กิ้งก่าลูกปัด
กิ้งก่าลูกปัด | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
วงศ์ใหญ่: | Varanoidea |
วงศ์: | Helodermatidae |
สกุล: | Heloderma |
สปีชีส์: | H. horridum |
ชื่อทวินาม | |
Heloderma horridum (Wiegmann, 1829) | |
ชื่อพ้อง | |
|
กิ้งก่าลูกปัด หรือ กิ้งก่าลูกปัดเม็กซิกัน (อังกฤษ: Beaded lizard[2], Mexican beaded lizard[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Heloderma horridum) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกกิ้งก่า จัดเป็นกิ้งก่าที่มีพิษร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง
กิ้งก่าลูกปัด มีลักษณะคล้ายกับกิล่ามอนสเตอร์ (H. suspectum) ซึ่งเป็นกิ้งก่าในวงศ์และสกุลเดียวกัน กิ้งก่าลูกปัดและกิล่ามอนสเตอร์ต่างกับสัตว์เลื้อยคลานมีพิษอย่างอื่น เช่น งู ที่มีต่อมพิษที่บริเวณขากรรไกรบนเพื่อที่จะฉีดพิษออกมาใส่ศัตรูหรือเหยื่อด้วยการกัด แต่กิ้งก่าลูกปัดมีต่อมพิษอยู่ที่ด้านล่างของขากรรไกรล่างและไม่สามารถฉีดพิษออกมาได้ จึงต้องฉีดพิษด้วยการเคี้ยวเหยื่อแทน ซึ่งพิษนั้นไม่ร้ายแรงพอที่จะฆ่ามนุษย์ได้ แต่ก็ทำให้เจ็บปวดได้มาก[3]
มีความยาวและใหญ่กว่ากิล่ามอนสเตอร์ มีขนาดโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 57–91 เซนติเมตร (22–36 นิ้ว) น้ำหนักเต็มที่ 4,000 กรัม (8.8 ปอนด์) ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ[4][5] พบกระจายพันธุ์ในทะเลทรายแห้งแล้งของเม็กซิโก เช่น ทะเลทรายโซโนรัน จนถึงกัวเตมาลา ออกหากินในเวลากลางวันทั้งบนพื้นดินและในโพรงดินโดยใช้การรับภาพและฟังเสียงด้วยการเสาะหาเหยื่อ มีนิสัยหากินตามลำพัง ด้วยการกินไข่นกและสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งต่างจากกิล่ามอนสเตอร์ ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้ได้เก่ง[6]
เดิมถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อย แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างหากเมื่อปี ค.ศ. 2013 ได้แก่ H. alvarezi, H. charlesbogerti, H. exasperatum, และ H. horridum [7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Heloderma horridum". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.1. 2007. สืบค้นเมื่อ 19 June 2010. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern
- ↑ "Heloderma horridum". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 20 September 2008.
- ↑ 3.0 3.1 "ภารกิจซ่า ท้าตาย ย้อนหลัง 06 ตุลาคม 2558 ตอนที่ 24". ช่อง 7. 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Beck, D. D. (2005). Biology of Gila monsters and beaded lizards (Vol. 9). Univ of California Press.
- ↑ Grzimek, Dr. H.C. Bernhard. 1975. Animal Life Encyclopedia. Volume 6 Pgs. 321-322 and 151-152. Van Nostrand Reinhold Company.
- ↑ วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. หน้า 396. ISBN 978-616-556-016-0
- ↑ http://www.redlist-arc.org/Article-PDFs/Special%20Mexico%20Issue_ARC_7(1)_74-96_low_res.pdf เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reiserer & al., 2013, Taxonomic reassessment and conservation status of the beaded lizard, Heloderma horridum (Squamata: Helodermatidae)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Heloderma horridum ที่วิกิสปีชีส์