ข้ามไปเนื้อหา

การแผลงเป็นอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแผลงเป็นอาหรับ (อังกฤษ: Arabization, อาหรับ: تعريب taʻrīb ตะอ์รีบ) คือการทำให้ประชากรที่เดิมทีไม่ใช่ชาวอาหรับ กลายเป็นประชากรที่พูดภาษาอาหรับ และมีวัฒนธรรมแบบชาวอาหรับ โดยในอดีต การแผลงเป็นอาหรับมักเกิดขึ้นหลักจากการที่ชาวอาหรับ ซึ่งอดีตอาศัยในอยู่บริเวณอาระเบีย (บริเวณประเทศซาอุดีอาระเบียและเยเมนปัจจุบัน) ได้พิชิตดินแดนต่าง ๆ ในช่วงการเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในศตวรรษที่ 7 ดินแดนเหล่านี้ได้แก่ แอฟริกาเหนือ (เช่น อียิปต์ มอร็อกโค แอลจีเรีย ตูนิเซีย) อิรัก จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน เป็นต้น โดยประชากรในดินแดนเหล่านี้ ไม่ได้พูดภาษาอาหรับหรือถือวัฒนธรรมอาหรับมาก่อน อาทิ ก่อนการพิชิตดินแดนโดยชาวอาหรับ ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่พูดภาษาคอปต์[1][2] ส่วนประชากรซีเรียส่วนใหญ่พูดภาษาอราเมอิก[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Haeri, N. (2003). Creating Contemporaneity. In Sacred Language, Ordinary People (pp. 73-111). Palgrave Macmillan US.
  2. Wilken, R. L. (2012). The first thousand years: a global history of Christianity. Yale University Press.
  3. Wilken, R. L. (2012). The first thousand years: a global history of Christianity. Yale University Press.