ขัณโฑพา
ขัณโฑพา | |
---|---|
ขัณโฑพาและมหาฬสาปราบอสูรมนิ-มัลละ ภาพโอลีโอกราฟสมัยนิยม ปี 1880 | |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Khaṇḍobā खण्डोबा |
ชื่อในเทวนาครี | खण्डोबा |
ส่วนเกี่ยวข้อง | อวตารของพระศิวะ |
ที่ประทับ | เชชุรี |
มนตร์ | Om Shri Martanda Bhairavaya Namah |
อาวุธ | ตริศูล, ดาบ |
พาหนะ | ม้า |
คู่ครอง | มหาฬสา, พานาอี (คู่ครองหลัก); รามภาอี, ฝุลาอี และ จัณฑาอี |
ขัณโฑพา (IAST: Khaṇḍobā) เป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดูที่นิยมบูชาในฐานะอวตารของพระศิวะ โดยเฉพาะในแถบเดกกันและในรัฐมหาราษฏระ รวมถึงเป็นกุลเทวดา (เทพเจ้าประจำตระกูล) ที่นิยมมากที่สุดในมหาราษฏระ[1] มักปรากฏบูชาในรูปลึงคะ หรือในรูปของนักรบขี่ม้าหรือกระทิง ศูนย์กลางสำคัญของการบูชาขัณโฑพาอยู่ที่มนเทียรขัณโฑพาแห่งเชชุรีในรัฐมหาราษฏระ เรื่องราวของขัณโฑพรปรากฏตามดนตรีพื้นถิ่น และมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับชัยชนะเหนืออสูรมนิ-มัลละ และการสมรสของตน
คู่ครอง
[แก้]ภรรยาหลักสององค์ของพระขัณโฑพามาจากคนละชุมชนกัน และเป็นดั่งสายสัมพันธ์ระหว่างเทพเจ้ากับชุมชนต่าง ๆ โดยมี มหาฬสา และ พานาอี ที่มีความสำคัญที่สุด[2] มหาฬสาเป็นภรรยาแรก และมีที่มาจากชุมชนพ่อค้าลึงคายัต ส่วนพานาอี มีที่มาจากวรรณะธางครหรือผู้เลี้ยงแกะ มหาฬสาได้ประกอบพิธีวิวาห์ตามธรรมเนียมกับขัณโฑพา ส่วนพานาอีไม่ได้มีพิธีกรรม มีการบรรยายไว้ว่ามหาฬสามีลักษณะเป็นคนครัวที่ดีและขี้อิจฉา ส่วนพานาอีมีลักษณะเด็ดเดี่ยวและกระตุ้นเพศ (erotic) แต่ทำอาหารไม่เป็น เพลงพื้นถิ่นมักกล่าวถึงการทะเลาะกันของทั้งสอง มหาฬสาเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม ในขณะที่พานาอีเป็นตัวแทนของธรรมชาติ และขัณโฑพาอยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสอง[3]
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Burman, J. J. Roy (Apr 14–20, 2001). "Shivaji's Myth and Maharashtra's Syncretic Traditions". Economic and Political Weekly. 36 (14/15): 1226–1234. JSTOR 4410485.
- Gupta, Shakti M. (1988). Karttikeya: The Son of Shiva. Bombay: Somaiya Publications Pvt. Ltd. ISBN 81-7039-186-5.
- Mate, M. S. (1988). Temples and Legends of Maharashtra. Bombay: Bharatiya Vidya Bhavan.
- Singh, Kumar Suresh; B. V. Bhanu (2004). People of India. Anthropological Survey of India. ISBN 978-81-7991-101-3.
- Sontheimer, Günther-Dietz (1989). "Between Ghost and God: Folk Deity of the Deccan". ใน Alf Hiltebeitel (บ.ก.). Criminal Gods and Demon Devotees: Essays on the Guardians of Popular Hinduism. SUNY Press. ISBN 0-88706-981-9.
- Sontheimer, Günther-Dietz (1990). "God as King for All: The Sanskrit Malhari Mahatmya and its context". ใน Hans Bakker (บ.ก.). The History of Sacred Places in India as Reflected in Traditional Literature. BRILL. ISBN 90-04-09318-4.
- Sontheimer, Günther-Dietz (1996). "All the God's wives". ใน Anne Feldhaus (บ.ก.). Images of Women in Maharashtrian Literature and Religion. SUNY Press. ISBN 0-7914-2837-0.
- Stanley, John M. (Nov 1977). "Special Time, Special Power: The Fluidity of Power in a Popular Hindu Festival". The Journal of Asian Studies. Association for Asian Studies. 37 (1): 27–43. doi:10.2307/2053326. JSTOR 2053326.
- Stanley, John. M. (1988). "Gods, Ghosts and Possession". ใน Eleanor Zelliot, Maxine Berntsen (บ.ก.). The Experience of Hinduism.
- Stanley, John. M. (1989). "The Captulation of Mani: A Conversion Myth in the Cult of Khandoba". ใน Alf Hiltebeitel (บ.ก.). Criminal Gods and Demon Devotees: Essays on the Guardians of Popular Hinduism. SUNY Press. ISBN 0-88706-981-9.
- Underhill, Muriel Marion (1991). The Hindu Religious Year. Asian Educational Services. ISBN 81-206-0523-3.