กุหลาบน่าน
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กุหลาบน่าน | |
---|---|
กุหลาบน่าน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Asparagales |
วงศ์: | Orchidaceae |
วงศ์ย่อย: | Epidendroideae |
เผ่า: | Vandeae |
เผ่าย่อย: | Aeridinae |
Alliance: | Phalaenopsis |
สกุล: | Aerides |
สปีชีส์: | A. rosea |
ชื่อทวินาม | |
Aerides rosea Lodd. ex Lindl. & Paxton (1850) | |
ชื่อพ้อง | |
|
กุหลาบน่าน หรือในชื่อพื้นเมืองอื่น กุหลาบเอราวัณ หรือ กุหลาบไอยรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aerides rosea ,Lodd. ex Lindl. & Paxt.) เป็นประเภทกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางยอด
ลักษณะของกุหลาบน่านมีลำต้นตั้งตรง หรือเอนเล็กน้อย ยาว 20 – 70 เซนติเมตร ใบออกเรียงสลับในระนาบเดียว กว้าง 1.8–2 เซนติเมตร ยาว 12–20 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและพับเป็นร่อง ปลายใบมน ดอก ช่อดอกออกที่ซอกใบ บางครั้งแยกแขนงห้อยลง ยาว 15 – 20 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1.5–2 เซนติเมตร ยาว 2–2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงสีชมพู กลีบดอกสีชมพูและมีจุดกระสีชมพูเข้มหนาแน่นที่ปลายใบ กลีบปากแผ่กางออก และมีเดือย ปลายกลีบปากมีแถบปื้นสีชมพูเข้ม ออกดอกในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม[1]
- ↑ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เอื้องกุหลาบน่าน. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2566, จากhttps://arit.kpru.ac.th/ap/local-1/?nu=pages&page_id=534&code_db=DB0013&code_type=F006