ข้ามไปเนื้อหา

ขุนศึกเล็ก บูมเด็กเซึยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขุนศึกเล็ก บูมเด็กเซึยน
เกิดทิชากร ศรีพรมมา
(2005-06-06) มิถุนายน 6, 2005 (19 ปี)
ตำบลหนองกุงใหญ่ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
ชื่ออื่นขุนศึกเล็ก ยูฟ่าบูมเด็กเซียน
ส่วนสูง168 cm
รุ่นซูเปอร์ฟลายเวต
แบมตัมเวต
ช่วงระยะ161.5 cm
รูปแบบมวยไทย
(มวยฝีมือ)
ท่ายืนออร์โทด็อกซ์
มาจากจังหวัดขอนแก่น
ทีมบูมเด็กเซียน[1]
ช่วงปีป. 2014–ปัจจุบัน
สถิติมวยสากล
คะแนนรวม1
แพ้1
โดยการน็อก1
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม93
ชนะ83
แพ้7
โดยการน็อก1
เสมอ3
ข้อมูลอื่น
ญาติที่มีชื่อเสียงขุนศึกน้อย บูมเด็กเซึยน (น้องชายฝาแฝด)
สถิติมวยสากล จากบ็อกเรค

ขุนศึกเล็ก บูมเด็กเซึยน หรือมีชื่อจริงว่า ทิชากร ศรีพรมมา (ชื่อเล่น เฟิร์ส) เกิดเมือวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นนักมวยไทยชาวไทย เป็นพี่ชายฝาแฝดของขุนศึกน้อยซึ่งเป็นนักมวยเช่นกัน ได้รับนักมวยไทยดาวรุ่งยอดเยี่ยม ประจำ พ.ศ. 2565[2] ได้รับรางวัลนักมวยไทยยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2567 จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย (สื่อมวลชนเรียก ยอดมวย)

ขุนศึกเล็กเกิดที่ตำบลหนองกุงใหญ่ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เริ่มหหัดมวยจริงจังเมื่อตอนประมาณอายุ 9 ขวบ และเริ่มงตระเวนเดินสายชกมวยทั่วภาคอีสาน[3] โดยมีครูเล็กมวยไทยและครูโต้งมวยไทย เป็นครูมวยให้สมัยที่เริ่มขึ้นสังเวียนแรก ๆ หลังจากทั้งคู่ชกอยู่ภูธรประมาณ 20 กว่าครั้ง ครูโต้งได้นำขุนศึกเล็กและขุนศึกน้อยมาฝากให้บูมเด็กเซียนดูแล ขณะที่ทั้งคู่อายุ 12 ปี

หลังจากที่ต่อยมวยที่กรุงเทพ ได้ครองแชมป์ของเวทีราชดำเนิน แชมป์เวทีสยามอ้อมน้อย และแชมป์ประเทศไทยแล้ว[4] ยังมีสถิติไร้พ่าย 41 ไฟต์ (ไม่แพ้นาน 6 ปี) จนแพ้น็อกให้ริวกิ มาซึดะ ในการชกศึก RWS Japan ที่ทิปสตาร์ โดม จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[5] ทำให้เสียเข็มขัดรุ่นแบนตัมเวท เวทีราชดำเนิน จากนั้นเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ได้กลับมาชกกับริวกิ มาซึดะอีกครั้ง และได้กลับมาครองเป็นสมัยที่สอง รุ่น 118 ปอนด์ ของเวทีราชดำเนินอีกครั้ง[6]

เข็มขัดและรางวัล

[แก้]
  • สนามมวยอ้อมน้อย
    • แบนตัมเวท (118 ปอนด์) พ.ศ. 2565
  • สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย
    • มหกรรมมวยไทย ชิงแชมป์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565 รุ่น Super Flyweight (115 ปอนด์)
    • มหกรรมมวยไทย ชิงแชมป์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566 (118 ปอนด์) แชมป์ (ป้องกัน 1 ครั้ง)
  • เวทีราชดำเนิน
    • แบนตัมเวท (118 ปอนด์) (ป้องกัน 1 ครั้ง) พ.ศ. 2567
    • แบนตัมเวท (118 ปอนด์) (ป้องกัน 1 ครั้ง) พ.ศ. 2567

รางวัล

  • นักมวยไทยดาวรุ่งยอดเยี่ยม ประจำ พ.ศ. 2565 จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย[7]
  • นักมวยไทยยอดเยี่ยมประจำ พ.ศ. 2567 จากการกีฬาแห่งประเทศไทย[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Trefeu, Serge (30 March 2023). "Boomdeksien Gym - Siamfightmag". siamfightmag.com. สืบค้นเมื่อ 26 May 2023.
  2. ""ขุนศึกเล็ก" คว้ารางวัลนักมวยไทยดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำปี 2565". ช่อง 7.
  3. "เป้าหมายที่เดิมพันด้วยชีวิตของสองนักมวยมืออาชีพ 'ขุนศึกเล็ก บูมเด็กเซียน' และ 'มารี เดส์ ลีส ไฮนซ์'". L'Officiel Thailand.
  4. "'ขุนศึกเล็ก'ป้องกันแชมป์ราชดำเนินกับ'เพชรสยาม' ใครคือยอดมวยยุค'นิวเจน'"". ไทยโพสต์.
  5. "ริวกิ มาซึดะ ไล่น็อก ขุนศึกเล็ก บูมเด็กเซียน หยุดสถิติไร้พ่าย 41 ไฟต์". มติชน.
  6. "แลกกันเดือด 5 ยก! "ขุนศึกเล็ก" เฮแต้ม "มัตสึดะ" ทวงแชมป์ราชดำเนินคืนสำเร็จ". สนุก.คอม.
  7. ""ฉลามดำ"คว้านักมวยไทยแห่งปีวันนักกีฬายอดเยี่ยมปี2565". siamsport.co.th. 14 April 2023. สืบค้นเมื่อ 14 April 2023.
  8. "'พาณิภัค-กุลวุฒิ-สมเกียรติ-อาฒยา' คว้ารางวัลยอดเยี่ยม วันกีฬาแห่งชาติ 2567". thestandard.co. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024.