ขี้ไก่ย่าน
ขี้ไก่ย่าน | |
---|---|
![]() | |
Mikania micrantha | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Asterales |
วงศ์: | Asteraceae |
เผ่า: | Eupatorieae |
สกุล: | Mikania |
สปีชีส์: | M. micrantha |
ชื่อทวินาม | |
Mikania micrantha Kunth |
ขี้ไก่ย่าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mikania micrantha) เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง แสงส่องถึง และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินมาก สามารถปรับตัวได้แม้ว่าดินจะมีความอุดมสมบูรณ์น้อย เมล็ดสามารถกระจายได้ไกลโดยอาศัยลม ในการออกดอกหนึ่งครั้งสามารถผลิตเมล็ดได้จำนวนมากกว่า 20,000 - 40,000 เมล็ดโดยประมาณ[1]
ประวัติ
[แก้]ขี้ไก่ย่าน มีถิ่นกำเนิดทางอเมริกาใต้ ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าได้แพร่ระบาดเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด [2]
ลักษณะ
[แก้]- ต้น ไม้ล้มลุกเลื้อย ลำต้นสูง 7 ม. มีขน เกลี้ยง หรือมีขนนุ่มเล็กน้อย
- ใบ จะออกตรงข้ามกัน รูปไข่แกมสามเหลี่ยม กว้าง 1.5-6 ซ.ม. ยาว 3-10 ซ.ม. ตรงปลาย ใบจะแหลมเรียว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจัก เป็นซี่ฟันหยาบๆ ผิวเกลี้ยง
- ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นกระจุก ริ้วประดับ บาง ค่อนข้างจะโปร่งใส กลีบดอกสีขาว แกมเขียว ยาว 4-5 มม. โคนเชื่อมติดกัน ตรงปลายแยกออกเป็น 5 แฉก อับเรณูสี เทาอมน้ำเงินอ่อน หรือสีดำอมเทา ท่อเกสร ตัวเมียสีขาว
- ผล ถ้าแห้ง จะมีสีน้ำตาลเข้ม มีต่อมระยางค์แข็งจำนวนมากยาว 3-4 มม. ผลอ่อนสีขาว ถ้าแห้งเป็นสีแดง[3]
การรุกราน
[แก้]สถานการณ์การรุกรานในไทย
[แก้]ขี้ไก่ย่านเป็นวัชพืชประเภทใบกว้างอายุหลายปี ลำต้นเป็นเถายาวเลื้อยคลุมพันธุ์ไม้อื่น พบขึ้นทั่วไปในสภาพดินชื้น แพร่กระจายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รกร้างว่างเปล่า ลักษณะของความเสียหาย แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำ กับพืชปลูกและปกคลุมไม้ต้นหรือไม้พุ่มจนขาดแสงแดดและตายไป พบขี้ไก่ย่านได้ทั่วประเทศ ยังไม่มีการระบาดรุนแรง แต่พบมีการระบาดเล็กน้อย ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้[2]
สถานการณ์การรุกรานในต่างประเทศ
[แก้]ขี้ไก่ย่าน เป็นวัชพืชที่แพร่กระจายในเขตร้อน เติบโตอย่างรวดเร็ว และปกคลุมพืชชนิดอื่นๆ ในประเทศเนปาล ขี้ไก่ย่านบุกรุกเข้าไปในอุทยานแห่งชาติชิดวัน( Chitwan National Park) โดยขี้ไก่ย่านปกคลุมมากกว่า 20% ของพื้นที่อุทยาน ทำให้เกิดปัญหาต่อพืชชนิดอื่นในพื้นที่[1]มีการต่อต้านการแพร่กระจายของขี้ไก่ย่านในหลายๆประเทศ โดยการใช้ herbicides 2,4-D 2,4,5-T และ paraquat นอกจากนี้ยังมีการใช้ศัตรูตามธรรมชาติของขี้ไก่ย่านในรัฐอัสสัมและศรีลังกา เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของขี้ไก่ย่าน
สาเหตุที่ถูกจัดเป็นสายพันธุ์รุกรานร้ายแรง
[แก้]เนื่องจากย่านขี้ไก่มักการแพร่กระจายพบขึ้นทั่วไปในสภาพดินชื้น และยังขึ้นเลื้อยคลุมพรรณไม้อื่นทำให้ไม้ได้รับผลกระทบจากการ ขาดแสงสว่างในการสังเคราะห์ด้วยแสง [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Mikania micrantha". Wikipedia. Mikania micrantha. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "ขี้ไก่ย่าน". สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ และสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=212. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)