ข้ามไปเนื้อหา

ขนมหนวดมังกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขนมหนวดมังกร
การทำขนมหนวดมังกร
ชื่ออื่นขนมไหมฟ้า
ขนมสายไหมจีน
มื้อขนม, ขนมสำหรับงานมงคล, อาหารข้างถนน
แหล่งกำเนิดจีน
ส่วนผสมหลักแป้งข้าวเจ้า, แป้งข้าวโพด, แป้งข้าวเหนียว, ถั่วลิสง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์
พลังงาน
(ต่อ หน่วยบริโภค)
141.2 (ในปริมาณ 37 กรัม[1]กิโลแคลอรี

ขนมหนวดมังกร หรือ ขนมไหมฟ้า หรือ ขนมสายไหมจีน (อังกฤษ: Dragon's beard candy, Chinese cotton candy, Cocoon candy; อักษรจีนตัวเต็ม: 龍鬚糖, 龙须糖; พินอิน: Lóng xū táng; อักษรจีนตัวย่อ: 銀絲糖, 銀絲糖; พินอิน: Yín sī táng) เป็นขนมแบบดั้งเดิมของชาวจีน พบได้ตามแถบชุมชนจีน และได้แพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออก เช่น มาเก๊า, สิงคโปร์, แคนาดา, สหรัฐอเมริกา, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น ในเกาหลีถือเป็นขนมหวานที่มีค่ายิ่งในราชสำนัก

ขนมหนวดมังกร

ขนมหนวดมังกร มีที่มาตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว กล่าวกันว่า พ่อครัวคนหนึ่งซึ่งเพลินเพลินในการทำขนมแบบใหม่กับพระจักรพรรดิ์ ด้วยการยืดส่วนผสมแบบแป้งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ซึ่งแลดูคล้ายกับหนวดหรือเคราที่สามารถติดอยู่กับใบหน้าผู้คน การที่ได้ชื่อว่า "หนวดมังกร" อาจเป็นเพราะมังกรเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิ์ ในสมัยโบราณ ขนมหนวดมังกรถือเป็นของที่ทำเพื่อถวายแด่พระจักรพรรดิ์และชนชั้นสูงในราชสำนักเท่านั้น[2] [3]ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ขนมหนวดมังกรถูกห้ามจากยุวชนแดง ตามคำสั่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ห้ามประชาชนประกอบกิจกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ฮั่น การทำขนมหนวดมังกรถือเป็นศิลปะละเอียดอ่อนอย่างหนึ่ง จึงทำให้หาผู้สืบทอดได้ยาก อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เทศกาลตามถนนสายต่าง ๆ และแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ไกลถึงจุดหมายปลายทางของผู้เชี่ยวชาญ[4]

เส้นขนมหนวดมังกร คล้ายกับสายไหม โดยทำจากน้ำผึ้งกวนกับแป้งข้าวเจ้า, แป้งข้าวโพด, แป้งข้าวเหนียว และข้าวโอ๊ต จากนั้นจึงนำมาดึงเหมือนเส้นบะหมี่ จนยืดยาวเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนหลายร้อยเส้น และนำมาคลุกกับไส้ซึ่งเป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์, ถั่วลิสง และงาขาว จากนั้นจึงปั้นเป็นก้อนกลม ลักษณะคล้ายดักแด้[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1] V'nut-Beyond Redemption. URL accessed on Feb 19, 2004.
  2. [2] เก็บถาวร 2021-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ng Yan Yan. URL accessed on April 14, 2009.
  3. [3] เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Chinese Dragon.org. URL accessed on December 2, 2010.
  4. [4] Wikipedia. URL accessed on November 10, 2011.
  5. [5] Jack. URL accessed on November 10, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]