ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน)
ตันเซียวเชอะ หรือ เซียวเซอะ ทองตัน ผู้เป็นต้นตระกูลทองตัน เกิดที่ตำบลน่ำฮั้ว มณฑลฮกเกี้ยน จีนแผ่นดินใหญ่ เกิดปีฉลู เกิดราว ๆ ปี พ.ศ. 2408 เดินทางมาภูเก็ตตั้งแต่อายุราว 11 ปี ในปี พ.ศ. 2419 [1]
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากรัชกาลที่ 6 เป็น “ขุนชนานิเทศ” มีตำแหน่งทางราชการเป็นกำนันตำบลทุ่งคา เมืองภูเก็ต และได้ขอตั้งนามสกุล “ทองตัน” เมื่อปี พ.ศ. 2458 ขณะดำรงตำแหน่ง กำนัน สังกัดกระทรวงมหาดไทย[2]
ขุนชนานิเทศถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2471 สิริอายุ 63 ปี (ส่วนปี พ.ศ. 2469 พบหลักฐานว่าเป็นปีที่ทำพินัยกรรม ไม่ใช่ปีที่มรณะ)
การงาน
[แก้]เปิดร้านขายของชำบนถนนถลาง ชื่อร้าน “สุ่ยหิ้นจั่ง” เป็นตึกสไตล์ชิโน-โปรตุกีส (ปัจจุบันได้มีการบูรณะทำเป็นเกสท์เฮาส์ “ถลาง เกสท์เฮ้าส์”)[3] และการค้าส่งออกหอม กระเทียม พริกไทย ระหว่างภูเก็ต ตรังและปีนัง
ในปี พ.ศ. 2458 ได้สร้างบ้านสองชั้นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังคามุมกระเบื้องดินเผา ต่อมาจึงสร้างอาคารด้านหลังเพิ่มเติม ซึ่งกลายเป็น “บ้านทองตัน”[4] ในเวลาต่อมา อยู่ตรงหัวมุมถนนดีบุกกับถนนเทพกระษัตรี (ถูกจัดเป็นหนึ่งในอังมอเหลา[a] จังหวัดภูเก็ต ที่มีสถาปัตยกรรมแนวยุโรป) [5]
จากนั้นก็เริ่มทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ที่เหมืองป้อซ่าง (บริเวณถนนเจ้าฟ้า ตรงกันข้ามกับโรงเรียนดาวรุ่งวิทยา ในปัจจุบัน) และกิจการห้องเช่า ห้องแถว แถวบางเหนียว ถนนภูเก็ต แถวน้ำ แถวถนนรัษฎา และถนนถลาง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 300 หลัง
นอกจากนี้ยังได้สร้างโรงอุปรากรจีน (โรงงิ้ว หรือโรงละคร) ซึ่งต่อมาได้พัฒนากิจการเป็น “โรงภาพยนตร์เฉลิมตัน” เมื่อปี พ.ศ. 2472[6] พบบางหลักฐาน เช่น บัตรสมนาคุณ สะกดว่า "เฉลิมตันติ"[7] แต่อ่านว่า "เฉลิมตัน" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "โรงภาพยนตร์สยาม" เมื่อปี พ.ศ. 2517[8] และได้เลิกกิจการไปแล้ว คาดว่าเลิกกิจการประมาณปี พ.ศ. 2522[9] ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสถานออกกำลังกาย
ยศ/บรรดาศักดิ์
[แก้]ตันเซียวเชอะ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากรัชกาลที่ 6 เป็น “ขุนชนานิเทศ” มีตำแหน่งทางราชการเป็นกำนันตำบลทุ่งคา เมืองภูเก็ต (หรือที่ตั้งย่านเมืองเก่าภูเก็ตในปัจจุบัน)[5] เนื่องจากได้สร้างสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ได้แก่
- สร้าง ศาลเจ้าเจ่งอ๋อง ราวๆปี พ.ศ. 2430-2450 อยู่บนถนนเยาวราช ตำบลตลาดใหญ่ ต่อมาตระกูลทองตันได้ขายที่ดินดังกล่าวพร้อมศาลต่อให้ตระกูลบุญสูง[10]
- บริจาคที่ดินสร้าง ศาลเจ้าเทียนเต็กต๋อง หรือ เทียนเต๋อถัง หรือ ศาลเจ้าแม่กวนอิมพระโพธิสัตว์ ราวๆปี พ.ศ. 2430-2458 อยู่บนหัวถนนบางกอก (ใกล้วงเวียนสุริยเดช)
- ถวายเงินสำหรับซื้อเครื่องบิน บำรุงกองทัพบกสยาม พ.ศ. 2458[11]
- บริจาคที่ดินสร้าง โรงเรียนส่องเต็ก พ.ศ. 2461 บนถนนดีบุก[12] ต่อมากลายเป็น โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา
- บริจาคที่ดินสร้าง ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง อยู่ต้นซอยตลิ่งชัน พ.ศ. 2468 ร่วมกับหลวงอร่ามสาครเขตร์ ซึ่งเป็นการย้ายครั้งที่ 3 แทนศาลเดิม “ศาลเจ้าจอซู้ก๋งอ่ำ” [13] ซึ่งภายในศาลก็มีรูปของขุนชนานิเทศ วางไว้อยู่ตรงกลาง (กรอบที่ใหญ่ที่สุด) ชิดผนัง ท่ามกลางบุคคลสำคัญต่าง ๆ[14]
- เป็นผู้สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต[15]
- อุปถัมภ์กิจการทางศาสนาวัดมงคลนิมิตร [15]
การสมรส และครอบครัว
[แก้]ขุนชนานิเทศ มีภรรยา 2 คน ได้แก่
ภรรยาคนแรกเป็นคนไทย ชื่อ นางนุ้ย แซ่อึ๋ง เป็นชาวจังหวัดตรัง มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นชายทั้งหมด ได้แก่
- ตันเฉ่งห้อ (หรือ หลวงชนาทรนิเทศ[b]) (เกิดปี พ.ศ. 2435 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2497) มีภรรยา 2 คน
- นางฉ้ายหวัน แซ่อู๋ (ใจหวาน ทองตัน) เป็นคนจีนชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ มีบุตรธิดารวม 13 คน (บุตร 7 ธิดา 6) ได้แก่
- นายล่องเต็ก ทองตัน
- นายล่องจิ้น ทองตัน
- นางกุ้ยปี้ โสดาบรรลุ (ถึงแก่กรรม)
- นายล่องเล้ ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นางกุ้ยหัว กำลัง
- นายเกียรติ (ล่องตี่) ทองตัน
- นายศิลป (ล่องสิ่น) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นางจู้ ไกรทัศน์ (กุ้ยจู้ ทองตัน)
- นางกุ้ยหา ทองตัน
- นายล่องเหียน ทองตัน
- นางกุ้ยจี่ ทองตัน
- นางสาวกุ้ยเจ้ง ทองตัน
- นายล่องเปียว ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นางละมุน เป็นคนไทย มีบุตรธิดารวม 5 คน ได้แก่
- นายไทย ทองตัน
- นายสำราญ ทองตัน
- นายทวี ทองตัน
- นายกิตติ ทองตัน
- นางสาวรำลึก ทองตัน
- นางฉ้ายหวัน แซ่อู๋ (ใจหวาน ทองตัน) เป็นคนจีนชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ มีบุตรธิดารวม 13 คน (บุตร 7 ธิดา 6) ได้แก่
- ตันเฉ่งกาง ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ปีนัง จึงไม่พบประวัติ (ถึงแก่กรรมก่อนขุนชนานิเทศ) สมรสกับ นางกิ่มหลวน มีบุตรธิดารวม 5 คน ได้แก่
- นางลู้ห่อ ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นางลู้เล่ง ทองตัน
- นางลู่ซา อ๋องสกุล
- นางลู้สี่ เอี๋ยวพานทอง
- นายเอก (ล่องเอก) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- ตันเฉ่งเกียด (หรือ ขุนตันติวณิชกรรม[c]) (เกิดราวๆปี พ.ศ. 2439-2444 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2484) สมรสกับ นางซุ่ยโถ แซ่อ๋อง (ปรางทอง ทองตัน) มีบุตรธิดารวม 15 คน (บุตร 9 ธิดา 6) ได้แก่
- นางอุดมลักษณ์ งานทวี (กุ้ยหยก ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
- นายเฉลิม (ล่องซี) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นางทัศนีย์ งานทวี (กุ้ยเพ็ก ทองตัน)
- นางสุรภี สฤษดิพันธุ์ (กุ้ยสิ้น ทองตัน)
- นายกิตติ (ล่องกี่) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นางดุสิดา กีรติสุทธิโสภณ (กุ้ยอิ่น ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
- นางสาวสะอาดศรี ทองตัน (กุ้ยปี่ ทองตัน)
- นายธนา (ล่องอิ้ว) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นางมณีรัตน์ พงษ์นริศร (กุ้ยหุน ทองตัน)
- นายธาตรี (ล่องหม่อ) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นายธนกิจ (ล่องเสียง) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นายธีระ (ล่องต๊าด) ทองตัน
- นายสมศักดิ์ (ล่องเก้ง) ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
- นายสุทัศน์ (ล่องแอ๋ง) ทองตัน
- นายธนิต (ล่องปิ้น) ทองตัน
ภรรยาคนที่ 2 ของขุนชนานิเทศ ไม่มีบุตรด้วยกัน
นอกจากนี้ขุนชนานิเทศยังมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน เป็นผู้หญิง[16]
สุสาน
[แก้]สุสานที่ฝังศพของขุนชนานิเทศ อยู่ที่สุสานควนลิ้มซ้าน (ชื่อทางการ: ควนหงิมสั้น) ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จ.ภูเก็ต ถือเป็นสุสานต้นตระกูลทองตัน และมีสุสานที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆกันได้แก่ ขุนตันติวณิชกรรม (พ่อของ เฉลิม ทองตัน) และ หลวงชนาทรนิเทศ ตามลำดับ
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ อังมอเหลา ในเมืองภูเก็ตมีรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกผสมจีน ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงสมัยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 6 บอกเล่าประวัติศาสตร์ของภูเก็ตและการก่อร่างสร้างตัวของชาวฮกเกี้ยนจนกลายเป็นคหบดีผู้ร่ำรวย ปัจจุบันในเมืองภูเก็ตมีอังมอเหลาหลงเหลืออยู่ประมาณ 20 กว่าหลัง
- ↑ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงชนาทรนิเทศ” จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ตำแหน่งกรมการเมืองพิเศษ ศักดินา 600 ในฐานะที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางด้านการศึกษาและช่วยเหลืองานราชการ
- ↑ นายเหมืองผู้ริเริ่มนำเอาเครื่องสูบน้ำมาใช้ในการทำเหมืองสูบในปี พ.ศ. 2469 และเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2481-2482
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ขุนชนานิเทศ (เซียวเชอะ ทองตัน)". www.phuketcity.info.
- ↑ หนังสือคำขอตั้งนามสกุล "ทองตัน" ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จ.ตรัง, สืบค้นเมื่อ มกราคม พ.ศ. 2560
- ↑ "ถูก สบาย สไตล์ "เกสท์เฮาส์" กลางเมืองภูเก็ต". ร้านอาหารภูเก็ต ที่พักภูเก็ต หางาน ภูเก็ต มะเร็งปากมดลูก อาหารเพื่อสุขภาพ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-10-15.
- ↑ "พาชม 7 อังมอเหลา คฤหาสน์เก่าของเถ้าแก่ภูเก็ต". SARAKADEE LITE (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 5.0 5.1 หนังสืออังมอเหลา บ้านเก่าเถ้าแก่ภูเก็ต โดยมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต, ISBN: 9786169367000, พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
- ↑ "ที่นี่ภูเก็ต - สี่แยกถนนเยาวราช ตัด ถนนดีบุก..." www.facebook.com.
- ↑ "บัตรสมนาคุณโรงหนังตันติเฉลิมตันตอนหลั... - Boonlert Sanprasert". www.facebook.com.
- ↑ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงภาพยนตร์สยามภูเก็ต". thaicorporates.com.
- ↑ ชื่นนิรันดร์, ณรงค์ (3 Oct 2022). "โรงหนังเฉลิมตัน..ในอดีต". Facebook หนึงถ้วยกาแฟ. สืบค้นเมื่อ 8 Oct 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ศาลเจ้าเจ่งอ๋อง สำนักองค์เทพเจ้าหม่าอู่หวาง". ภูเก็ต ไลฟ์ : คู่มือการท่องเที่ยว และ การอยู่อาศัย ใน จังหวัดภูเก็ต (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-09-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เล่ม 32 หน้า 2124-2130, https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1049288.pdf, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2565
- ↑ "พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว (Phuket Thai Hua Museum)". http://oknation.nationtv.tv.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
- ↑ "ไฟล์เล็ก-ทุ่งคา2ฉ6 - ดาวน์โหลดหนังสือ | 1-50 หน้า | AnyFlip". anyflip.com. หน้า24. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2565
- ↑ Thailand, Museum. "ศาลเจ้าจ้อซู้ก๋ง :: Museum Thailand". www.museumthailand.com.
- ↑ 15.0 15.1 "ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ - ดาวน์โหลดหนังสือ | 51-100 หน้า | PubHTML5". pubhtml5.com.
- ↑ “ตระกูล ทองตัน : ขุนชนานิเทศ และ หลวงชนาทรนิเทศ บรรพชนผู้สร้างเมืองภูเก็ต” จากหนังสือที่ระลึกการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ จังหวัดภูเก็ต 25-31 มีนาคม 2533