ขบวนการ 969
ขบวนการ 969 | |
---|---|
၉၆၉ လှုပ်ရှားမှု | |
ผู้ก่อตั้ง | อะชีนวีระตู |
ประเทศ | ประเทศพม่า |
แนวคิด | อาการกลัวอิสลาม ชาตินิยมพุทธ |
ขบวนการ 969 (อังกฤษ: 969 Movement; พม่า: ၉၆၉ လှုပ်ရှားမှု) เป็นขบวนการชาตินิยมพุทธ[1]ที่ต่อต้านในสิ่งที่เห็นว่าเป็นการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามในประเทศพม่าที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ[2][3] เลข 969 "เป็นสัญลักษณ์คุณธรรมของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนา และชุมชนชาวพุทธ"[1][2][4] โดยเลข 9 หมายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า 9 ประการ เลข 6 แสดงคุณลักษณะ 6 ประการของพระธรรม และเลข 9 ตัวสุดท้าย แสดงถึงคุณลักษณะของพระสงฆ์ 9 ประการ ในอดีต พระรัตนตรัยและธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของชาวพุทธ และกลายเป็นตัวเลข "969" ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่ง[5]
ขบวนการนี้มีปฏิกิริยาที่รุนแรงทั้งภายใน[6] และภายนอกประเทศพม่า ในสื่อนานาชาติต่างวิจารณ์สิ่งนี้ โดย เดอะสเตรตไทมส์ รายงานว่า พระวีระทู หัวหน้าขบวนการ มีส่วนรับผิดชอบต่อความรุนแรงต่อต้านมุสลิม แม้จะปฏิญาณว่าจะทำงานเพื่อสันติภาพ แต่ยังมีผู้ติเตียนด้วยความสงสัย[7]
องค์การสื่อหลายแห่งกล่าวถึงขบวนการนี้ว่าเป็นกลุ่มต่อต้านมุสลิมหรือ "หวาดกลัวอิสลาม"[8][9][10][11] ผู้สนับสนุนขบวนการนี้เป็นชาวพุทธปฏิเสธว่ากลุ่มนี้ไม่ได้ต่อต้านอิสลาม ภิกษุวีระทูกล่าวว่าเป็นขบวนการปกป้องที่มีเป้าหมายที่ "ชาวเบงกอลที่ก่อการร้ายต่อชาวยะไข่ (ชาวพุทธ)"[12] อเล็กซ์ บุกบินเดอร์ได้กล่าวใน ดิแอตแลนติก เชื่อมโยงจุดเริ่มต้นของขบวนการนี้กับหนังสือที่เขียนในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยอู จอ ลวิน ผู้ทำงานในกระทรวงกิจการศาสนา และหลักธรรมที่ยึดถือตามความเชื่อดั้งเดิมในวิทยาตัวเลข บริเวณทั่วเอเชียใต้ มุสลิมใช้คำว่า "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ" ด้วยตัวเลข 786 และธุรกิจต่าง ๆ แสดงตัวเลขนี้เพื่อระบุว่าเป็นธุรกิจของชาวมุสลิม ขบวนการนี้มองว่ามุสลิมมีแผนรุกรานพม่าในศตวรรษที่ 21 โดยอิงจากหลักการที่ว่า 7 บวก 8 บวก 6 เท่ากับ 21 (สิ่งนี้ละเว้นข้อเท็จจริงว่าในปฏิทินอิสลามยังไม่ถึงฮิจเราะห์ศตวรรษที่ 21 อีก และต้องรออีกกว่า 6 ศตวรรษ) ตัวเลข 969 ตั้งใจเป็นขั้วตรงข้ามทางจักรวาลวิทยาของ 786[1]
วีระทู
[แก้]วีระทูถือเป็นผู้นำสูงสุดของขบวนการ เขาสนับสนุนให้คว่ำบาตรร้านค้าของมุสลิม[13][14][15] เขากล่าวว่าการประณามขบวนการ 969 ในเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555 ไม่เป็นธรรม และยืนยันว่า "ขบวนการนี้ไม่ได้เน้นความรุนแรง"[4] เอเชียไทมส์ออนไลน์ ได้กล่าวถึงเขาว่ามี "ภาพลักษณ์ที่ซับซ้อน" โดยให้ภาพมุสลิมเป็นมารiร้าย แต่ก็ประณามตำรวจที่ใช้ความรุนแรง[3] บทความในเดอะสเตรตไทม์กล่าวว่ามีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าวีระทูได้เปลี่ยนน้ำเสียงและ "สนับสนุนสันติภาพระหว่างศาสนา"[16]
นิตยสารไทม์ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง ภาพของการก่อการร้ายชาวพุทธ เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556[17] วีระทูกล่าวถึงมุสลิมว่า "คุณอาจเต็มไปด้วยความเมตตาและความรัก แต่คุณไม่สามารถนอนข้างสุนัขบ้าได้" เขากล่าวอีกว่า "ถ้าเราอ่อนแอ ดินแดนของเราจะกลายเป็นมุสลิม"[2] ดร. Yan Myo Thein นักวิเคราะห์การเมือง กล่าวว่า "บางคนเข้าใจผิดกับชื่อเรื่อง [ของบทความ ไทม์] ... มองว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนา พวกเขาเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นการเทียบเคียงศาสนาพุทธเข้ากับการก่อการร้าย"[18] หลังการตีพิมพ์ พระวีระทูปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการต่อต้านมุสลิมด้วยความรุนแรง[19] และจากนั้นไม่นาน ไทม์ฉบับนี้ถูกคว่ำบาตรในพม่า[20]
รัฐบาลพม่าคัดค้านบทความในนิตยสารดังกล่าว โดยทางการปฏิเสธว่าไม่ได้ปกป้องพระวีระทู แต่ระบุความกังวลว่าบทความดังกล่าวอาจก่อให้เกิดปัญหาหลังเกิดความไม่สงบระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม เต้นเซน ประธานาธิบดีพม่า ได้ออกมาปกป้องพระวีระทู และคว่ำบาตรเพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านจากพระสงฆ์ที่ต่อต้านอิสลาม ป้องกันไม่ให้บทความนี้สร้างปัญหาระหว่างชาวพุทธและมุสลิม[21] วีระทูกล่าวว่าบทความนี้ไม่ได้ต่อต้านชาวพุทธแต่ต่อต้านเขาโดยตรง เขาได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร ดิอิรวดี ว่ากลุ่มพันธมิตรอิสลามอยู่เบื้องหลังบทความเพื่อวางแผนขยายญิฮาดเข้าสู่พม่า[22]
มีผู้ประท้วงหลายร้อยคนบนถนนในกรุงย่างกุ้งเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เพื่อต่อต้านบทความในนิตยสารไทม์เกี่ยวพระวีระทูและขบวนการ 969 พระสงฆ์ได้ออกมาปกป้องพระวีระทูว่า "ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายแต่เป็นผู้ปกป้องเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา" ผู้ประท้วงคนหนึ่งที่เป็นผู้จัดการสำนักงานอายุ 51 ปี กล่าวแก่ Mizzima News ว่า "นิตยสารไทม์นั้นผิด ท่าน [วีระทู] รักสันติ พระสงฆ์ทุกรูปเป็นผู้สร้างสันติ ศาสนาพุทธต้องการความเป็นพี่น้องกับทุกคน"[23]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 พระวีระทูได้ไปเข้าร่วมการประชุมใหญ่พระสงฆ์ในโคลัมโบ จัดโดยโพทุ พาลา เสนา ซึ่งเขากล่าวว่าขบวนการ 969 จะร่วมงานกับโพทุ พาลา เสนา[24]
สิ่งที่ริเริ่ม
[แก้]ขบวนการนี้พยายามร่างกฎหมายที่จะห้ามหญิงชาวพุทธแต่งงานกับแต่งงานกับชายที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น[25] ธรรมปิยะ พระผู้ใหญ่ที่ช่วยร่างกฎหมายนี้ต้องการให้เกิดสันติภาพระหว่างศรัทธาที่ต่างกันและ"ปกป้อง"หญิงชาวพุทธจากการถูกบังคับให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามเมื่อแต่งงานกับชายมุสลิม หน่วยงานของรัฐบาลที่ควบคุมศาสนาซึ่งสนับสนุนการปกป้องศาสนาพุทธจากการขยายตัวของศาสนาอิสลาม ปฏิเสธร่างกฎหมายนี้และ"ขัดขวางการจัดตั้งองค์กรที่เป็นทางการ"ตามหลักการของขบวนการ 969[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "969: The Strange Numerological Basis for Burma's Religious Violence - Alex Bookbinder". The Atlantic. 9 April 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Extremism builds among Myanmar's Buddhists | Seattle Times Newspaper". Seattletimes.com. 21 June 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ 3.0 3.1 Matthew J Walton (2 April 2013). "Buddhism turns violent in Myanmar". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2013.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "Root Out the Source of Meikhtila Unrest". Irrawaddy.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ "Nationalist Monk U Wirathu Denies Role in Anti-Muslim Unrest". Irrawaddy.org. 2 April 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ "Monks speak out against misuse of '969'". Mmtimes.com. 10 April 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ Nirmal Ghosh (1 April 2013). "Anti-Muslim monk changes tack, vows to promote peace". The Straits Times.
- ↑ Downs, Ray (27 March 2013). "Is Burma's Anti-Muslim Violence Led by Buddhist Neo-Nazis ?". Vice.com. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ Sardina, Carlos (10 พฤษภาคม 2013). "Who are the monks behind Burma's '969' campaign? | DVB Multimedia Group". Dvb.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2013.
- ↑ Lindsay Murdoch (15 April 2013). "Anti-Muslim movement hits Myanmar". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ "Myanmar's extremist Buddhists get free rein". Nation.com.pk. 10 เมษายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Religious radicals driving "Myanmar's" unrest". Global Post. 31 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2013.
- ↑ Hodal, Kate; Khalili, Mustafa; Salfield, Alice (16 April 2013). "Burma's Bin Laden, the Buddhist monk who fuels hatred - video | World news". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ "Fanatical Buddhist Monk Saydaw Wirathu Calling for Boycott of Myanmar Muslims [VIDEO] - IBTimes UK". International Business Times.co.uk. 26 March 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ "The 'Burmese bin Laden' fomenting violence against Myanmar's Muslims | The National". Thenational.ae. 29 March 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ Ghosh, Nirmal. "Outspoken anti-Muslim monk pledges to promote peace in Myanmar". Straitstimes.com. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ Beech, Hannah (1 July 2013). "The Buddhist Monks Advocating Intolerance in Asia". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ "Extremist Myanmar monk lashes out at Time after being called Buddhism's 'face of terror' - The Washington Post". The Washington Post. 21 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2013.
- ↑ "Myanmar Monk Rejects Terrorist Label Following Communal Clashes". Rfa.org. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ Williams, Alex (28 June 2013). "Myanmar bans TIME Magazine over 'Buddhist Terror' cover story (video)". Inside Investor. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
- ↑ "BBC News - Burmese leader defends 'anti Muslim' monk Ashin Wirathu". BBC. 24 June 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ Daniel Schearf (24 June 2013). "Burma Objects to Time Magazine Criticism". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ "Buddhist monks lead protest against TIME article". 9 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2013.
- ↑ "Ashin Wirathu Thera of Myanmar to work with BBS". Daily Mirror (Sri Lanka). 28 September 2014.
- ↑ "Buddhism v Islam in Asia: Fears of a new religious strife". The Economist. 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- ↑ Jared Ferrie and Min Zayar Oo (11 September 2013). "Myanmar Buddhist committee bans anti-Muslim organizations". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 October 2013.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- d'Elena, Grisel (1 April 2016). The Gender Problem of Buddhist Nationalism in Myanmar: The 969 Movement and Theravada Nuns (วิทยานิพนธ์). doi:10.25148/etd.FIDC000261.
- Zhang, Yifan (2015). Buddhist nationalistic movements in Myanmar: a case study on the 969 (วิทยานิพนธ์). hdl:123456789/51122.
- Zhang, Yifan (2016). "A comparative study of Buddhist nationalistic movements in Myanmar and Sri Lanka: A case study on the 969 movement in Myanmar and the Bodu Bala Sena in Sri Lanka". วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 16 (2): 237–256.
- van Klinken, Gerry; Aung, Su Mon Thazin (27 May 2017). "The Contentious Politics of Anti-Muslim Scapegoating in Myanmar". Journal of Contemporary Asia. 47 (3): 353–375. doi:10.1080/00472336.2017.1293133. S2CID 151452780.
- Kyaw, San Wai (2014). Myanmar's religious violence: a buddhist 'siege mentality' at work (วิทยานิพนธ์). hdl:10220/19906.
- Coclanis, Peter A. (2013). "TERROR IN BURMA: Buddhists vs. Muslims". World Affairs. 176 (4): 25–33. JSTOR 43554876.
- Sohel, Salman (November 2017). "The Rohingya Crisis in Myanmar: Origin and Emergence" (PDF). Saudi Journal of Humanities and Social Sciences. 2 (11A): 1007–1018. SSRN 3307082.