ข้ามไปเนื้อหา

การเลื่อนผิดปรกติของสมอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลื่อนผิดปรกติของสมอง
การเลื่อนผิดปรกติของสมองแบบต่าง ๆ
สาขาวิชาประสาทวิทยา, ประสาทศัลยศาสตร์

การเลื่อนผิดปรกติของสมอง (อังกฤษ: brain herniation) เป็นผลข้างเคียงที่อันตรายถึงชีวิตของภาวะความดันในกะโหลกสูงมาก ซึ่งเกิดเมื่อบางส่วนของสมองถูกบีบผ่านโครงสร้างต่าง ๆ ภายในกะโหลก โดยสมองสามารถเลื่อนข้ามโครงสร้างดังกล่าว เช่น ฟอล์กสมองใหญ่ (falx cerebri), ส่วนหุ้มสมองน้อย (tentorium cerebelli) และแม้แต่ผ่านฟอราเมน แมกนัม (รูในฐานกะโหลกอันเป็นที่ที่ไขสันหลังบรรจบกับสมอง) การเลื่อนผิดปรกติอาจเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้มีฤทธิ์ของก้อน (mass effect) และความดันในกะโหลกเพิ่ม ซึ่งได้แก่ การบาดเจ็บของสมองจากอุบัติเหตุ เลือดออกในกะโหลก หรือเนื้องอกสมอง[1]

การเลื่อนผิดปรกติยังเกิดได้แม้ไม่มีความดันในกะโหลกสูง เมื่อรอยโรคที่เป็นก้อนอย่างก้อนเลือดขังที่เกิด ณ ขอบของส่วนสมองต่าง ๆ ในกรณีเช่นนั้น ความดันเฉพาะที่เพิ่มขึ้น ณ ที่ที่เกิดการเลื่อนผิดปรกติ แต่ความดันนี้ไม่ได้ส่งผ่านไปยังสมองส่วนที่เหลือ ฉะนั้นจึงไม่จัดว่ามีความดันในกะโหลกสูง[2]

เนื่องจากการเลื่อนผิดปรกติทำให้เกิดความดันสูงมากในส่วนต่าง ๆ ของสมอง จึงตัดการลำเลียงเลือดไปยังสมองหลายส่วน ซึ่งมักทำให้เสียชีวิต ฉะนั้นในโรงพยาบาลอาจมีการรักษาแบบดุเดือดเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวโดยการลดความดันในกะโหลก หรือโดยการระบายก้อนเลือดขังซึ่งทำให้เกิดความดันเฉพาะที่ในสมองส่วนหนึ่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Barr RM, Gean AD, Le TH (2007). "Craniofacial trauma". ใน Brant WE, Helms CA (บ.ก.). Fundamentals of Diagnostic Radiology. Philadelphia: Lippincott, Williams & Wilkins. p. 69. ISBN 0-7817-6135-2. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  2. Gruen P (May 2002). "Surgical management of head trauma". Neuroimaging Clinics of North America. 12 (2): 339–43. doi:10.1016/S1052-5149(02)00013-8. PMID 12391640.