การเสียชีวิตของภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์
แม่น้ำเจ้าพระยาและสะพานพระราม 7 บริเวณที่ภัทรธิดาพลัดตกจากเรือ | |
วันที่ | 24–26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 |
---|---|
เวลา | ประมาณ 22:30 น.[1][2] |
ที่ตั้ง | แม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
ประเภท | อุบัติเหตุ[ต้องการอ้างอิง] |
สาเหตุ | พลัดตกจากเรือ |
ผู้เข้าร่วม | |
ผล | ร่างของนิดาลอยขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และพบว่าเสียชีวิต |
ไต่สวน | สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี |
ชันสูตร | นิดาเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ พบทรายในปอด (ดูในบทความ) |
จนท. ชันสูตร | คณะแพทย์ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม |
ต้องหา |
|
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลาประมาณ 23:00 น. เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูได้รับแจ้งเหตุคนพลัดตกจากเรือสปีดโบ๊ตในแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เมื่อมาถึงทราบว่า ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หนึ่งในผู้โดยสารบนเรือเป็นผู้ประสบเหตุ จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงเริ่มค้นหานิดาจนถึงเวลา 13.10 น. ของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ปรากฏว่าภัทรธิดาเสียชีวิต[2]
เหตุการณ์
[แก้]วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.50 น. นิดาเดินทางออกจากที่พักเพื่อไปร่วมรับประทานอาหารกับกลุ่มเพื่อนจำนวนห้าคน ได้แก่ นายตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ เจ้าของเรือลำที่เกิดเหตุ (หรือ ปอ), นางสาวอิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ ผู้จัดการส่วนตัว (หรือ กระติก), นายวิศาพัช มโนมัยรัตน์ (หรือ แซน), นายนิทัศน์ กีรติสุทธิสาธร (หรือ จ๊อบ) และนายไพบูลย์ ตรีกาญจนานันท์ คนขับเรือ (หรือ โรเบิร์ต) ที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนลงเรือสปีดโบ๊ตเพื่อล่องเรือถ่ายรูปเล่น ตั้งแต่เวลา 20.00 น. จนกระทั่งเวลาประมาณ 22:32 น. ระหว่างล่องเรือถ่ายรูปบริเวณสะพานพระราม 7 นิดาได้พลัดตกจากเรือลงแม่น้ำเจ้าพระยาและหายตัวไป ซึ่งหลังจากเกิดเหตุกลุ่มคนบนเรือได้วนเรือค้นหาบริเวณดังกล่าวร่วม 30 นาที ก่อนเจ้าหน้าที่ทีมชุดประดาน้ำร่วมกตัญญู ศรัณยู ประชากริช, นาคร ศิลาชัย และสายธาร นิยมการณ์ เดินทางมาถึงเพื่อเริ่มลงพื้นที่ค้นหาในเวลา 00:20 น. ของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565[4][5] ต่อมาในเวลาประมาณ 01:00 น. พี่ชายของนิดามาถึงบริเวณจุดเกิดอุบัติเหตุและพยายามติดต่ออิจศรินทร์แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ขณะที่แม่ของนิดากล่าวกับสนุกดอตคอม ว่าอิจศรินทร์ไม่ได้แจ้งถึงความคืบหน้าหรือติดต่อเธอเลย และไม่ทราบว่าอิจศรินทร์อยู่ที่ไหน รวมถึงมีบุคคลไม่เปิดเผยนาม พยายามนำตัวแม่ของนิดาออกจากพื้นที่ไป ซึ่งระหว่างที่กำลังพาออกไปแม่ของนิดาได้กล่าวว่า "แม่ว่าปิดข่าวไม่ได้หรอกนะ"[6][7] ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ยุติภารกิจการค้นหานิดาลงชั่วคราวในเวลา 06:30 น. หลังกระแสน้ำแรงขึ้นและเริ่มมีเรือสัญจร เพื่อวางแผนการค้นหาใหม่[1] ส่วนเอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ อาสาช่วยค้นหาถึง 10 กิโลเมตรในที่เกิดเหตุ[8] พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อาสากู้ภัยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มาเป็นกำลังเสริมช่วยค้นหา[9]
ต่อมาในเวลา 8.00 น. เจ้าหน้าที่ทีมชุดประดาน้ำร่วมกตัญญูและชุดเรือตรวจการณ์กองทัพเรือ[10] ได้เริ่มภารกิจค้นหาร่างนิดาต่อ ก่อนยุติภารกิจอีกครั้งในเวลา 16:00 น. เนื่องจากน้ำทะเลหนุนและคลื่นลมแรง โดยภายหลังยุติภารกิจ เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งลงความเห็นว่าด้วยเวลาที่ผ่านไปนาน นิดาคงเสียชีวิตลงแล้ว จึงเปลี่ยนภารกิจจากการงมลงไปหาในน้ำ เป็นการค้นหาบริเวณผิวน้ำร่วมกับการใช้โดรนค้นหาตั้งแต่เวลา 17.00 น. แต่ก็ไม่พบ จนเวลาประมาณ 13:10 น. ของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากประชาชนบริเวณใกล้เคียงว่าพบวัตถุที่รูปร่างคล้ายมนุษย์ลอยขึ้นผิวน้ำบริเวณใกล้เคียงท่าเรือพิบูลสงคราม 1 และในขณะที่พี่ชายของนิดาได้ขับเรือไปที่ตรงนั้นพอดี พบว่าเป็นร่างผู้หญิงลอยขึ้นมา จึงประสานงานเจ้าหน้าที่เพื่อนำร่างขึ้นท่าเรือพิบูลสงคราม 1 ก่อนให้ญาติคือแม่และพี่ชายยืนยันอัตลักษณ์ในเบื้องต้น ทั้งคู่ให้การว่าคือนิดา เจ้าหน้าที่จึงบันทึกเวลาเสียชีวิตและนำร่างไปชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งจากการสอบรายละเอียด พบว่าจุดที่ร่างนิดาลอยขึ้นมา เป็นจุดที่มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์และแฟนสาวได้เข้าไปทำพิธีขอขมาในช่วงเช้า ตามที่มีประชาชนใกล้เคียงนำสิ่งของมาแขวนไว้ให้ และใกล้เคียงจุดที่แจ้งว่าพลัดตกราว 50 เมตร ห่างจากท่าเรือพิบูลสงคราม 1 ราว 300 เมตร[11][12]
การชันสูตร
[แก้]ภายหลังการชันสูตรเบื้องต้น พบบาดแผลถูกฟันเหวอะจนเห็นกระดูกบริเวณต้นขาด้านซ้าย คาดว่าน่าจะเป็นแผลจากใบพัดของเรือสปีดโบ๊ตที่นิดาพลัดตกลงมา และด้วยความลึกของแผลน่าจะทำให้ขาซ้ายใช้การไม่ได้ อันเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมนิดาที่ว่ายน้ำเก่ง ถึงไม่สามารถเอาตัวรอดได้ รวมถึงพบทรายบริเวณใบหน้าและอัดภายในปอดเป็นจำนวนมาก คาดว่าร่างคงตกลงไปจนถึงท้องน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนลอยขึ้นมา และชุดที่นิดาใส่อยู่เป็นชุดบอดี้สูท จึงทำให้คำให้การเรื่องที่นิดาลงไปปัสสาวะก่อนตกลงไปนั้นไม่มีมูลทันที เพราะชุดถอดออกยากมาก และต้องถอดจากบนลงล่างอย่างเดียว ต่อมาญาติได้แจ้งว่านิดาประสงค์บริจาคร่างกายให้เป็นอาจารย์ใหญ่ รวมถึงประสงค์ที่จะบริจาคอวัยวะบางอย่างที่ยังใช้การได้ต่อไป[13][14] แต่ทีมแพทย์ระบุว่าร่างกายนิดาไม่สามารถใช้เป็นอาจารย์ใหญ่ได้เนื่องจากบวมน้ำเป็นเวลานาน ญาติจึงนำร่างไปทำพิธีกรรมทางศาสนาที่คริสตจักรเสรีภาพกรุงเทพ ในวันที่ 11 ถึง 13 มีนาคม พ.ศ. 2565[15] และมีกำหนดการนำร่างไปฌาปนกิจที่คริสตจักรเมธอดิสท์รังสิต คลองสี่ และฌาปนสถาน ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565[16] แต่พิธีก็ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด[17]
ต่อมา พลตำรวจโทจิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการภูธรภาค 1 เผยผลชันสูตรร่างนิดา พบว่านิดาเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการสำลักน้ำเป็นจำนวนมากในระหว่างที่ยังมีชีวิต ในปอด หลอดลม โพรงลม และกระเพาะอาหารยังพบน้ำและโคลนเป็นจำนวนมาก และพบกระเพาะปัสสาวะเสียหาย หูรูดเปิดกว้างเนื่องมาจากสภาพศพเริ่มเน่าเปื่อยเพราะอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน และมีน้ำที่ไม่ใช่น้ำปัสสาวะอยู่ภายในทำให้ไม่สามารถตรวจสอบปัสสาวะได้[18]
คดีความ
[แก้]เวลา 6.00 น. ของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ แม่ของนิดา ได้เข้าแจ้งความบุคคลสูญหายต่อสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ออกหมายเรียกให้บุคคลทั้ง 5 ที่อยู่บนเรือด้วยกันคือ ตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ , อิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ , นาย วิศาพัช มโนมัยรัตน์ , นาย นิทัศน์ กีรติสุทธิสาธร และ นาย ไพบูลย์ ตรีกาญจนานันท์ เข้าสอบสวน[19] แต่ทั้งหมดบ่ายเบี่ยงในการเข้าให้ปากคำและไม่มาให้ปากคำตามนัด โดยอ้างว่าขอคุยกับทนายก่อน[20]
ต่อมาศาลจังหวัดนนทบุรี มีคำสั่งอนุมัติหมายจับ ตนุภัทร และไพบูลย์ ผู้ที่อยู่ร่วมในที่เกิดเหตุ 2 จาก 5 คน ในข้อหาฝ่าฝืนใช้เรือที่ไม่ได้รับอนุญาตใช้เรือ หรือที่ใบอนุญาตใช้เรือสิ้นอายุแล้ว หรือผิดไปจากเขตหรือตำบล และกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย[21] ซึ่งกรณีของ 5 คนบนเรือนั้นนักจิตวิทยาสามารถประเมินได้ว่าภาวะการคิด การตัดสินใจ และสภาพจิตเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีเครื่องมือในการประเมินซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี โดยแพทย์นิติเวชต้องดูลักษณะของศพซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุใด ร่องรอยบาดแผลตามร่างกายน่าจะเกิดจากโดนวัตถุชนิดใด โดยจะนำวัตถุนั้นไปเปรียบเทียบกับร่องรอยบาดแผล เช่น มีการถอดใบพัดเรือไปเปรียบเทียบกับบาดแผลที่พบที่ขาของนิดา[22] ตำรวจยังสั่งฟ้องนาย ภีม ธรรมธีรศรี ในข้อหาช่วยเหลือผู้ต้องหาให้การเป็นเท็จ นายษิทรา เบี้ยบังเกิด ข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณารวมผู้ต้องหาคดีนี้ 7 ราย[ต้องการอ้างอิง]
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดเผยว่นจ่ายเงินให้แม่ของนางนิดา จำนวน 1.1 แสนบาท[23] ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติให้กลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียงในเดือน กรกฎาคม ปีเดียวกันนางภนิดาได้เปิดเผยว่าขายเสื้อผ้าของภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ได้เงินมา 43,000 บาท[24]
ต่อมา นาง พนิดา ศิริยุทธโยธิน ยอมรับเงื่อนไขค่าสินไหมและไม่ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องในคดีการเสียชีวิตของแตงโม โดยได้รับเงินรวม 2 ล้านบาท เป็นเงินสดจำนวน 400,000 บาท, แคชแชียร์เช็คฉบับละ 800,000 บาท 2 ฉบับ และต่างหูมุกมูลค่าประมาณ 50,000 บาท[25] ที่แซนมอบให้เป็นกรณีพิเศษ[26] ผลการเจรจาดูเหมือนจะจบลงด้วยดี โดยจำเลยวางเงินต่อศาล 2 ล้านบาท เป็นเงินสด 4 แสนบาท แคชเชียร์เช็ค 2 ฉบับ ฉบับละ 8 แสนบาท พร้อมทำสัญญาดูแลแม่อีกเดือนละ 3 หมื่นบาท เป็นเวลา 20 ปี หรือจนกว่าจะเสียชีวิตโดยไม่ตกถึงทายาท รวมต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 9,250,000 บาท[27][28]
ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 ปรากฎว่านางภนิดาต้องการเรียกเงินเพิ่ม 40.8 ล้านบาท[29] โดยแม่ของนิดาเปิดเผยว่าต้องการเงินเป็นจำนวน 50 ล้านบาท[30]
ปฏิกิริยา
[แก้]การเสียชีวิตของนิดาเต็มไปด้วยความเคลือบแคลงและข้อสงสัยหลายประการทั้งจากสังคมและผู้ใช้สื่อโซเชียล โดยเฉพาะการยืนยันพยานบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ รวมถึงมีความพยายามบ่ายเบี่ยงในการเข้าให้ปากคำ อันเป็นเหตุให้บุคคล 2 ใน 5 คนที่อยู่บนเรือด้วยกันถูกศาลจังหวัดนนทบุรีอนุมัติออกหมายจับ มีการให้ปากคำไม่ตรงกันระหว่างญาติของนิดาและกลุ่มบุคคลที่อยู่บนเรือ ซึ่งมี อิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ ผู้จัดการส่วนตัวและมารดาของ อีสเตอร์ บุตรบุญธรรมของนิดา ร่วมอยู่ด้วย และมีความพยายามในการปกปิดและทำลายหลักฐาน ด้วยการนำเรือที่เกิดเหตุไปซ่อนไว้ จึงทำให้ประชาชนที่ติดตามข่าวสารและเป็นกลุ่มแฟนคลับของนิดาเชื่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะเป็นการฆาตกรรมมากกว่าอุบัติเหตุทั่วไป เพราะมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง[31][32] นางพนิดา ศิริยุทธโยธิน มารดาของนิดา พัชรวีระพงษ์ ได้ออกรายการโหนกระแส กับกรรชัย กำเนิดพลอย กรณีการเสียชีวิตว่า ปอ หนึ่งในคนที่อยู่ในเรือวันเกิดเหตุจะเยียวยา โดยคำนวณจากแตงโมแสดงภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์จะได้ค่าตัวประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านบาท คูณกับ 30 ปีของชีวิตของนิดา คร่าว ๆ จะได้ค่าเยียวยาประมาณ 30 ล้านบาท[33] โดยหลังจบรายการ พนิดาได้เดินทางกลับไปขึ้นรถ ระหว่างนั้น สื่อมวลชนได้พยายามขอสัมภาษณ์ แต่พนิดาได้พยายามบ่ายเบี่ยงตอบคำถาม และขอให้ไปสัมภาษณ์ในทีวี ส่วนเรื่องเงิน 30 ล้านบาท พนิดาแจ้งว่า ยังไม่ได้ตกลงกัน หากแต่เป็นเพียงตัวเลขที่เปรียบเทียบขึ้นมา[34]
ภายหลังเสียชีวิต
[แก้]ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 นางพนิดา ได้แสดงความประสงค์จะยึดกรมธรรม์อุบัติเหตุที่ลูกสาวมอบให้แก่ลูกของเพื่อนสนิทโดยกรมธรรม์ดังกล่าว[35] นางสาวภัทรธิดาได้มาจากการออกทีวีรายการหนึ่ง นางพนิดาเปิดเผยว่าไม่พอใจ นางสาว ฉันท์ชนะ ยิ้มสาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ ต่อมามีนางพนิดาตำหนินาย วรินทร วัตรสังข์ (หรือ แอนนา)[36] เกี่ยวกับสถานที่จัดพิธีศพผ่าน รายการโหนกระแส ต่อมาเจ้าภาพงานศพถอนตัวทันทีถึงสี่รายและประกาศจะไม่เกี่ยวข้องกับงานศพยกเว้นเพียงแต่เข้าร่วมเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
ส่งผลให้เกิดข้อวิจารณ์ตามมาเนื่องจากเป็นเจตนารมย์ของลูกสาวที่ต้องการช่วยเหลือลูกสาวของเพื่อน และตามกฎหมายไทยไม่สามารถกระทำได้ อีกทั้งนางพนิดาได้กล่าวหาทำนองว่ามีเพื่อนสนิท อิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ นั้นฉ้อโกง[37] นับเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ที่ทำให้ นางพนิดาถูกสังคมไทยวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก รวมถึงสงสัยเกี่ยวกับการจัดงานศพที่เพื่อนสนิทลูกสาวไม่ได้รับผลประโยชน์แต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง]
จุดแตกหักมาถึงเมื่อนางพนิดา ปลดทนายความออกและมีทนายความลาออก[38] โดยทนายความรายหนึ่งระบุว่าไม่สามารถรับได้ที่นางพนิดาให้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวของลูกสาวกับ Mr.Zulqarnain Raja Haider หรือ บังแจ๊ค ชาวปากีสถานที่มีคดีความถูกเนรเทศถึงขั้นห้ามเข้าประเทศไทย[39] เพื่อให้กู้ข้อมูลภายในโทรศัพท์[40] ซึ่งเป็นสุ่มเสี่ยงที่จะมีภาพหรือเอกสารส่วนตัวในโทรศัพท์เครื่องดังกล่าว[41] อีกทั้งก่อนหน้านี้นางพนิดาได้แต่งตั้งบุคคลที่มีหมายจับเป็นทนายความในคดีของนางสาวภัทรธิดา[42]
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ผู้ต้องหาได้จัดงานเลี้ยงวันเกิดให้นางพนิดาอีกด้วย อีกทั้งนางพนิดาได้เปิดเผยว่า รับเป็นเหมือนลูกชายในงานเลี้ยงได้มีการมอบของขวัญอีกจำนวนหนึ่ง[43] ซึ่งนับเป็นอีกครั้งที่สังคมไทยได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุใดนางพนิดา จึงรับ คุณโรเบิร์ตคนขับเรือ และ คุณปอเจ้าของเรือ เป็นลูกชายในขณะที่เพื่อนสนิทของลูกสาวนั้นไม่ได้รับความเชื่อถือจากนางพนิดาเลยซ้ำยังถูกตำหนิกล่าวหาว่าฉ้อโกง ในเวลาต่อมานางพนิดาได้ระบุว่า อภัยให้ ปอ กับ โรเบิร์ต 100 %[44] แต่ไม่ไว้ใจและไม่ให้อภัยนาย วรินทร วัตรสังข์ (หรือ แอนนา) และ นางสาว ฉันท์ชนะ ยิ้มสาย (หรือ ฮิปโป) ซึ่งส่งผลให้เกิดคำถามตามมาว่าเหตุใดคนที่ไม่ได้อยู่บนเรือจึงไม่ได้รับการให้อภัยแต่บุคคลที่เป็นเจ้าของเรือและคนขับเรือกลับได้รับการให้อภัย 100 %[ต้องการอ้างอิง]
ในปี พ.ศ. 2566 ผู้ใช้สื่อโซเชียล มีปฎิกิริยาอีกครั้งเนื่องจากนางพนิดา เปิดเผยว่าต้องการเงินทั้งหมด 50 ล้านบาท โดยก่อนหน้านางพนิดาได้รับเงินจากเนื่องจากการเสียชีวิตของลูกสาวตัวเอง รวมจำนวน 9,403,000 เก้าล้านสี่แสนสามพันบาท (จำนวนนี้นับตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2565 - กันยายน พ.ศ. 2585) โดยมาจากการขายเสื้อผ้าของลูกสาว 43,000 เงินที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจ่าย 110,000 เงินที่ตกลงกันไว้เพื่อยุติคดีความจำนวน 9,200,000 บาท ต่างหูไข่มุกมูลค่า 50,000 บาท อีกทั้งมีผู้ต้องหารับปากจะซื้อรถยนต์ให้นางพนิดา[45] โดยนางพนิดาระบุว่ารถของลูกสาวนั้นคันใหญ่เกินไป[ต้องการอ้างอิง]
นางพนิดายังระบุถึงหลักฐานใหม่[46] เป็นกล้องบันทึกหน้ารถซึ่งสร้างความสับสนเป็นอย่างมากว่านางพนิดาได้มาได้อย่างไรเนื่องจากตำรวจยึดทุกอย่างไว้ตรวจสอบรวมถึงรถยนต์คันดังกล่าว[47] โดยเฉพาะการเปิดเผยหลักฐานภายหลังตำรวจทำการสืบสวนสอบสวนมากว่าหนึ่งปี[ต้องการอ้างอิง]
ในขณะที่ วิศาพัช มโนมัยรัตน์ เพื่อนสนิทได้เปิดเผยว่าได้ฟ้องร้องนางพนิดาเรียกเงิน 40.8 ล้านบาท[48] เช่นเดียวกัน เปิดเผยว่าต้องการเงิน 50 ล้านบาท[49] ส่งผลให้การเสียชีวิตของภัทรธิดา มีจำนวนเงินที่ฟ้องร้องกันไปมา 90.8 ล้านรวมกับเงินที่ได้ตกลงว่าจะมอบให้ 9.2 ล้านบาทและมูลค่าของขวัญต่างหูไข่มุก 50,000 บาท รวมทั้งสิ้น 100,050,000 บาท ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ได้มีการเปิดเผยว่ามีการจ่ายเงินโบนัสรายปี ดังนั้นรวมจำนวนเงินทั้งสิ้นมากกว่า[50] 100,050,000 บาท นับเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดในการฟ้องร้องเรียกทรัพย์สินเนื่องจากการเสียชีวิตในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
28 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายวิศาพัช มโนมัยรัตน์ ออกมาเปิดเผยว่าตนเองถูกทนาย ษิทรา เบี้ยบังเกิด วางแผนให้เป็นผู้เสียหายทางคดี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สรุปปฏิบัติการค้นหา "แตงโม นิดา" 40 ชั่วโมง เกิดอะไรขึ้น-ใครพูดอะไรบ้าง". สนุกดอตคอม. 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 "เพื่อนเล่านาทีช็อก นิดา พลัดตกเรือ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จมหายต่อหน้า". ข่าวสด. 2022-02-24.
- ↑ ทร.ส่งมนุษย์กบ-เรือเร็วจู่โจม เร่งค้นหาดาราสาว - เดลินิวส์
- ↑ "เพื่อนเล่านาทีช็อก นิดา พลัดตกเรือ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จมหายต่อหน้า". ข่าวสด. 2022-02-24.
- ↑ ต่าย สายธาร โชว์ความแสบทรมานทั้งแขน เผยความรู้สึกทำเพื่อแตงโม ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565
- ↑ "เปิดคลิป แม่ นิดา โทรคุยกับเพื่อนลูก ประโยคสำคัญ "แม่ว่ามันปิดไม่ได้หรอกนะ"". สนุกดอตคอม. 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แห่แชร์คลิป เพื่อนแตงโมคุยแม่ให้ปิดข่าว สงสัยไม่ช่วยทันที #แตงโม พุ่ง". ข่าวสด. 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ไทด์ เอกพันธ์ นำทีมปูพรมค้นหา แตงโม นิดา ในรัศมีน่านน้ำ 10 กิโลเมตร อัมรินทร์ สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ โผล่พบ ตร.แล้ว 5 คน เพื่อนแตงโมก๊วนเรือสปีดโบ้ต ปิดปากเงียบ พี่ชายเผยติดใจเหตุการณ์ ยังหวังน้องยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ "กองทัพเรือ เริ่มภารกิจปูพรมค้นหา แตงโม เรือตรวจการณ์ 3 ลำ ตั้งแถวหน้ากระดาน". ไทยรัฐ. 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! เจ้าหน้าที่ พบร่าง 'แตงโม' นิดา แล้ว หลังสูญหายนาน 2 วัน". มติชน. 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! เจอร่าง "แตงโม นิดา" แล้ว หลังตกเรือจมหายแม่น้ำเจ้าพระยา". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ศพแตงโม ถึงนิติเวช รพ.ตำรวจ ไทด์ เอกพันธ์ ระบุพบบาดแผลถูกฟัน 1 แห่ง". ไทยรัฐ. 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน!! ผลชันสูตรเบื้องต้น "แตงโม" ออกแล้ว พบทรายอัดในปอด ศพใส่บอดี้สูท". พีพีทีวี เอชดี. 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปลี่ยนสถานที่จัดพิธีไว้อาลัย 'แตงโม' เป็นคริสตจักรเสรีภาพกรุงเทพ". Bangkok Biznews. 2022-03-05. สืบค้นเมื่อ 2022-03-05.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เผยกำหนดการพิธีทางศาสนา "แตงโม" ด้าน "นิก" โพสต์เศร้า ขอบคุณเวลาดีๆ ที่เคยมีให้". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แม่แตงโมขออายัดศพ ส่งนิติเวชผ่าอีกรอบ เผยคาใจบาดแผลตามร่างกาย". 2022-03-12.
- ↑ "เผยผลชันสูตร แตงโม นิดา เสียชีวิตจากการจมน้ำ". อีจัน. 2022-03-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
- ↑ "แม่แตงโมแจ้งความ วอนตร.ช่วยหาสาเหตุลูกสาวพลัดตกเรือ เรียกเพื่อนสอบปากคำบ่ายนี้". ข่าวสด. 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เพื่อน "แตงโม" ยังไม่เข้าให้ปากคำตำรวจ ขอพบทนายก่อน". ไทยพีบีเอส. 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน ตำรวจออกหมายจับ "ไฮโซปอ-โรเบิร์ต" คดี "แตงโม"". ไทยรัฐ. 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พบแล้วใครทำให้แตงโมตาย!? ‘นิติวิทยาศาสตร์’ ไขปริศนาอุบัติเหตุแบบมีเงื่อนงำ ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565
- ↑ กรมคุ้มครองสิทธิฯ จ่ายเงินเยียวยา "แม่แตงโม" 110,000 บาท
- ↑ แม่แตงโม นิดา เลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน
- ↑ เปิดปาก “แม่แตงโม” ขอรถคันใหม่จาก “ปอ ตนุภัทร” เตรียมต่อรองลดเวลาจาก 20 ปี ขอเงินเยียวยาเดือนละ 5 หมื่น
- ↑ คุณแม่รับสินไหม 2 ล้าน เงินรายเดือน 3 หมื่น 20 ปี ยุติ ‘คดีแตงโม’ workpointTODAY สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2565
- ↑ 6 จำเลย "คดีแตงโม" วางหน้าศาลฯ 2 ล้าน-จ่ายให้ "แม่" เดือนละ 3 หมื่นจนตาย ThaiPBS สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2565
- ↑ ค่าชีวิต "แตงโม" 9.2 ล้านบาท แม่พอใจให้อภัยทุกคน ยอมถอนโจทก์ร่วมโดยดี! ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2565
- ↑ หลักฐานให้มีแม่แตงโมไม่ทำคดีพลิก
- ↑ "แม่แตงโม"ตอกใส่หน้าคนด่ารักเงินมากกว่าลูก ยันมีสิทธิ์เรียกเงิน 50 ล้าน จวกคนตั้งคำถาม อิจฉา?
- ↑ "เป็นไปได้ไหม ? ชาวเน็ตอ้างเป็นวงในบอก "แตงโม นิดา" รอจังหวะโผล่ที่โรงพยาบาล". คมชัดลึก. 2022-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ บริษัทยืนยัน "แตงโม นิดา" มีประกันอุบัติเหตุ ผู้รับผลประโยชน์คือ "ลูกกระติก" ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565
- ↑ จบแล้ว! 30 ล้าน เยียวยา "แตงโมตกเรือ" ดับ แม่เผย "ไฮโซปอ" ให้คิดตัวเลข กรุงเทพธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565
- ↑ "แม่แตงโม" บอกไม่เครียด สังคมตั้งคำถาม หลังออกรายการดัง (คลิป) ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564
- ↑ แม่พนิดายอมพูดแล้วใช่แม่ที่แท้จริงหรือไม่
- ↑ พุดดิ้งเพื่อนสนิทแตงโมเผยเจ้าภาพแห่ถอนตัวสี่ราย
- ↑ แม่แตงโมจ่อร้องถอนสิทธิ์ลูกกระติก รับผลประโยชน์ประกัน 1 ล้านบาท
- ↑ ครอบครัวทนายกฤษณะเจอผลกระทบหนักลูกชวดทุนเรียนต่อเมียลาออกจากงาน ยันไม่โกรธแม่แตงโม
- ↑ ไม่ธรรมดา! เปิดประวัติ ‘บังแจ็ค’ พัวพันหลายวีรกรรมแสบสัน สนั่นโซเชียล
- ↑ บังแจ็ค - แม่แตงโม : ทรัพย์มรดกดิจิทัลจากคลิปวิดีโอ ภาพ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล ควรจัดการอย่างไร
- ↑ ทนายเดชา แจงเหตุถอนตัว แม่แตงโม ห่วง 30 ภาพลับถูกนำไปแบล็กเมล์
- ↑ งานเข้าทนายแม่แตงโมมีหมายจับ แถมมีรางวัลนำจับให้ 1 หมื่นบาท
- ↑ “คุณแม๊” เชิญ “ลูกปอ-ลูกเบิร์ต” ร่วมงานวันเกิด ร้องเพลงเดียวดาย เข้ากับชีวิต ชั่งใจบ้าน-รถ “แตงโม” เก็บหรือขาย นอนหลับสบายข่าวเงียบ
- ↑ ให้อภัยปอโรเบิร์ต100% ส่วนแอนนาขอให้นิ่งๆสัมภาษณ์ต้องขออนุญาต
- ↑ แม่แตงโมอยากได้รถใหม่ปอรับปากจะจัดการให้
- ↑ แม่แตงโมเผยมีหลักฐานใหม่กล้องบันทึกหน้ารถวันเกิดเหตุ ปอ-โรเบิร์ตกลับคำให้การรับสารภาพ แซนฟ้องกลับเรียก 40 ล้านบาท
- ↑ สองทนายดังห่วงแม่พนิดาส่อสร้างหลักฐานเท็จ
- ↑ แซนลั่นต่อไปไม่ต้องเกรงใจกัน
- ↑ "แม่แตงโม"ตอกใส่หน้าคนด่ารักเงินมากกว่าลูก ยันมีสิทธิ์เรียกเงิน 50 ล้าน จวกคนตั้งคำถาม อิจฉา?
- ↑ ‘ปอ-โรเบิร์ต’ ไปฟังคำตัดสินคดีแตงโม แถมโบนัสพิเศษ คุณแม่เพิ่มจนพอใจ เซ็นสัญญาใหม่เพิ่มอีก