การเมืองลิทัวเนีย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจมีงานค้นคว้าต้นฉบับรวมอยู่ |
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
การเมืองลิทัวเนีย Lietuvos politinė | |
---|---|
ประเภทรัฐ | รัฐเดี่ยว, ระบบกึ่งประธานาธิบดี, สาธารณรัฐ |
รัฐธรรมนูญ | รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย คริสต์ศักราช 1992 |
ฝ่ายนิติบัญญัติ | |
ชื่อ | รัฐสภา |
ประเภท | สภาเดียว |
สถานที่ประชุม | ทำเนียบรัฐสภา |
ประธาน | วิกตอริยา ชมิลีเต-นิลเซิน ประธานรัฐสภา |
ฝ่ายบริหาร | |
ประมุขแห่งรัฐ | |
คำเรียก | ประธานาธิบดี |
ปัจจุบัน | กิตานัส เนาเซดา |
ผู้แต่งตั้ง | การเลือกตั้งทางตรง ระบบสองรอบ |
หัวหน้ารัฐบาล | |
คำเรียก | นายกรัฐมนตรี |
ปัจจุบัน | อิงกริดา ชิมอนีเต |
ผู้แต่งตั้ง | ประธานาธิบดี |
คณะรัฐมนตรี | |
คำเรียก | รัฐบาล |
ชุดปัจจุบัน | คณะที่ 18 (ชิมอนีเต 1) |
หัวหน้า | นายกรัฐมนตรี |
ผู้แต่งตั้ง | ประธานาธิบดี |
สำนักงานใหญ่ | ทำเนียบรัฐบาล |
กระทรวง | 14 |
ฝ่ายตุลาการ | |
ศาล | ศาลลิทัวเนีย |
ศาลรัฐธรรมนูญ | |
ประธานศาล | กินตารัส โกดา |
ที่ตั้งศาล | ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ กรุงวิลนีอัส |
ศาลฎีกา | |
ประธานศาล | ดันกูโอเล บูเบลียเน |
ที่ตั้งศาล | ที่ทำการศาลฎีกา กรุงวิลนีอัส |
ปัจจุบันสถานภาพทางการเมืองของประเทศลิทัวเนียในสายตาของนานาชาตินั้นถือได้ว่า มีเสถียรภาพและเอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุน ภายหลังจากการถอนทหารรัสเซียออกจากลิทัวเนียตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2539 ประกอบกับที่ชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซียในลิทัวเนียไม่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง จึงส่งผลทำให้การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลลิทัวเนียในเรื่องชนกลุ่มน้อยค่อนข้างเป็นไปอย่างราบรื่น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศบอลติกอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและเอสโตเนีย
ระบบการเมือง มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1992
- ประธานาธิบดี นางสาวดาเลีย กรีบาวสเคท (Miss Dalia Grybauskaitė) ตั้งแต่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2009
- นายกรัฐมนตรี นายเซาลีอุส สคาเวนนาลิส (Mr. Saulius Skvernelis) ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2016
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายไลนัส แอนตานัส ลิงเคอวิคาลุส (Mr. Linas Antanas Linkevičius) ตั้งแต่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2012
สถาบันทางการเมือง ลิทัวเนียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี รัฐสภาใช้ระบบสภาเดียว (Unicamera) เรียกว่า "เซมุส" (Seimas) จำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด 141 คน (71 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 70 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน) มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี พรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมในรัฐสภา ยกเว้นพรรคที่มาจากชนกลุ่มน้อย คณะรัฐบาลดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของสมาชิกรัฐสภาเว้นแต่สมาชิกคณะรัฐบาลจะลาออก หรือรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด ประธานสภาเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
พัฒนาการทางการเมือง
[แก้]การเลือกตั้งประธานาธิบดีลิทัวเนียเมื่อเดือนมกราคม 1990
[แก้]เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1990 นายวัลดัส อะดัมคุส ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีลิทัวเนียคนใหม่ สืบแทนนายอัลกีร์ดัส บราซาอุสคัส ประธานาธิบดีคนเดิม ซึ่งไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นายอะดัมคุส ได้รับการสนับสนุนจากพรรค Lithuanian Democrat และพรรค The Democratic Center Union
การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนตุลาคม 2000
[แก้]เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ลิทัวเนียได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่าพรรค Liberal Union ภายใต้การนำของนายโรลันดัส ปัคซัส (Rolandas Paksas) อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกตั้งในประเภทการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด 18 ที่นั่ง จาก 71 ที่นั่ง สำหรับการเลือกตั้งตามอัตราส่วนบัญชีรายชื่อพรรคกลุ่ม Social Democratic Coalition ภายใต้การนำของนายอัลกีร์ดัส บราซาอุสคัส อดีตประธานาธิบดีลิทัวเนีย (ปี 2536-2541) ได้รับเลือกตั้งมากที่สุดจำนวน 28 ที่นั่ง จาก 70 ที่นั่ง สำหรับการจัดตั้งรัฐบาล รัฐสภาลิทัวเนียได้ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งให้นายโรลันดัส ปัคซัส ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง โดยเป็นการจัดตั้งรัฐบาลผสมสี่พรรคเสียงข้างน้อยในสภา
การจัดตั้งรัฐบาลเมื่อเดือนกรกฎาคม 2001
[แก้]เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2001 นายโรลันดัส ปัคซัส ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลในประเด็นเรื่องการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ และต่อมาเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 รัฐสภาลิทัวเนียได้ลงมติเห็นชอบในการแต่งตั้งนายอัลกีร์ดัส บราซาอุสคัส อดีตประธานาธิบดีลิทัวเนีย ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทนตามที่ประธานาธิบดีอะดัมคุสได้เสนอชื่อ ในด้านการต่างประเทศ นายบราซาอุสคัสนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำมั่นว่าจะดำเนินนโยบายต่างประเทศให้มีความต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) และสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)
การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมกราคม 2003
[แก้]ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายโรลันดัส ปัคซัส อดีตนายกรัฐมนตรี ประสบชัยชนะ ในการเลือกตั้งเหนือนายวัลดัส อะดัมคุส ซึ่งลงสมัครแข่งขันในสมัยที่ 2 โดยนายโรลันดัส ปัคซัส ได้รับคะแนนเสียงในรอบที่ 2 ร้อยละ 54.91 และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทนนายวัลดัส อะดัมคุส เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003
การถอดถอนประธานาธิบดีลิทัวเนีย
[แก้]เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2004 รัฐสภาลิทัวเนียได้ลงมติเสียงข้างมากให้ถอดถอนประธานาธิบดีปัคซัส ออกจากตำแหน่ง (Impeachment) จากกระทำผิดในข้อหาละเมิดรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อกล่าวหา 3 เรื่อง คือ การมอบสัญชาติลิทัวเนียให้แก่นักธุรกิจรัสเซียโดยมิชอบ การเปิดเผยข้อมูลลับของราชการ และการใช้อำนาจรัฐในการแทรกแซงธุรกิจของบริษัทเอกชนเพื่อผผลประโยชน์ส่วนตัว และตามรัฐธรรมนูญ ประธานรัฐสภา (นายอาร์ตูรัส ปาอูลาอุสคัส - Arturas Paulauskas) จะปฏิบัติหน้าที่แทนประธานาธิบดีชั่วคราวจนกว่า จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นใหม่
การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมิถุนายน 2004
[แก้]เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2004 คณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของลิทัวเนียได้จัดให้มี การเลือกตั้งประธานาธิบดีลิทัวเนียขึ้น ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 50 ของผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด คณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของลิทัวเนียจึงจำเป็นต้องจัดให้มีการเลือกตั้งรอบที่สองขึ้นภายในสองสัปดาห์ ตามที่กฎหมายลิทัวเนียกำหนดไว้ โดยเป็นการเลือกตั้งระหว่างผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 คือ นายวัลดัส อะดัมคุส อดีตประธานาธิบดีลิทัวเนียที่ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1998-2003 และนางคาซีมีรา ดานูเต ปรุนสเคย์เน (Kazimira Danute Prunskeine) อดีตนายกรัฐมนตรีลิทัวเนียคนแรกภายหลังจากที่ลิทัวเนียได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต
การเลือกตั้งประธานาธิบดีลิทัวเนียรอบที่ 2 มีขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2004 เป็นการแข่งขันกันระหว่างผู้สมัคร 2 คนข้างต้น ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการปรากฏว่า นายวัลดัส อะดัมคุส ได้รับคะแนนเสียง 723,011 เสียง คิดเป็นร้อยละ 52.63 ขณะที่นางคาซีมีรา ดานูเต ปรุนสเคย์เน ได้รับคะแนนเสียง 650,766 เสียง คิดเป็นร้อยละ 47.37 จากผู้ลงคะแนนทั้งหมด 1,373,787 ราย นายวัลดัส อะดัมคุสได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2004
การเลือกตั้งทั่วไป เมื่อเดือนตุลาคม 2004
[แก้]เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2004 คณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของลิทัวเนียได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาลิทัวเนีย (Seimas) จำนวน 141 คน โดยแบ่งเป็นการเลือกตั้งโดยตรง 71 คน และการเลือกตั้งตามอัตราส่วนบัญชีรายชื่อพรรคอีก 70 คน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่โดยนายวิคตอร์ อุสปัสคิช (Victor Uspaskich) มหาเศรษฐีลิทัวเนียเชื้อสายรัสเซีย และมีผลงานที่ดีในการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรป ได้รับที่นั่งในการเลือกตั้งมากที่สุด 39 ที่นั่ง ขณะที่กลุ่มพันธมิตร "เราอุทิศเพื่อลิทัวเนีย" (We work for Lithuania) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ประกอบด้วยพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และพรรคสังคมเสรีนิยม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีอัลกีร์ดัส บราซาอุสคัส (Algirdas Brazauskas) และประธานรัฐสภา อาร์ตูรัส ปาอูลาอุสคัส (Arturas Paulaukas) เป็นหัวหน้าพรรคตามลำดับ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับที่ 2 คือ 31 ที่นั่ง และพรรคสหภาพแผ่นดินเกิด/พรรคอนุรักษ์นิยม ได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 3 จำนวน 25 ที่นั่ง
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ประธานาธิบดีวัลดัส อะดัมคุส ได้ลงนามในกฤษฎีกาแต่งตั้งให้นายกรัฐมนตรีอัลกีร์ดัส บราซาอุสคัส หัวหน้าพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 และมอบหมายให้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน รัฐบาลลิทัวเนียชุดใหม่เป็นรัฐบาลผสม 4 พรรคการเมือง เสียงข้างมากในสภา ประกอบด้วย พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย พรรคสังคมเสรีนิยม พรรคแรงงาน และพรรคสหภาพชาวนาและประชาธิปไตยใหม่