การ์ตีนี
ราเด็น อาเจ็ง การ์ตีนี | |
---|---|
ดวงตราไปรษณียากรระลึกถึงการ์ตีนี พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1979 | |
เกิด | 21 เมษายน ค.ศ. 1879 เจอปารา, ชวากลาง, ดัตช์อีสต์อินดีส |
เสียชีวิต | 17 กันยายน ค.ศ. 1904 เร็มบัง, ชวากลาง, ดัตช์อีสต์อินดีส (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) | (25 ปี)
ชื่ออื่น | ราเด็น อาเจ็ง การ์ตีนี |
มีชื่อเสียงจาก | การเรียกร้องสิทธิสตรี, วีรสตรีแห่งชาติ |
คู่สมรส | ราเด็น อาดีปาตี โจโยดีนิงรัต |
ราเด็น อาเจ็ง[1] การ์ตีนี หรือบางครั้งเรียกด้วยคำนำหน้าอีกแบบคือ ราเด็น อายู การ์ตีนี (อินโดนีเซีย: Kartini; 21 เมษายน ค.ศ. 1879 – 17 กันยายน ค.ศ. 1904) เป็นวีรสตรีแห่งชาติอินโดนีเซียจากชวา เธอเป็นผู้ริเริ่มการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิงและสิทธิสตรีในอินโดนีเซีย
เธอเกิดในอาณานิคมดัตช์อีสต์อินดีส (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) ในครอบครัวของชนชั้นปกครองในชวา เธอเข้าศึกษาในโรงเรัยนประถมภาษาดัตช์แห่งหนึ่ง เธอต้องการที่จะศึกษาต่อ แต่ทางเลือกนั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับเธอและเด็กหญิงคนอื่น ๆ ในสังคมชวาขณะนั้น เธอจึงตัดสินใจเขียนจดหมายติดต่อกับบุคลากรที่มีอิทธิพลในอาณานิคม เช่น เย.ฮา. อาเบนดาโนน ผู้ดำเนินการด้านนโยบายจริยธรรมดัตช์ขณะนั้น
การ์ตีนีได้เขียนจดหมายแสดงความรู้สึกอัดอั้นในใจของเธอซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารดัตช์ฉบับหนึ่ง และต่อมาได้รวมเล่มเป็น Out of Darkness to Light ("ออกจากความมืดสู่แสงสว่าง") และ Letters of a Javanese Princess ("จดหมายของเจ้าหญิงชวาพระองค์หนึ่ง") ในปัจจุบันทางการอินโดนีเซียได้ประกาศให้วันคล้ายวันเกิดของเธอเป็น วันการ์ตีนี นอกจากนี้เธอยังสนใจรหัสยลัทธิและต่อต้านการแต่งงานแบบมีคู่ครองหลายคน (polygamy) การต่อสู้เพื่อการศึกษาแก่เด็กหญิงนั้นได้รับการสืบทอดโดยน้องสาวของเธอหลังเธอเสียชีวิตลง[2] มีการนำชื่อของเธอไปตั้งเป็นชื่อโรงเรียนในเครือการ์ตีนีและกองทุนการ์ตีนีซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กหญิงชาวอินโดนีเซีย
เธอเคยได้รับเลือกให้เป็นบุคคลบนธนบัตรรูปียะฮ์สองรุ่น คือรุ่นที่จัดพิมพ์ใน ค.ศ. 1952 และ ค.ศ. 1958
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราเด็น อาเจ็ง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่แต่งงานแล้วในชนชั้นเจ้านายและข้าราชสำนัก (ปรียายี) ตามจารีตดั้งเดิมของชวา
- ↑ Indonesia 1800-1950 เก็บถาวร 2018-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Beck