ข้ามไปเนื้อหา

การโจมตีรัฐสภาเคนยา พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การโจมตีรัฐสภาเคนยา พ.ศ. 2567
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงร่างกฎหมายการเงินเคนยา
วันที่25 มิถุนายน พ.ศ. 2567
สถานที่อาคารรัฐสภา ไนโรบี ประเทศเคนยา
สาเหตุการผ่านร่างกฎหมายการเงินเคนยา พ.ศ. 2567 โดยรัฐสภาเคนยา
ผลประธานาธิบดี วิลเลียม รูโต ปฏิเสธที่จะลงนามร่างกฎหมายนี้[1]
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง
ความสูญเสีย
  • เสียชีวิต: 19 คน[a]
  • บาดเจ็บ: มากกว่า 200 คน[3]
  • ถูกจับกุม: มากกว่า 130 คน[2]

ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ผู้ประท้วงหลายพันคนบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเคนยาที่ไนโรบีเพื่อตอบสนองต่อการผ่านร่างกฎหมายการเงินเคนยา พ.ศ. 2567 สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงร่างกฎหมายการเงินเคนยา การประท้วงเริ่มบานปลายเมื่อผู้ประท้วงจุดไฟเผาอาคาร[4] มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ประท้วง 19 คน ขณะที่ตำรวจตอบสนองด้วยการยิงใส่ผู้ประท้วง[2] วันถัดมา ประธานาธิบดี วิลเลียม รูโต ปฏิเสธที่จะลงนามร่างกฎหมายนี้[1]

ภูมิหลัง[แก้]

การจู่โจมเกิดขึ้นจากการผ่านร่างกฎหมายการเงินใหม่ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ที่ต้องเผชิญกับการไม่ยอมรับจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากข้อเสนอให้เพิ่มภาษี และส่งผลให้เกิดการประท้วงนับตั้งแต่วันเปิดร่างในวันที่ 18 มิถุนายน ร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้เก็บภาษีสินค้าและบริการ สำหรับการก่อสร้างและจัดเตรียมโรงพยาบาลเฉพาะทางร้อยละ 16 และเพิ่มภาษีนำเข้าจากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 3 ข้อเสนอเบื้องต้นบางประการ รวมถึงภาษีขนมปังร้อยละ 16 และภาษีน้ำมันปรุงอาหารร้อยละ 25 ถูกยกเลิกก่อน เนื่องจากการคัดค้านของสาธารณชน[5] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านคว่ำบาตรการผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวด้วยการออกจากห้องประชุมในระหว่างการประชุมรัฐสภา[6]

การโจมตี[แก้]

หลังผ่านร่างกฎหมายไม่นาน ผู้ประท้วงที่เป็นเยาวชนจำนวนมากฝ่ากลุ่มตำรวจและเข้าไปในอาคารรัฐสภา[4] คนหลายพันคนฝ่าด่านกั้นของตำรวจและบุกโจมตีบริเวณดังกล่าว อาคารส่วนหนึ่งถูกจุดไฟเผา ขณะที่ห้องหลายห้องถูกรื้อค้น และรถยนต์ที่จอดอยู่ด้านนอกถูกทุบทำลาย[7] คทาพิธีการที่ใช้ในการดำเนินทางกฎหมายถูกขโมยไป[8] สส. ที่อยู่ข้างในอาคารหลบหนีผ่านอุโมงค์ ตำรวจก็เริ่มยิงใส่ผู้ประท้วง[4] เน็ตบล็อกส์บันทึกการหยุดชะงักทางอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ในเคนยา "ท่ามกลางการปราบปรามอย่างรุนแรงของตำรวจ"[9]

อุบัติการณ์อื่น ๆ[แก้]

สำนักงานผู้ว่าการเทศมณฑลนครไนโรบีใกล้เคียงก็ถูกวางเพลิง ผู้ประท้วงพยายามบุกเข้าอาคารรัฐสภาที่นากูรู และยังมีการประท้วงที่โมมบาซา, เอลโดเรต, คิซูมู และเญรี ส่วนที่เอ็มบู สำนักงานสหพันธมิตรประชาธิปไตยถูกวางเพลิง[4][7] มีรายงานการปล้นสะดมในกรุงไนโรบี ในขณะที่อาคารหลายแห่งที่เอลโดเรตก็ถูกจุดไฟเผาเช่นกัน[10]

ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต[แก้]

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเคนยารายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมที่ไนโรบี 19 คน และมีผู้บาดเจ็บที่ได้รับการรักษามากกว่า 160 คน[a] ส่วนทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรายงานผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน[3] เอามา โอบามา นักเคลื่อนไหว ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาขณะประท้วงที่อาคารรัฐสภา[11]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 19 คนเสียชีวิตที่รัฐสภา รวมผู้เสียชีวิตในการประท้วงทั้งหมด 22 คน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Paravicini, Giulia; Ross, Aaron (27 June 2024). "Kenya president backs down on tax hikes after deadly unrest". Reuters. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 Pietromarchi, Virginia; Gadzo, Mersiha (26 June 2024). "Kenya tax protests updates: Ruto declines signing finance bill after unrest". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
  3. 3.0 3.1 "At least 200 injured, 100 arrested in Kenya tax protests: Rights groups". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2024. สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Musambi, Evelyne (26 June 2024). "Anti-tax protesters storm Kenya's parliament, drawing police fire as president vows to quash unrest". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.
  5. Rukanga, Basillioh. "What are Kenya's controversial tax proposals?". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2024. สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.
  6. Muhumuza, Rodney (26 June 2024). "Here's what led Kenyans to burn part of parliament and call for the president's resignation". Associated Press.
  7. 7.0 7.1 "At least five killed, parliament set ablaze in Kenya tax protests". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 26 June 2024. สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.
  8. "Five killed and parliament ablaze in Kenya tax protests". BBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2024. สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.
  9. "Several killed as Kenyan police open fire on anti-tax bill protesters". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.
  10. "Activists call for new protests in Kenya following deadly police crackdown". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 26 June 2024. สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.
  11. "Obama's half-sister hit with tear gas in Kenya protests, video shows". Reuters. 25 June 2024. สืบค้นเมื่อ 26 June 2024.