การแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ (อังกฤษ: Abilympic) เป็นการแข่งขันความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ของคนพิการ เพื่อศึกษา เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลและองค์กรด้านอาชีพคนพิการในระดับสากล ตลอดจนการแลกเปลี่ยนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีระหว่างคนพิการจากประเทศต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพ ทั้งในระดับองค์กรและตัวบุคคลให้เกิดการพัฒนาเทคนิคในการทำงาน
ในปี พ.ศ. 2528 ศาสตราจารย์ Harry Fang ชาวฮ่องกง เสนอให้จัดตั้ง สมาพันธ์ส่งเสริมความสามารถคนพิการสากล (International Abilympic Federation - IAF) ขึ้น เพื่อกำหนดข้อบังคับและมาตรฐานการจัดการแข่งขันให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และกำหนดให้ จัดการแข่งขันทุก 4 ปี
ประเทศไทย โดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ เป็นหน่วยงานในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับคนพิการ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การส่งเสริมความสามารถคนพิการสากล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524
นอกจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ แล้วยังมี คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ รับผิดชอบกิจกรรมเกี่ยวกับคนพิการ เพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำ สามารถพึ่งพาตนเองของคนพิการ และจากการประชุมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2544 คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพคนพิการขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานด้านอาชีพคนพิการ คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายเดช บุญ-หลง) ได้เล็งเห็นว่ากรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อม และมีประสบการณ์ในการจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงาน จึงได้มอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการจัดการแข่งขันฝีมือคนพิการในระดับชาติ และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดส่งคนพิการไปร่วมการแข่งขันความสามารถทางอาชีพของคนพิการระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดจะจัดระหว่างวันที่ 23 ถึง 29 พฤศจิกายน 2546 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
สาขาที่ทำการแข่งขัน
[แก้]สาขาที่จะจัดการแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ได้แบ่งผู้เข้าแข่งขันเป็น 2 กลุ่ม โดยให้มีแนวทางและสาขาที่สอดคล้องกับการแข่งขันระหว่างประเทศ ของ IAF ดังนี้
- กลุ่มผู้แข่งขันที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 21 สาขา
- การแข่งขันด้านวิชาชีพ จำนวน 17 สาขา
- การแข่งขันงานอดิเรกและทักษะในการดำรงชีวิตของผู้พิการ จำนวน 4 สาขา
- กลุ่มเด็กพิการอายุระหว่าง 8 – 14 ปี จำนวน 5 สาขา
รวม 26 สาขา
ด้านวิชาชีพ
[แก้]- การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
- การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- การเขียนหน้าเว็บ
- English Text Processing
- การวาดภาพวิศวกรรมโดยใช้โปรแกรม CAD
- English Desktop Publishing
- งานเซรามิก
- ตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ
- ตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี
- การประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการทดสอบ
- การออกแบบโปสเตอร์
- การแกะสลักไม้
- การวาดภาพสีน้ำ
- การวาดภาพสีน้ำมัน
- Billboard
- Electronic
- การขับรถยนต์
งานอดิเรกและทักษะในการดำรงชีวิตของผู้พิการ
[แก้]- งานถักลูกไม้
- งานถักไหมพรม
- งานผลิตภัณฑ์จากวัตถุเหลือใช้
- งานร้อยลูกปัด
กลุ่มเด็กพิการอายุระหว่าง 8-14 ปี
[แก้]คณะกรรมการจัดการแข่งขัน
[แก้]เพื่อให้การดำเนินการจัดการแข่งขันทักษะความสามารถทางอาชีพของคนพิการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงได้ยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวมทั้งสิ้น 16 คณะ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 มาตรา 43 ประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการดำเนินการ จำนวน 6 คณะ
- คณะอนุกรรมการจัดการแข่งขัน
- คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และนิทรรศการ
- คณะอนุกรรมการปฏิคม
- คณะอนุกรรมการสถานที่และพิธีเปิด-ปิด
- คณะอนุกรรมการวิชาการ
- คณะอนุกรรมการหารายได้
- คณะอนุกรรมการทางด้านเทคนิค จำนวน 9 คณะ/สาขา
- สาขาคอมพิวเตอร์
- สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาตัดเย็บเสื้อผ้า
- สาขาการออกแบบและวาดภาพ
- สาขาการแกะสลักไม้ และ สาขาผลิตภัณฑ์จากหวาย
- สาขาช่างเซรามิก
- สาขาสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และ สาขางานถัก
- สาขาการต่อชุดเลโก และต่อภาพจิ๊กซอ
- สาขาการขับรถยนต์
คณะอนุกรรมการทั้ง 16 คณะจะทำหน้าที่พิจารณาอำนวยการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการจัดงานแข่งขัน จัดทำข้อสอบแข่งขัน กำหนดระยะเวลาในการแข่งขัน วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ รวมทั้งเกณฑ์การให้คะแนน
สำหรับการแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2546 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับงบประมาณสำหรับจัดการแข่งขัน ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เมื่อวันที่ 30 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดยกราบทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เพื่อคัดเลือกผู้ชนะการแข่งขันเป็นตัวแทนของประเทศไทย เดินทางไปร่วมการแข่งขันทักษะความสามารถทางอาชีพของคนพิการ ครั้งที่ 6 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยจัดแข่งขันจำนวน 23 สาขา จากที่กำหนดไว้ 26 สาขา เนื่องจากไม่มีผู้สมัครเข้าแข่งขัน ในสาขา Billboard, งานคอมพิวเตอร์ และออกแบบบัตรอวยพร
การจัดการแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานยังคงยึดแนวทางการจัดงานเหมือนการแข่งขันฯ ครั้งที่ 1 แต่ได้พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น การคัดเลือกสาขาที่แข่งขัน การกำหนดเนื้อหาของแบบแข่งขัน การปรับปรุงเกณฑ์การให้คะแนน เป็นต้น
- เงินรางวัลที่ได้รับจากงบประมาณทางราชการ
- เหรียญทอง จำนวน 10,000 บาท
- เหรียญเงิน จำนวน 5,000 บาท
- เหรียญทองแดง จำนวน 3,000 บาท
- ประกาศนียบัตร (รางวัลชมเชย) จำนวน 2,000 บาท