กาแล็กโทส
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
| |||
เลขทะเบียน | |||
---|---|---|---|
MeSH | Galactose | ||
ผับเคม CID
|
|||
คุณสมบัติ | |||
C6H12O6 | |||
มวลโมเลกุล | 180.156 g mol-1 | ||
จุดหลอมเหลว | 167 °C | ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
กาแล็กโทส (อังกฤษ: Galactose) เรียกอีกอย่างว่า น้ำตาลสมอง (brain sugar) เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบในผลิตภัณฑ์นม (dairy product) ในน้ำตาลบีต (sugar beet) กัม (gum) และ น้ำเมือกจากต้นไม้ (mucilage) ถูกสังเคราะห์ในร่างกายและเกิดเป็นไกลโคไลปิดและไกลโคโปรตีน ในเนื้อเยื้อหลายชนิด ถูกจัดเป็นสารให้ความหวาน (sweetener) เพราะมีพลังงานอาหาร (food energy) กาแล็กโทสหวานน้อยกว่ากลูโคส ไม่ละลายน้ำมากนัก เมื่อนำ Galactose + Glucose ก็จะได้น้ำตาล Lactose ซึ่งพบในน้ำนมเหมือนกัน
กาแล็กแทน (Galactan) เป็นพอลิเมอร์ของกาแล็กโทสพบใน เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) และสามารถเปลี่ยนเป็นกาแล็กโทสได้โดยการไฮโดรไลซิส (hydrolysis)
กาแล็กโทสเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกับโมเลกุลของกลูโคส จะได้น้ำตาลไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) ที่ชื่อว่า แล็กโทส การไฮโดรไลซิสแล็กโทสจะได้กลูโคสและกาแล็กโทส ซึ่งจะถูก เร่งปฏิกิริยา โดยเอนไซม์บีตา-กาแล็กโทซิเดส แล็กเทสในร่างกายมนุษย์ กลูโคสจะถูกเปลี่ยนเป็นกาแล็กโทส เพื่อที่จะทำให้ต่อมน้ำนม (mammary gland) หลั่งแล็กโทสออกมาได้
ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
[แก้]การ ไฮโดรไลซิส แล็กโทส และมี ?-กาแล็กโทซิเดสทำให้ได้กาแลกโทสและกลูโคส เอนไซม์นี้เกิดมาจากแลค โอเพอรอน (Lac operon) ใน เอสเชอริเชีย โคไล (อี. โคไล)
การเผาผลาญผิดปกติ
[แก้]การเผาผลาญผิดปกติ (metabolic disorders) มีความผิดปกติที่สำคัญเกี่ยวกับ กาแล็กโทส อยู่ 3 ประการคือ
- ความบกพร่องในกาแล็กโทไคเนส (Galactokinase) เป็นสาเหตุของ โรคต้อกระจก (cataract) ถ้าควบคุมอาหารไม่ให้มีกาแล็กโทส โรคต้อกระจกจะทุเลาลง
- การขาดเอนไซม์ยูพีดีกาแล็กโทส-4-อีพิเมอเรส (UDPgalactose-4-epimerase) พบน้อยมาก (มีรายแค่ 2 รายเท่านั้น) ทำให้เกิดโรคหูหนวก (nerve deafness)
- การขาดเอนไซม์กาแล็กโทส-1-ฟอสเฟตยูริดิลทรานเฟอเรส (Galactose-1-phosphate uridyl transferase) รักษาได้โดยการรับประทานอาหารที่ไม่มีกาแล็กโทส
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]มีการศึกษา 2 เรื่องที่พบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างกาแล็กโทสในน้ำนมและมะเร็งรังไข่