กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย
ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ มีกำหนดจัดเป็นประจำทุกปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
ประวัติกีฬาราชมงคล
[แก้]กีฬาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้เริ่มต้นเมื่อปีการศึกษา 2523 ซึ่งขณะนั้นยังใช้ชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษา โดยเริ่มจากแนวความคิดของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง คือ วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตกาฬสินธุ์ วิทยาเขตสุรินทร์ ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬา เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีระหว่างครู อาจารย์ และนักศึกษา โดยมีวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา 7 ประเภทคือ ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส และกรีฑา อธิการบดีในขณะนั้น ได้ให้นโยบายและสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัด จัดให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาเขต โดยแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้ครูอาจารย์ นักศึกษาได้มีโอกาสพบปะรู้จักกัน เสริมสร้างความสามัคคี มีสุขภาพ พลานามัยสมบูรณ์ พัฒนาความสามารถทางด้านกีฬา ตลอดจนพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยแบ่งกลุ่มดังนี้
- กลุ่มวิทยาเขตภาคเหนือ มี 5 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตภาคพายัพ วิทยาเขตตาก วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตน่าน และวิทยาเขตพิษณุโลก
- กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตสุรินทร์ และวิทยาเขตกาฬสินธุ์
- กลุ่มภาคใต้ มี 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตภาคใต้และวิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- กลุ่มภาคกลาง มี 16 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ วิทยาเขตพระนครเหนือ วิทยาเขตนนทบุรี วิทยาเขตพณิชยการพระนคร วิทยาเขตพระนครใต้ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วิทยาเขตบพิตรพิมุขมหาเมฆ วิทยาเขตบพิตรพิมุขจักรวรรดิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาหันตรา วิทยาเขตปทุมธานี วิทยาเขตจันทบุรี วิทยาเขตเพาะช่าง วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ และวิทยาเขตอุเทนถวาย
กีฬาวิทยาเขตกลุ่มภาค
[แก้]- กลุ่มภาคกลาง จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2524 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2525 โดยมีศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุนา อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแข่งขันกีฬา 7 ประเภท คือ ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส และกรีฑา
- กลุ่มภาคเหนือ วิทยาเขตภาคพายัพ เป็นเจ้าภาพ แข่งขันระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2524
- กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เป็นเจ้าภาพ แข่งขันระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2524
- กลุ่มภาคใต้ วิทยาเขตภาคใต้ เป็นเจ้าภาพ
- กลุ่มภาคกลาง วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 11 กันยายน 2525 ถึง 24 มกราคม 2526 พิธีเปิดและปิดการแข่งขัน ณ สนามศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกีฬาแข่งขัน 7 ประเภท (เหมือนครั้งที่ 1)
- กลุ่มภาคเหนือ วิทยาเขตตาก เป็นเจ้าภาพ แข่งขันระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2525
- กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาเขตขอนแก่นเป็นเจ้าภาพแข่งขันระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2525
- กลุ่มภาคใต้ วิทยาเขตนครศรีธรรมราชเป็นเจ้าภาพ
- กลุ่มภาคกลาง วิทยาเขตพณิชยการพระนครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 13 กันยายน 2526
- กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาเขตสุรินทร์เป็นเจ้าภาพ แข่งขันระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2542
- กลุ่มภาคใต้ วิทยาเขตภาคใต้เป็นเจ้าภาพ
กีฬาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
[แก้]จากการจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มภาคต่าง ๆ ได้ดำเนินมาด้วยดีเป็นปีที่ 3 และได้ผลสมความมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ทางสถาบันฯ จึงพิจารณาเห็นควรให้มีการแข่งขันกีฬาชิงชนะเลิศสถาบันฯ โดยนำนักกีฬาทีมชนะเลิศในกีฬาแต่ละประเภทต่าง ๆ ของแต่ละภาค เป็นตัวแทนมาร่วมการแข่งขันที่กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
- กีฬาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2526 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 26-28 มกราคม 2527 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา มีการแข่งขันกีฬา 6 ประเภทคือ ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล เซปักตะกร้อ เทเบิลเทนนิส และกรีฑา
- กีฬาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2527 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2528 ณ สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกีฬา 8 ประเภท คือ ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล เซปักตะกร้อ เทเบิลเทนนิส กรีฑา โดยเพิ่มกีฬาแบดมินตัน และเทนนิส
- กีฬาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2528 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2529 ณ สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกีฬา 8 ประเภท เหมือนครั้งที่ 2 โดยในปีการศึกษานี้ตัวแทนนักกีฬาในระดับปริญญาตรีได้เริ่มเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเป็น ปีแรกและได้เริ่มเข้าร่วมต่อเนื่องมาทุกปี
- กีฬาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ครั้งที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2529 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 21-24 มกราคม 2530 ณ สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกีฬา 8 ประเภท เหมือนเดิม
- กีฬาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ครั้งที่ 5 ประจำปีการศึกษา 2530 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 21-24 มกราคม 2531 ณ สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกีฬา 9 ประเภท โดยเพิ่มกีฬาเปตอง
กีฬาราชมงคลเกมส์
[แก้]กีฬาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือ ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2531 เนื่องจากในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามใหม่เป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” จึงเปลี่ยนชื่อการแข่งขัน “กีฬาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” เป็น “การแข่งขันกีฬาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” หรือ “ราชมงคลเกมส์” และในการจัดการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันกีฬา จากเดิมซึ่งคัดทีมชนะเลิศแต่ละกลุ่มภาคเข้าแข่งขัน มาให้ทุกสถานศึกษาส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้ไม่ต้องมีรอบคัดเลือก โดยจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 23-29 มกราคม 2532 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา มีกีฬา 9 ประเภทเหมือนเดิมโดยสถาบันฯ มอบให้วิทยาเขตบพิตรพิมุขมหาเมฆเป็นเจ้าภาพ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2532 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2533 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา มีกีฬา 9 ประเภท โดยมีวิทยาเขตโชติเวช เป็นเจ้าภาพ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 8 ประจำปีการศึกษา 2533 การจัดการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ได้เปลี่ยนมาจัดการแข่งขันในรูปแบบเดิม คือ คัดเลือกทีมของกลุ่มภาคต่างๆ รวมทั้งนักกีฬาระดับปริญญาตรี จากคณะต่างๆ ในสถาบันฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬารอบชิงชนะเลิศ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา ระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2534 โดยจัดการแข่งขันกีฬา 9 ประเภท เปิดโอกาสให้ทุกสถานศึกษาส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้โดยไม่ต้องคัดเลือกโดยมีวิทยาเขตนนทบุรี เป็นเจ้าภาพ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2534 จัดการแข่งขันเหมือนครั้งที่ 8โดยจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2535 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา มีการแข่งขันกีฬา 9 ประเภทโดยวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาหันตรา เป็นเจ้าภาพ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2535 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2536 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษาแข่งขันกีฬา 9 ประเภท โดยวิทยาเขตพระนครใต้ เป็นเจ้าภาพ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 11 ประจำปีการศึกษา 2536 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 7 กุมภาพันธ์ 2537 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษาแข่งขันกีฬา 9 ประเภท โดยวิทยาเขตพระนครเหนือ เป็นเจ้าภาพ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 12 ประจำปีการศึกษา 2537 แข่งขันระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2538 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษาและสนามศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) มีการแข่งขันกีฬา 12 ชนิด โดยเพิ่มกีฬาว่ายน้ำ หมากรุก มวยสากลสมัครเล่นมีวิทยาเขตบพิตรพิมุขจักรวรรดิเป็นเจ้าภาพแข่งขันกีฬา 9 ประเภท โดยวิทยาเขต พระนครเหนือเป็นเจ้าภาพ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 13 ประจำปีการศึกษา 2538 แข่งขันระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2539 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษาและสนามกีฬาแห่งประเทศไทยมีการแข่งขันกีฬา 13 ชนิดกีฬา โดยเพิ่มกีฬาตะกร้อลอดห่วง
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2539 ในการจัดการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ สถาบันฯ มีนโยบายจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันฯ ออกไปในวิทยาเขตส่วนภูมิภาค เพื่อให้นักกีฬาได้มีโอกาสรู้จักวิทยาเขตที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาค จึงจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 11 – 18 มกราคม 2540 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี โดยวิทยาเขตภาคพายัพ เป็นเจ้าภาพ มีการแข่งขัน 12 ชนิดกีฬา ซึ่งในปีนี้ได้จัดตะกร้อลอดห่วงออก และเพิ่มกีฬาสาธิต 2 ชนิดกีฬา คือ กีฬาหมากล้อม แฮนด์บอล
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2540 แข่งขันระหว่างวันที่ 24 – 31 มกราคม 2541 ณ สนามกีฬาวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเจ้าภาพ มีการแข่งขัน 14 ชนิดกีฬา โดยได้บรรจุชนิดกีฬาหมากล้อม และแฮนด์บอลเพิ่มเติม
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 16ประจำปีการศึกษา 2541 เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ทุกหน่วยงานจะต้องช่วยกันประหยัด จึงเห็นสมควรงดการแข่งขันกีฬาชิงชนะเลิศสถาบันฯ แต่ก็ยังเห็นควรปลูกฝังคุณธรรมในใจของนักศึกษา โดยเฉพาะความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ชนะ รู้จักการให้อภัย และส่งเสริมพลานามัย ของนักศึกษา จึงยังคงมีการแข่งขันกีฬาราชมงคลแยกเป็นกลุ่มภาคอยู่ โดยมีวิทยาเขตเข้าร่วมแข่งขันแต่ละกลุ่มดังนี้
- กลุ่มภาคเหนือ มี 6 วิทยาเขต คือ ภาคพายัพ ตาก ลำปาง น่าน พิษณุโลก และเชียงราย มีวิทยาเขตน่านเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 17-22 พฤศจิกายน 2541
- กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 5 วิทยาเขต คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ และสกลนคร
- กลุ่มภาคใต้มี 3 วิทยาเขต คือ ภาคใต้ นครศรีธรรม และศรีวิชัย โดยมีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2542
- กลุ่มภาคกลาง มี 20 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ พระนครเหนือ นนทบุรี พระนครใต้ โชติเวช ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พณิชยการพระนคร บพิตรพิมุขมหาเมฆ บพิตรพิมุขจักรวรรดิ พระนครศรีอยุธยาวาสุกรี พระนครศรีอยุธยาหันตรา ปทุมธานี จันทบุรี เพาะช่าง จักรพงษภูวนารถ อุเทนถวาย เทเวศร์ วังไกลกังวล ศาลายา และสุพรรณบุรี มีวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ เป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ 2542
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 16 ประจำปีการศึกษา 2542 ระหว่างวันที่ 22-29 มกราคม 2543 ในการจัดการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ จัดระหว่างวันที่ 22-29 มกราคม 2543 ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากคณะและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จำนวนทั้งสิ้น 15 คณะ 40 วิทยาเขต เข้าร่วมการแข่งขัน 14 ประเภทกีฬา โดยวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ร่วมกับวิทยาเขตส่วนกลางเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยถือปณิธานการแข่งขัน “ราชมงคลสร้างคุณค่า การกีฬาสร้างไมตรี”
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 17 วิทยาเขตภาคใต้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยใช้ชื่อว่า “สมิหลาเกมส์” ซึ่งจัดประจำปีการศึกษา 2543 ระหว่างวันที่ 20-27 มกราคม 2544 มีการแข่งขัน 16 ประเภทกีฬาคือ ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล วอลเลย์บอลชายหาด เซปักตะกร้อ แบดมินตัน เทนนิส หมากล้อม เทเบิลเทนนิส หมากรุกไทย ลีลาศ เปตอง ว่ายน้ำ มวยสากล เชียร์ลีดเดอร์ และกรีฑา
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 18 ประจำปีการศึกษา 2544 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2545 วิทยาเขตพณิชยการพระนครเป็นเจ้าภาพหลักโดยใช้ชื่อว่า “นางเลิ้งเกมส์” ร่วมกับอีก 4 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาหันตรา วิทยาเขตไกลกังวล วิทยาเขตศาลายา ซึ่งมีการแข่งขันกีฬา 16 ประเภท (เหมือนครั้งที่ 17)
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 19 ประจำปีการศึกษา 2545 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2546 วิทยาเขตตากเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับวิทยาเขตภาคพายัพ วิทยาเขตลำปาง สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตน่าน และวิทยาเขตเชียงราย ซึ่งมีการแข่งขันกีฬา 17 ชนิดกีฬา คือ ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล วอลเลย์บอลชายหาด เซปักตะกร้อ แบดมินตัน เทนนิส หมากล้อม เทเบิลเทนนิส หมากกระดาน ลีลาศ เปตอง ว่ายน้ำ มวยไทยสมัครเล่น มวยสากลสมัครเล่น และเชียร์ลีดเดอร์
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 20 ประจำปีการศึกษา 2546 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 31 มกราคม 2547 ณ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี วิทยาเขตนนทบุรี เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี วิทยาเขตศาลายา วิทยาเขตปทุมธานี วิทยาเขตอุเทนถวาย ภายใต้ชื่อว่า “ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 20” ซึ่งมีการแข่งขันกีฬา 17 ชนิดกีฬา (เหมือนครั้งที่ 19)
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 21 ประจำปีการศึกษา 2547 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2548 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดขอนแก่น โดยวิทยาเขตขอนแก่นเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาเขตสกลนคร วิทยาเขตสุรินทร์ วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร ภายใต้ชื่อว่า “ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 21” ซึ่งมีการแข่งขันกีฬา 19 ชนิดกีฬา
กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย
[แก้]- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 22 ประจำปีการศึกษา 2548 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-29 มกราคม 2549 ณ สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นปีแรกที่จัดแข่งขันระหว่าง 9 มหาวิทยาลัย มีการแข่งขันทั้งสิ้น 17 ชนิดกีฬา ภายใต้ชื่อ “ราชมงคลเกมส์’48” ครั้งที่ 22 โดยมี พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการแข่งขัน
ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 23 ประจำปีการศึกษา 2549 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-9 กุมภาพันธ์ 2550 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน (จัดแทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้) จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 10 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ ตะกร้อลอดห่วงสากล เปตอง กรีฑา ว่ายน้ำ ฟุตซอล และหมากล้อม ภายใต้ชื่อการแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล “ราชมงคลเกมส์’23 ธัญบุรี 2006” และมีความสำคัญประจำการแข่งขันว่า “ราชมงคลร่วมใจเป็นหนึ่ง” ในปีนี้เองที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่ได้รับเหรียญทองสูงสุด คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 24 ประจำปีการศึกษา 2550 กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11-18 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 16 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย กรีฑา ว่ายนำ บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ เปตอง วอลเลย์บอลชายหาด เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน ลีลาศ หมากล้อม (โกะ) ฟุตซอล ประกวดเชียร์ หมากรุกไทย และ ฟุตวอลเลย์ ภายใต้ชื่อการแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล “สาทรเกมส์ 2007 ” และมีความสำคัญประจำการแข่งขันว่า “พลังแห่งมิตรภาพ คือชัยชนะสู่ความสำเร็จ” โดยมหาวิทยาลัยที่ครองถ้วยพระราชทานฯ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25 ประจำปีการศึกษา 2551 จัดในระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จัดการแข่งขันกีฬา 17 ชนิดกีฬา โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในชื่อว่า "ล้านนาเกมส์ ครั้งที่ 25" โดยมี ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการแข่งขัน มหาวิทยาลัยที่ครองถ้วยพระราชทานฯ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน
ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 26 ประจำปีการศึกษา 2552 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยมี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน จัดการแข่งขันกีฬาทั้งสิ้น 17 ชนิดกีฬา และมีการเปลี่ยนแปลงการครองถ้วยพระราชทานจากเดิมที่จะมอบให้แก่มหาวิทยาลัยที่ได้เหรียญทองมากที่สุด เป็นระบบการคิดคะแนนจากเหรียญรางวัลแทน โดยมหาวิทยาลัยที่ได้ครองถ้วยพระราชทาน คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 27 ประจำปีการศึกษา 2553 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ซึ่งมีการแข่งขันกีฬาทั้งสิ้น 13 ชนิดกีฬา
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 28 ประจำปีการศึกษา 2554 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ซึ่ง มทร.ล้านนา ได้รับเหรียญทองมากที่สุด คือ 30 เหรียญทอง รองมาคือ มทร.อีสาน 24 เหรียญทอง
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 29 ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี[1] เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ประกอบด้วยการแข่งขันกีฬา 16 ชนิดกีฬา
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 30 ประจำปีการศึกษา 2556 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 31 ประจำปีการศึกษา 2557 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 32 ประจำปีการศึกษา 2558 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 33 ประจำปีการศึกษา 2559 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 34 ประจำปีการศึกษา 2560 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ[2]
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 35 ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ
- ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 36 ประจำปีการศึกษา 2562 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ใช้ชื่อ "ตะวันออกเกมส์" ในการนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาประธานในพิธี พร้อมด้วยศาสตราจารย์สุนทร บุญญาธิการ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ,รองศาสตราจารย์ ดร.ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ รักษาราชการแทนอธิการบดี และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 8 แห่ง โดยการแข่งขันมีขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 8 กุมภาพันธ์ 2563
- การจัดการแข่งขันครั้งนี้ มีชนิดกีฬาให้ชิงชัยทั้งสิ้น 15 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ,ฟุตบอล ,บาสเกตบอล ,วอลเล่ย์บอล ว่ายน้ำ ,วอลเลย์บอลชายหาด ,ฟุตซอล ,เทเบิลเทนนิส ,แบดมินตัน ,เปตอง ,เซปักตะกร้อ ,เทนนิส ,ตะกร้อลอดห่วงสากล ,หมากกระดาน และ E-Sport จำนวนทั้งสิ้น 131 เหรียญทอง โดยใช้สนามแข่งขันทั้งภายในมหาวิทยาลัยฯ และภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ สระว่ายน้ำมหาวิทยาลัยบูรพาสำหรับแข่งขัน ว่ายน้ำ สนามทัศนาการ์เด้นคลับ สำหรับแข่งขันแบดมินตัน สนามกีฬาเทศบาลบางพระและสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระสำหรับแข่งขันฟุตบอล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่เข้าร่วมการแข่งขัน
[แก้]กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้ง 9 มหาวิทยาลัย ดังนี้
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
รายชื่อมหาวิทยาลัยที่ได้ครองถ้วยพระราชทาน
[แก้]สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่ได้รับเหรียญทองสูงสุด ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่ได้ครองถ้วยพระราชทาน ดังนี้
ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี | |||||||
ครั้งที่ | ปีการศึกษา | เจ้าภาพ | มหาวิทยาลัยที่ได้ครองถ้วย | หมายเหตุ | |||
23 | 2549 | มทร.ธัญบุรี | มทร.ล้านนา | ||||
24 | 2550 | มทร.กรุงเทพ | มทร.ล้านนา | ||||
25 | 2551 | มทร.ล้านนา | มทร.ล้านนา | ||||
26 | 2552 | มทร.รัตนโกสินทร์ | มทร.อีสาน | (เปลี่ยนมาใช้ระบบการคิดคะแนน) | |||
27 | 2553 | มทร.ตะวันออก | มทร.ธัญบุรี | ||||
28 | 2554 | มทร.ศรีวิชัย | มทร.ล้านนา | ||||
29 | 2555 | มทร.ธัญบุรี | มทร.ล้านนา | ||||
30 | 2556 | มทร.อีสาน | มทร.ล้านนา | ||||
31 | 2557 | มทร.พระนคร | มทร.ล้านนา | ||||
32 | 2558 | มทร.สุวรรณภูมิ | มทร.สุวรรณภูมิ | ||||
33 | 2559 | มทร.กรุงเทพ | มทร.พระนคร | ||||
34 | 2560 | มทร.ล้านนา | มทร.พระนคร | ||||
35 | 2561 | มทร.รัตนโกสินทร์ | มทร.รัตนโกสินทร์ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ธัญบุรีเจ้าภาพราชมงคลเกมส์ เก็บถาวร 2022-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
- ↑ https://www.rmutl.ac.th/activity/1278-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80