน้าหรือเดินทางออกจากอิหร่าน ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 และข้อตกลงการบินพลเรือน เพื่อตรวจจับสินค้าที่ถูกสั่งห้าม และรายงานภายในห้าวันคำชี้แจง เมื่อตรวจพบสินค้าที่ถูกสั่งห้าม;
- การยึดและทำลายสินค้าที่ถูกสั่งห้าม;
- ป้องกันการจัดหาน้ำมัน เสบียง และการบริหารแก่เรือสัญชาติอิหร่านหากเรือดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่ถูกสั่งห้าม;
- ให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการเกี่ยวกับความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสายการบินอิหร่านหรือสายการเดินเรืออิหร่านไปยังบริษัทอื่น;
- ป้องกันการจัดหาบริการทางการเงินซึ่งอาจใช้เพื่อกิจกรรมนิวเคลียร์ที่ละเอียดอ่อน;
- สั่งห้ามการเปิดธนาคารสัญชาติอิหร่านในดินแดนของตนและป้องกันธนาคารสัญชาติอิหร่านจะการเข้าสู่ความสัมพันธ์กับธนาคารซึ่งอยู่ภายในขอบเขตอำนาจ ถ้าหากมีเหตุผลซึ่งสงสัยว่ากิจกรรมนั้นสามารถมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน;
- ป้องกันสถาบันการเงินมิให้ปฏิบัติงานในดินแดนของตนจากการเปิดออฟฟิศและบัญชีในอิหร่าน หากสถาบันเหล่านั้นอาจมีส่วนเกี่ยวของกับกิจกรรมเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน
ทั้งนี้ ยกเว้นสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อมนุษยธรรมและกิจกรรมกฎหมายเศรษฐกิจ[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Citing Iran's failure to clarify nuclear ambitions, UN imposes additional sanctions". United Nations News Centre. 9 June 2010.
- ↑ Black, Ian (9 June 2010). "UN approves new Iran sanctions". The Guardian.
- ↑ 3.0 3.1 Mozgovaya, Natasha (June 9, 2010). "Fact Sheet on new UN Security Council Sanctions on Iran". Haaretz.
- ↑ "Security Council imposes additional sanctions on Iran, voting 12 in favour to 2 against, with 1 abstention". United Nations. June 9, 2010.