ข้ามไปเนื้อหา

กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม (ละครโทรทัศน์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม
The Reincarnated Princess 1985
ประเภทอภินิหาร,ชีวิต
เขียนโดยเหลียง เจียซู่, ซุนลี่
กำกับโดยเหลียง เจียซู่
แสดงนำจ้าวหย่าจือ,เยิ่นต๊ะหัว
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด普渡众生
ประเทศแหล่งกำเนิดฮ่องกง
ภาษาต้นฉบับกวางตุ้ง
จำนวนตอน
  • 34 ตอน (ดั้งเดิม)
  • 20 ตอน(ในไทย)
  • 17 ตอน (ต่างประเทศ)
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้าง"เหลียง เจียซู่"
สถานที่ถ่ายทำฮ่องกง
ความยาวตอน45 นาที/ตอน
บริษัทผู้ผลิตทีวีบี
ออกอากาศ
ออกอากาศ30 ธันวาคม พ.ศ. 2528 –
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529


"กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม" (อังกฤษ: The Reincarnated Princess) ในราวต้น ปีพ.ศ. 2528 (1985) สถานีโทรทัศน์ทีวีบี (TVB) ได้ประกาศสร้างละครชุดแนวอภินิหารอิงตำนาน ขึ้นมาเพื่อสู้กับ ช่องคู่แข่งอย่าง "สถานีโทรทัศน์เอทีวี (ATV)" ที่มักจะสร้างละครแนวอภินิหารอิงตำนานขึ้นมาในช่วงนั้นออกมาหลายเรื่อง เช่น "กำเนิดอภินิหารโป๊ยเซียน (แปดเซียนข้ามสมุทร)"  (八仙过海 1985) และ "จี้กง" (济公 1985 )  ที่ออกอากาศในเดือน มกราคม และ เมษายน พ.ศ. 2528 (1985) ตามลำดับ ต่อมาช่องทีวีบีได้มีการสร้างละครแนวอภินิหารอิงตำนานเจ้าแม่กวนอิมที่นำแสดงโดย จ้าวหย่าจือ ซึ่งจะออกอากาศในฮ่องกงในปลายปีพ.ศ. 2528 (1985) โดยละครเรื่องนี้จะบอกเล่าตำนานเรื่องราวของ "อวโลกิเตศวร" ที่มีความเมตตาอันแสนวิเศษของเจ้าแม่กวนอิมในการช่วยชีวิตผู้คน และยังเป็นละครชิ้นสุดท้ายในบทบาทแสดงนำ(ไม่นับเรื่อง ขุนศึกตระกูลหยาง 1985 ที่เธอแสดงรับเชิญ) ของ จ้าวหย่าจือ ก่อนที่เธอจะลาออกจากการแสดง เพื่อทำหน้าที่แม่บ้านดูแลครอบครัวของเธอ (สามปีต่อมาเธอกลับเข้ามาในวงการบันเทิงอีกครั้ง)[1][2][3][4][5][6]

เนื้อเรื่อง(ย่อ)

[แก้]

เมี่ยวจวงอ๋อง ฮ่องเต้ปกครองแคว้นซิงหลินถูกพญามาร ครอบงำจิตใจจึงทำลายล้างพุทธศาสนาในแคว้น และแสวงหาอำนาจด้วยการทำศึกสงครามทำให้พนกนิกรยากจน บาดเจ็บล้มตายจากสงคราม

มีครั้งหนึ่ง องค์รัชทายาทสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ฮองเฮาทรงมีพระธิดาสามพระองค์ พระธิดาองค์โตพระนามว่าองค์หญิงเมี่ยวซิน มีอุปนิสัยอิจฉาริษยา พระธิดาองค์รองพระนามว่าองค์หญิงเมี่ยวหยวน มีอุปนิสัยอ่อนแอ หวาดกลัว พระธิดาองค์ที่สามพระนามว่าองค์หญิงเมี่ยวซ่าน มีสติปัญญาเฉลียว ฉลาด ปราชญ์เปรื่องไหว รักบ้านเมืองและพสกนิกร องค์หญิงเมี่ยวซ่านเป็นที่คาดหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากเมี่ยวจวงอ๋อง แต่องค์หญิงเมี่ยวซ่าน เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่อยากแสวงหาลาภยศอำนาจแต่อย่างใด และด้วยการที่องค์หญิงเมี่ยวซ่านทรงเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนานี้เองทำให้ ผิดใจกับเมี่ยวจวงอ๋อง และองค์หญิงเมี่ยวซ่านทรงตัดสินพระทัยออกจากวังหลวง มุ่งหน้าสู่โลกพระธรรม แสวงหาการหลุดพ้น

หยุนเทียนหลาง เป็นทายาทขุนนางที่มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง เนื่องจากลอบปลงพระชนม์เอง ด้วยการกินยาพิษ เมี่ยวจวงอ๋อง ล้างแค้นให้พ่อนี้เองจึงเป็นเหตุให้ได้พบกับองค์หญิงเมี่ยวซ่านในที่สุด ถึงแม้หยุนเทียนหลางมีใจให้องค์หญิงเมี่ยวซ่านก็ตาม แต่น่าเสียดายที่องค์หญิงเมี่ยวซ่านศรัทธาในพุทธศาสนา ทำให้หยุนเทียนหลางไม่สมหวังในความรัก

ในเวลาเดียวกัน ราชครูจินหลงและอี้ตูเหลย ราชบุตรเขยกำลังเรืองอำนาจในแคว้นซิงหลิน สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากให้กับประชาชนเป็นอันมาก องค์หญิงเมี่ยวซ่านจึงขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นเจ็ดเพื่อนำแจกันหยกขาวมาช่วยเหลือมนุษย์ ให้หลุดพ้นจากความยากลำบาก ราชครูจินหลงและพวกร่วมมือกับพญามารขัดขวางไม่ให้องค์หญิงเมี่ยวซ่านทำการสำเร็จ เมี่ยวจวงอ๋องไม่อยากให้เป็นภาระกับองค์หญิงเมี่ยวซ่าน พระองค์จึงฆ่าตัวตาย พญามารใช้ไฟมารเผาเมือง องค์หญิงเมี่ยวซ่านยังไม่บรรลุมรรคผลทำให้ไม่สามารถต่อกรกับพญามาร

เมี่ยวจวงอ๋องทนทุกข์ทรมานอยู่ในนรกขุมที่สิบแปด ในที่สุดองค์หญิงเมี่ยวซ่านจะกำจัดพญามาร ช่วยเหลือพสกนิกรที่ทุกข์ยากรวมทั้งช่วยเหลือพระบิดาที่ทนทุกข์ทรมานอยู่ใน นรกขุมขุมที่สิบแปด ตลอดจนสำเร็จมรรคจนได้เป็น เจ้าแม่กวนอิม

นักแสดงหลัก

[แก้]

การคัดเลือกตัวแสดง(จ้าวหย่าจือ)

[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2528 (1985) ช่องทีวีบีได้ตัดสินใจประกาศว่าจะสร้างละครแนวอภินิหารเรื่อง "กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม" โดยครั้งแรกทางช่องได้มีการวางตัวดาราให้แสดงบท "เจ้าแม่กวนอิม" คือ วังหมิงฉวน แต่เนื่องจากช่วงเปิดกล้องของละครเรื่องนี้ เธอติดธุระต้องเดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตที่ต่างประเทศ หลายวัน

ไม่นานทางช่องได้ทำการปรีกษาหารือกันว่าจะเลือกนักแสดงหญิงคนไหนเพื่อจะมารับบท เจ้าแม่กวนอิม ในละครเรื่องนี้ บางคนเสนอชื่อ เจิ้งอวี้หลิง แต่ทางช่องปฏิเสธเพราะเห็นว่าเธอเพิ่งแสดงเรื่อง "เจ้าจอมหน้าด่าง"(นางพญาหน้าด่าง) ซึ่งเป็นละครแนวอภินิหารเหมือนกัน

ต่อมามีคนเสนอชื่อ "จ้าวหย่าจือ" ขึ้นมาและได้ให้เธอมาทดสอบลองหน้ากล้องในบท "เจ้าแม่กวนอิม" ผลปรากฎว่า เธอผ่านการเทสหน้ากล้องและทางช่องทีวีบี จึงตัดสินใจมอบหมายให้ จ้าวหย่าจือ แสดงในบทนี้แทน วังหมิงฉวน ในทันที และให้ วังหมิงฉวน รับบท "เจ้าแม่หัวซาน" ในละครแนวอภินิหารเรื่องถัดไปที่ทางช่องทีวีบีจะสร้างต่อจากเรื่องนี้

ในระหว่างการถ่ายทำละครเรื่องนี้ ได้มีการถกเถียงกันในหมู่ชาวพุทธในฮ่องกง บางคนในแวดวงพุทธตั้งคำถามว่า"จ้าวหยาจือ" เหมาะสมหรือไม่ ที่จะแสดงบท "อวโลกิเตศวร" หลังจากการหย่าร้างกับสามีของเธอ กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในขณะนั้น แต่ จ้าวหย่าจือ ไม่สนใจและบอกว่าเธอจะตั้งใจแสดงบทนี้ให้ดีที่สุด

เมื่อออกอากาศในช่วงปลายปีพ.ศ. 2528 (1985) ปรากฏว่า จ้าวหย่าจือ ได้รับคำชมอย่างมากจากการที่เธอแสดงในบท เจ้าแม่กวนอิม ที่ดูมีเมตตาและอ่อนโยน และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากผู้ชม

ชนละครช่องเอทีวี

[แก้]

ละครทีวีบีเรื่อง "กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม" ที่นำแสดงโดย จ้าวหย่าจือ และ เยิ่น ต๊ะหัว ได้ออกอากาศชนกับละครเอทีวี 40 ตอนจบ เรื่อง "ขงเบ้ง 1985 (จูกัดเหลียง)" (The Legendary Prime Minister – Zhuge Liang) นำแสดงโดย เจิ้งเส้าชิว และ หมีเซียะ ที่ออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2528

ผลปรากฎว่า ละครทีวีบีเรื่อง "กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม" ได้รับชัยชนะ และมีเรตติ้งที่สูงกว่า ละครเอทีวีเรื่อง "ขงเบ้ง (จูกัดเหลียง) 1985" อยู่มาก

เรตติ้ง(ผลตอบรับ)

[แก้]

ออกอากาศในฮ่องกงคั่นรายการ "วันชื่นคืนสุข" (HAPPY TONIGHT) เวลา 21.30 ในฮ่องกงได้เรตติ้งค่อนข้างดี และ จ้าวหย่าจือ ได้รับคำชมเป็นอย่างมากในบท เจ้าแม่กวนอิม ที่ดูอ่อนโยนและมีเมตตา

ต่อมาช่วงกลางปีพ.ศ. 2529(1986) ได้มีการนำไปออกอากาศในย่านชุมชนชาวจีน ที่สหรัฐอเมริกา โดยได้เรตติ้ง 70% และทำให้เกิดความฮือฮาในหมู่ชาวจีนในต่างประเทศ

และละครเรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลเหรียญทองจากเทศกาลภาพยนตร์และโทรทัศน์นานาชาตินิวยอร์ก

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

[แก้]

หลังจากที่ จ้าวหย่าจือ แสดงละครเรื่อง "กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม" แล้ว นิสัยเธอเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ยอมฆ่าสัตว์เพื่อนำมาทำอาหาร และทุกวันพระขึ้นสิบห้าค่ำเธอจะถือศีลกินเจเป็นเวลาหนึ่งวันเพื่องดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ทุกชนิด และยังเช่าเจ้าแม่กวนอิมมาบูชาที่บ้าน เพื่อขอพรอีกด้วย

การออกอากาศในไทย

[แก้]
  • ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง 3 ในช่วงปีพ.ศ. 2529 เวลา 21.30-22.30
  • ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 13.30-14.30 น. และ เวลา 22.00-23.00 น. ทางช่อง3 Family (ช่อง13) เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันอังคาร ที่ 6 ตุลาคม 2558

ลงม้วนวีดีโอ

[แก้]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2529 (1986) ได้ลงม้วนวีดีโอให้เช่าทั่วประเทศไทย ในชื่อว่า กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 朱奕錦 (2022-05-18). "Young Dowager 1983". .baidu (ภาษาChinese (Hong Kong)). สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
  2. OVDO. ""TVB 1985".
  3. "Young Dowager 1983". .baidu (ภาษาChinese (Hong Kong)). 2024-05-18. สืบค้นเมื่อ 2024-05-19.
  4. ""ATV 1985".
  5. "คลิปเบื้องหลัง จ้าวหย่าจือ 1983". sina (ภาษาChinese (Hong Kong)). 2024-09-18. สืบค้นเมื่อ 2024-09-19.
  6. "เจ้าแม่กวนอิม" นำแสดงโดย จ้าว หยาจือ มีโครงเรื่องที่เรียบง่าย แต่ก็คุ้มค่าแก่การจดจำ". sohu. (ภาษาChinese (Hong Kong)). 2019-05-14. สืบค้นเมื่อ 2024-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]