ข้ามไปเนื้อหา

การเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในจิตวิทยาสังคม การเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่ม[1] (อังกฤษ: group polarization) หมายถึงความโน้มเอียงที่กลุ่มจะตัดสินใจไปในทางที่สุดขั้วมากกว่าแนวโน้มของสมาชิกในฐานะปัจเจก โดยผลการตัดสินใจไปในทางที่สุดขั้วขึ้นเหล่านี้จะเข้าใกล้ความเสี่ยงมากขึ้นหากความโน้มเอียงของสมาชิกปัจเจกบุคคลไปทางความเสี่ยง และเข้าใกล้ความระมัดระวังมากขึ้นหากความโน้มเอียงของสมาชิกปัจเจกบุคคลไปทางความระมัดระวัง[2] ปรากฏการณ์นี้ยังก่อให้เกิดเจตคติต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในแง่ที่เจตคติของสมาชิกมั่นคงขึ้นและหนักขึ้นภายหลังการพูดคุยในกลุ่ม ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า การเพิ่มความเป็นขั้วของเจตคติ (attitude polarization)[3]

ภาพรวม

[แก้]

การเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่มเป็นปรากฏการณ์สำคัญในจิตวิทยาสังคมและสามารถสังเกตได้ในหลายบริบททางสังคม เช่น กลุ่มของสตรีที่มีมุมมองสตรีนิยมปานกลางมีแนวโน้มที่จะแสดงความเชื่อนิยมสตรีมากยิ่งขึ้นภายหลังมีการพูดคุยในกลุ่ม[4] เช่นเดียวกัน ในผลการศึกษาอื่น ๆ ยังพบว่าภายหลังการไตร่ตรองร่วมกัน คณะลูกขุนสมมติมักตัดสินขนาดของค่าชดเชยในการลงโทษที่ไม่มากขึ้นก็น้อยลงจากที่สมาชิกคณะลูกขุนแต่ละคนสนับสนุนก่อนการหารือร่วมกันเป็นกลุ่ม[5] ผลการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อลูกขุนสนับสนุนค่าชดเชยที่ค่อนข้างตำ่ การพูดคุยในกลุ่มจะยิ่งนำไปสู่การจ่ายค่าชดเชยที่ต่ำกว่าเดิมอีก ในขณะที่ลูกขุนที่มีแนวโน้มไปทางการจ่ายค่าชดเชยสูง ๆ เมื่อรวมกลุ่มกันหารือแล้วจะได้ผลออกมาที่เป็นค่าชดเชยที่สูงมากขึ้นอย่างโหดร้าย[6] นอกจากนี้ ภายหลังการเข้ามามีบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ได้แสดงให้เห็นโอกาสมากขึ้นที่จะสังเกตการเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่มในสื่อเหล่านั้น นักจิตวิทยาพบว่าสื่อสังคมเช่น เฟสบุค และ ทวิตเตอร์ แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่มสามารถปรากฏได้แม้ว่ากลุ่มนั้นจะไม่ได้พบเจอกันซึ่งหน้า ตราบใดก็ตามที่กลุ่มใหญ่ของปัจเจกบุคคลเริ่มต้นด้วยความคิดเห็นในระดับพื้นฐานที่ตรงกันต่อประเด็นหนึ่ง และการสนทนาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่มจะยังคงเกิดขึ้นได้[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sunstein, Cass R. Why Groups Go to Extremes [ชวนคิดเรื่องแบ่งฝ่าย: ว่าด้วยการรวมกลุ่มและความสุดโต่ง]. แปลโดย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, ชยางกูร เพ็ชรปัญญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิสิตสามย่าน. ISBN 9786168209035. ...การเพิ่มความเป็นขั้วของกลุ่ม (group polarization)...
  2. Aronson, Elliot (2010). Social Psychology. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. pp. 273.
  3. Myers, D.G.; H. Lamm (1975). "The polarizing effect of group discussion". American Scientist. 63 (3): 297–303. Bibcode:1975AmSci..63..297M. PMID 1147368.
  4. Myers, D.G. (1975). "Discussion-induced attitude polarization". Human Relations. 28 (8): 699–714. doi:10.1177/001872677502800802. S2CID 145480929.
  5. Isenberg, D.J. (1986). "Group Polarization: A Critical Review and Meta-Analysis". Journal of Personality and Social Psychology. 50 (6): 1141–1151. doi:10.1037/0022-3514.50.6.1141.
  6. Bray, R. M.; A. M. Noble (1978). "Authoritarianism and decisions of mock juries: Evidence of jury bias and group polarization". Journal of Personality and Social Psychology. 36 (12): 1424–1430. doi:10.1037/0022-3514.36.12.1424.
  7. Yardi, Sarita; Danah Boyd (2010). "Dynamic Debates: An analysis of group polarization over time on Twitter". Bulletin of Science, Technology & Society. 30 (5): 316–27. doi:10.1177/0270467610380011. S2CID 144371141.