ข้ามไปเนื้อหา

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล

พิกัด: 41°01′00″N 28°58′37″E / 41.0167°N 28.9769°E / 41.0167; 28.9769
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ส่วนหนึ่งของ สงครามไบแซนไทน์-ออตโตมันและสงครามออตโตมันในยุโรป

การล้อมคอนสแตนติโนเปิลครั้งสุดท้าย (1453), จุลจิตรกรรมฝรั่งเศสโดย Jean Le Tavernier หลัง ค.ศ. 1455
วันที่6 เมษายน – 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 (53 วัน)
สถานที่
คอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล)
41°01′00″N 28°58′37″E / 41.0167°N 28.9769°E / 41.0167; 28.9769
ผล

ออตโตมันชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • จักรวรรดิออตโตมันผนวกดินแดนที่หลงเหลือของไบแซนไทน์ คอนสแตนติโนเปิลกลายเป็นเมืองหลวงใหม่
  • โมเรียกับเทรบิซอนด์กลายเป็นรัฐตกค้างของไบแซนไทน์จนกระทั่งถูกพิชิตใน ค.ศ. 1460 และ 1461 ตามลำดับ
  • คู่สงคราม
    ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
    กำลัง
    ออตโตมัน
    กองทัพบก:

    พลธนู 40,000 นาย ทหารราบ 40,000 นาย

      • ทหารม้าเซอร์เบีย 1,500 นาย[2]

    กองทัพเรือ:

    ไบแซนไทน์
    กองทัพบก:
    • 7,000–10,000 นาย
    • ผู้แปรพักตร์ 600 นาย[3]
    • พลธนู 200 นาย[4]
    • ไม่ทราบจำนวนบริวารกาตาลา

    กองทัพเรือ: เรือ 26 ลำ

    ความสูญเสีย
    ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่คาดว่าเสียหายหนัก ถูกฆ่า 4,000 นาย[5]
    ถูกจับเป็นทาส 30,000 นาย[6][7]

    การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล (กรีกโบราณ: Ἅλωσις τῆς Κωνσταντινουπόλεως, อักษรโรมัน: Hálōsis tē̂s Kōnstantīnoupóleōs; ตุรกี: İstanbul'un Fethi, แปลตรงตัว'การพิชิตอิสตันบูล') เป็นการยึดครองเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 6 เมษายน แล้วตัวเมืองถูกยึดครองในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453[8][9] รวมเวลาล้อมเมือง 53 วัน

    สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 (ภายหลังเรียกเป็น "เมห์เหม็ดผู้พิชิต") ในพระชนมายุ 21 พรรษา เป็นผู้บัญชาการกองทัพออตโตมัน ส่วนจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 เป็นผู้บัญชาการกองทัพไบแซนไทน์ หลังพิชิตเมืองนี้ เมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตั้งเมืองนี้เป็นเมืองหลวงใหม่ของออตโตมันแทนเอดีร์แน

    การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และทำให้จักรวรรดิโรมัน ซึ่งเริ่มต้นใน 27 ปีก่อนคิรสต์ศักราช สิ้นสุดลง โดยอยู่ได้นานเกือบ 1,500 ปี[10] การยึดครองคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นจุดแบ่งระหว่างยุโรปกับเอเชียน้อย ทำให้ออตโตมันสามารถโจมตียุโรปภาคพื้นดินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ในภายหลัง ออตโตมันสามารถควบคุมคาบสมุทรบอลข่านส่วนใหญ่ได้

    การพิชิตคอนสแตนติโนเปิลและการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์[11] เป็นเหตุการณ์สำคัญในสมัยกลางตอนปลาย และถือเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยกลาง[12] ในสมัยโบราณ มีการป้องกันเมืองและปราสาทด้วยป้อมปราการและกำแพงเพื่อต้านทานผู้บุกรุก ตัวป้องกันคอนสแตนติโนเปิล โดยเฉพาะกำแพงเทโอโดเซีย (Theodosian Walls) เป็นหนึ่งในระบบป้องกันที่ทันสมัยที่สุดในยุโรปและโลก อย่างไรก็ตาม ปราการสำคัญเหล่านี้ถูกพิชิตด้วยการใช้ดินปืน โดยเฉพาะในรูปของปืนใหญ่และระเบิด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสงครามปิดล้อมที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง[13]

    ประวัติย่อ

    [แก้]

    หลังจากการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านเมห์เมดแล้ว พระองค์ก็ทรงเพิ่มความกดดันต่อคอนสแตนติโนเปิลโดยการทรงสร้างเสริมป้อมปราการตามชายฝั่งช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) เมื่อวันที่ 2 เมษายน พระองค์ก็ทรงเข้าล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมด้วยกองทัพราวระหว่าง 80,000 ถึง 200,000 คน ตัวเมืองมีทหารรักษาราว 7,000 คนในจำนวนนั้น 2,000 เป็นชาวต่างประเทศ การล้อมเริ่มต้นด้วยการโจมตีด้วยการยิงกำแพงเมืองอย่างรุนแรงจากฝ่ายออตโตมันขณะที่กองทหารอีกจำนวนหนึ่งไปยึดที่ตั้งมั่นของฝ่ายไบแซนไทน์ในบริเวณนั้น แต่ความพยายามที่ปิดเมืองในระยะแรกโดยฝ่ายออตโตมันไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เรือกองหนุนของฝ่ายคริสเตียนสี่ลำเดินทางเข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิลได้ สุลต่านเมห์เมดจึงมีพระราชโองการให้นำเรือของพระองค์เข้าไปยังแหลมทอง (Golden Horn) โดยการลากขึ้นไปบนขอนไม้ที่ทำให้ลื่น ความพยายามของฝ่ายไบแซนไทน์ที่จะเผาเรือจึงไม่สำเร็จและสามารถทำให้ฝ่ายออตโตมันในที่สุดก็ปิดเมืองได้

    การโจมตีกำแพงเมืองของฝ่ายตุรกีได้รับการโต้ตอบอย่างเหนียวแน่นจากฝ่ายไบแซนไทน์ที่ทำให้ต้องเสียกองกำลังไปเป็นจำนวนมาก และความพยายามที่จะระเบิดกำแพงเมืองลงก็ได้รับการตอบโต้เช่นกันจนในที่สุดก็ต้องเลิก สุลต่านเมห์เมดทรงเสนอว่าจะยุติการล้อมเมืองถ้าคอนสแตนติโนเปิลยอมให้พระองค์เข้าเมืองแต่ก็ไม่เป็นผล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ก็เกิดจันทรุปราคาที่เป็นลางถึงการเสียเมือง สองสามวันต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทรงได้รับข่าวว่าจะไม่มีกองหนุนจากสาธารณรัฐเวนิสมาช่วย หลังเที่ยงคืนของวันที่ 29 พฤษภาคมกองทัพออตโตมันก็เข้าโจมตีกำแพงเมือง ระลอกแรกไม่ประสบความสำเร็จ ระลอกสองสามารถเจาะกำแพงทางตอนเหนือได้ แต่ฝ่ายไบแซนไทน์ก็สามารถตีฝ่ายออตโตมันกลับไปได้และสามารถยืนหยัดต่อต้านจานิสซารี กองทหารชั้นเอกของออตโตมันได้ ระหว่างการต่อสู้จิโอวานนิ จุสติเนียนินายทัพจากเจนัวก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องถอยกลับไปยังเรือกับกองทหารและเสียชีวิตในที่สุด ทางด้านจักรพรรดิคอนสแตนตินพระองค์และกองทหารก็ดำเนินการต่อต้านต่อไปจนกระทั่งฝ่ายตุรกีเปิดประตูเมืองและบุกเข้าไปในเมืองพร้อมกับกองทหารเป็นจำนวนมากได้ กล่าวกันว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกสังหารระหว่างการต่อสู้แต่ก็มิได้พบพระวรกายของพระองค์ จากนั้นฝ่ายตุรกีก็ปล้นเมือง

    การเสียเมืองครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสิ้นเชิงหลังจากที่รุ่งเรืองมากว่า 1,100 ปี และเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคริสต์ศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงมีโองการให้โจมตีโต้ตอบทันทีแต่พระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากที่ทรงวางแผน สุลต่านเมห์เมดทรงประกาศให้คอนสแตนตินโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงดำเนินการโจมตีและพิชิตอาณาจักรของไบแซนไทน์อีกสองอาณาจักรได้--อาณาจักรเดสโพเททแห่งโมเรียและจักรวรรดิเทรบิซอนด์

    ชาวกรีกที่ยังเหลืออยู่ในคอนสแตนตินโนเปิลก็หนีไปยังส่วนต่างๆ ของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี การเคลื่อนย้ายของประชากรครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าการเสียเมืองคอนสแตนตินโนเปิลเป็นเหตุการณ์หลักที่นำไปสู่การสิ้นสุดของยุคกลาง และนักประวัติศาสตร์บางท่านก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายของการสิ้นสุดพร้อมกับการสิ้นสุดของสงครามร้อยปี[14]

    สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตขณะกำลังเข้าประตูเมืองคอนสแตนติโนเปิล
    สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตขณะกำลังเข้าประตูเมืองคอนสแตนติโนเปิล

    ดูเพิ่ม

    [แก้]

    หมายเหตุ

    [แก้]
    1. ใน ค.ศ. 1447–48 เผด็จการเซอร์เบีย Đurađ Branković ให้ทุนแก่ไบแซนไทน์เพื่อปรับปรุงกำแพงเมืองคอนสแตนติโนเปิล แต่เนื่องจากเป็นรัฐบริวารของออตโตมัน พระองค์จึงต้องส่งทหารหนึ่งพันนายเพื่อช่วยเหลือสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 พิชิตคอนสแตนติโนเปิลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1453[1]
    2. ข้อมูลตะวันตก"ทำให้เกินจริง"ที่ระหว่าง 160,000 ถึง 300,000

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. Cirkovic, Sima (2008). The Serbs (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. pp. 101–102. ISBN 978-1-4051-4291-5.
    2. Buc, Philippe (14 March 2020). "One among many renegades: the Serb janissary Konstantin Mihailović and the Ottoman conquest of the Balkans". Journal of Medieval History. 46 (2): 217–230. doi:10.1080/03044181.2020.1719188. ISSN 0304-4181. S2CID 214527543.
    3. "İstanbul'un fethinde 600 Türk askeri, Fatih'e karşı savaştı" [In the Conquest of Istanbul 600 Turkish Military Fought Against the Conqueror]. Osmanlı Arauştırmalarlı (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2015. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
    4. Nicol, Donald M. (2002). The Immortal Emperor: The Life and Legend of Constantine Palaiologos, Last Emperor of the Romans (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 57. ISBN 978-0-521-89409-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018.
    5. Nicolle 2000, p. 41.
    6. Mansel, Philip. "Constantinople: City of the World's Desire 1453–1924". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2019. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020.
    7. M.J Akbar (3 May 2002). The Shade of Swords: Jihad and the Conflict Between Islam and Christianity. Routledge. p. 86. ISBN 978-1-134-45259-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 6 August 2020. Some 30,000 Christians were either enslaved or sold.
    8. "Σαν σήμερα "έπεσε" η Κωσταντινούπολη". NewsIT. 29 May 2011.
    9. Durant, Will (1300). The story of civilisation: Volume VI: The Reformation. p. 227. CiteSeerX 10.1.1.457.975.
    10. Momigliano & Schiavone (1997), Introduction ("La Storia di Roma"), p. XXI
    11. Frantzes, Georgios; Melisseidis (Melisseides), Ioannis (Ioannes) A.; Zavolea-Melissidi, Pulcheria (2004). Εάλω η ΠόλιςΤ•ο χρονικό της άλωσης της Κωνσταντινούπολης: Συνοπτική ιστορία των γεγονότων στην Κωνσταντινούπολη κατά την περίοδο 1440 – 1453 [The City has Fallen: Chronicle of the Fall of Constantinople: Concise History of Events in Constantinople in the Period 1440–1453] (ภาษากรีก) (5 ed.). Athens: Vergina Asimakopouli Bros. ISBN 9607171918.
    12. Foster, Charles (22 September 2006). "The Conquest of Constantinople and the end of empire". Contemporary Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2009. It is the end of the Middle Ages)
    13. "The fall of Constantinople". The Economist. 23 December 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2017. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
    14. Roger Crowley, Constantinople: The Last Great Siege, 1453. Faber, 2006. ISBN 0-571-22185-8 (reviewed by Charles Foster, "The fall of Constantinople and the end of empire". Contemporary Review, September 22, 2006 ("Some say the Middle Ages ended then").

    บรรณานุกรม

    [แก้]

    อ่านเพิ่ม

    [แก้]
    • Babinger, Franz (1992): Mehmed the Conqueror and His Time. Princeton University Press. ISBN 0-691-01078-1.
    • Fletcher, Richard A.: The Cross and the Crescent (2005) Penguin Group ISBN 0-14-303481-2.
    • Harris, Jonathan (2007): Constantinople: Capital of Byzantium. Hambledon/Continuum. ISBN 978-1-84725-179-4.
    • Harris, Jonathan (2010): The End of Byzantium. Yale University Press. ISBN 978-0-300-11786-8.
    • Melville-Jones, John R. (1972). The Siege of Constantinople 1453: Seven Contemporary Accounts. Amsterdam: Adolf M. Hakkert. ISBN 90-256-0626-1.
    • Momigliano, Arnaldo; Schiavone, Aldo (1997). Storia di Roma, 1 (ภาษาอิตาลี). Turin: Einaudi. ISBN 88-06-11396-8.
    • Murr Nehme, Lina (2003). 1453: The Conquest of Constantinople. Aleph Et Taw. ISBN 2-86839-816-2.
    • Pertusi, Agostino, บ.ก. (1976). La Caduta di Costantinopoli, II: L'eco nel mondo [The Fall of Constantinople, II: The Echo in the World] (ภาษาอิตาลี). Vol. II. Verona: Fondazione Lorenzo Valla.
    • Philippides, Marios and Walter K. Hanak, The Siege and the Fall of Constantinople in 1453, Ashgate, Farnham and Burlington 2011.
    • Smith, Michael Llewellyn, "The Fall of Constantinople", in History Makers magazine No. 5 (London, Marshall Cavendish, Sidgwick & Jackson, 1969) p. 192.
    • Wheatcroft, Andrew (2003): The Infidels: The Conflict Between Christendom and Islam, 638–2002. Viking Publishing ISBN 0-670-86942-2.
    • Wintle, Justin (2003): The Rough Guide History of Islam. Rough Guides. ISBN 1-84353-018-X.

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]