กุกุรติหาร
กุกุรติหาร | |
---|---|
![]() สุนับประดับด้วยพวงมาลัยในเทศกาลกุกุรติหาร | |
ชื่อทางการ | कुकुर तिहार |
ประเภท | ศาสนา |
การเฉลิมฉลอง | สุนัข |
การถือปฏิบัติ | พิธีกรรมทางศาสนา |
วันที่ | การติกมาส กฤษณปักษ์ จาตุรทศี |
ความถี่ | รายปี |
กุกุรติหาร (เนปาล: कुकुर तिहार; Kukur Tihar) หรือ นรกจาตุรทศี (อักษรโรมัน: Narak Chaturdashi) เป็นเทศกาลศาสนาฮินดูประจำปีที่มีที่มาจากประเทศเนปาล ตรงกับวันที่สองของเทศกาลติหาร ในวันกุกุรติหาร ผู้คนจะทำการบูชาสุนัขเพื่อให้พญายมพอใจ เนื่องจากเชื่อกันว่าสุนัขเป็นทูตสัตว์ของพญายม ในเทศกาลนี้ สุนัขจะถูกประดับด้วยดิลกและนำพวงมาลัยกับดอกไม้มาสวมใส่ รวมถึงมีการถวายอาหารและของกินต่าง ๆ แก่สุนัข การกระทำใดที่ไม่เคารพต่อสุนัขในวันนี้ยังถือว่าเป็นการทำบาปเช่นกัน[1]
ติหารเป็นเทศกาลฮินดูความยาวห้าวันที่มีที่มาจากประเทศเนปาล เฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาเชน[2][3] กุกุรติหารฉลองในวันที่สองของเทศกาลติหาร[4] ในตลอดเทศกาลติหาร มีการบูชาสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงอีกา วัว และสุนัข[5][6]
เทศกาลนี้ตรงกับเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกปีโดยประมาณ[7] ผู้คนจะบูชาสุนัข และนำสุนัขไปอาบน้ำ ประดับด้วยดิลกที่ทำมาจากผงกุงกุมะและคุลาลผสมข้าวกับโยเกิร์ต[8] พวงมาลัยดอกไม้จะนำมาประกับคล้องคอสุนัข และมีการถวายอาหารทั้งเนื้อสัตว์ นม ไข่ และอาหารหมาให้กับสุนัข ทั้งสุนัขตำรวจตลอดจนถึงสุนัขข้างทางล้วนได้รับการเคารพในเทศกาลนี้[9] นอกจากนี้ยังเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสุนัขในเทศกาลนี้เช่นกัน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mayol, Taylor (20 October 2015). "All Dogs Go to Heaven … in Nepal". OZY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ "Market in border area bustling". The Himalayan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ Prasain, Krishana (21 October 2020). "Nepal's biggest festival Dashain fails to lift the market mood, buyers and sellers say". The Kathmandu Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ Devleesschauwer, Brecht; และคณะ (12 February 2016). "Epidemiology, Impact and Control of Rabies in Nepal: A Systematic Review". PLOS Neglected Tropical Diseases (ภาษาอังกฤษ). 10 (2): e0004461. doi:10.1371/journal.pntd.0004461. ISSN 1935-2735. PMC 4752342. PMID 26871689.
- ↑ Kelly, Erin (5 October 2015). "In Nepal, Every Dog Has Its Day. Literally". All That's Interesting (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ Devkota, Mahima (3 November 2021). "Why do we worship crows and dogs?". The Rising Nepal (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 21 November 2021.
- ↑ Dahal, Phanindra (2 October 2020). "Covid: God may punish Nepal for cancelling rites, religious leaders warn" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2020. สืบค้นเมื่อ 28 October 2020.
- ↑ "Did you know there is a dog puja festival in Nepal on Choti Diwali day?". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 18 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ "Dogs in Nepal enjoy treats, affection". Gulf Times. 30 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2016. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ Whitehead, Joanna (8 November 2018). "This Nepalese festival has an entire day devoted to celebrating dogs". The i (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 28 October 2020.