กิ้งก่าคาเมเลี่ยนแจ็คสัน
กิ้งก่าคาเมเลี่ยนแจ็คสัน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Lacertilia |
วงศ์: | Chamaeleonidae |
สกุล: | Trioceros |
สปีชีส์: | T. jacksonii |
ชื่อทวินาม | |
Trioceros jacksonii (Boulenger, 1896) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ตามแหล่งกำเนิดในธรรมชาติดั้งเดิม | |
ชื่อพ้อง | |
|
กิ้งก่าคาเมเลี่ยนแจ็คสัน หรือ กิ้งก่าคาเมเลี่ยนสามเขา (อังกฤษ: Jackson's chameleon, Three-horned chameleon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Trioceros jacksonii) เป็นกิ้งก่าคาเมเลี่ยนชนิดหนึ่ง
มีความยาวลำตัวจรดหางประมาณ 10 นิ้ว มีลักษณะเด่น คือ มีสันแข็งคล้ายเขา 3 เขาอยู่บริเวณด้านหน้าของส่วนหัว ยกเว้นในเพศเมียไม่มีเขา หรือมีแต่เฉพาะส่วนจมูกเท่านั้น ผิวหนังมีหยาบและขรุขระ และสีลำตัวมักเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม ตามอุณหภูมิหรืออารมณ์ บางครั้งเพื่อพรางตัวจากผู้คุกคามหรือพรางตัวเพื่อเป็นผู้ล่าเสียเอง
กิ้งก่าคาเมเลี่ยนแจ็คสัน มีถิ่นกระจายพันธุ์แถบเคนยา และแทนซาเนีย ในแอฟริกาตะวันออก สามารถพบได้ในระดับที่สูงมากกว่า 3,000 เมตร นับเป็นกิ้งก่าคาเมเลี่ยนที่พบได้ไม่ง่ายนักในธรรมชาติ และถูกนำเข้าไปในฮาวาย ในช่วงทศวรรษที่ 70 เพื่อเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งสามารถปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมสามารถแพร่ขยายพันธุ์เอง
ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นการเกียรติแก่ เฟดเดอริก จอห์น แจ็คสัน นักปักษีวิทยาและนักสำรวจธรรมชาติชาวอังกฤษ โดย จอร์จ อัลเบิร์ต บุนเลเยอร์ นักสัตววิทยาชาวเบลเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1896 ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์คำว่า trioceros มาจากภาษากรีกคำว่า τρί- (tri-) หมายถึง "สาม" และ κέρας (kéras) หมายถึง "เขา" อันเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวนั่นเอง[2][3]
กิ้งก่าคาเมเลี่ยนแจ็คสัน เป็นกิ้งก่าคาเมเลี่ยนชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ หรือสัตว์เลื้อยคลานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ย่อส่วนมา โดยมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 2 ปีเท่านั้น แต่ก็มีผู้ที่เลี้ยงได้อย่างยาวนานถึง 5-10 ปี ในที่เลี้ยงต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก กว้างขวางพอสมควร มีกิ่งไม้หรือต้นไม้ให้เกาะและป่ายปีน เลี้ยงโดยการให้แมลง เช่น จิ้งหรีด หรือหนอนคลุกกับวิตามิน วันละ 2 ครั้ง อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 17-26 องศาเซลเซียส และมีแสงยูวีให้เพื่อสร้างความอบอุ่น สามารถที่จะแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tolley K (2014). "Trioceros jacksonii ". IUCN Red List of Threatened Species. 2014: e.T172531A1344462. doi:10.2305/IUCN.UK.2014-3.RLTS.T172531A1344462.en.
- ↑ Boulenger, George Albert (1896). Description of a new chameleon from Uganda. Annual Natural History. Vol. 6. p. 376.
- ↑ Liddell, H.G., and R. Scott (1980). Greek-English Lexicon, Abridged Edition. Oxford University Press, Oxford, UK. ISBN 0-19-910207-4.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Exotic Pets section of About.com[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trioceros jacksonii ที่วิกิสปีชีส์