ข้ามไปเนื้อหา

การเผาไหม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเผาไหม้

การเผาไหม้ (Combustion) เป็นปฏิกิริยาเคมีระหว่างเชื้อเพลิงและออกซิเจนซึ่งให้พลังงานความร้อนและแสงสว่างออกมา (Exothermic) การเผาไหม้แบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ การเผาไหม้แบบมีเปลว (Flammable) และการเผาไหม้แบบไม่มีเปลว (Non-Flammable) การเผาไหม้แบบมีเปลวแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ เปลวไฟแบบแพร่ (Diffusion flame) และเปลวไฟแบบผสมก่อน (Pre-mixed flame) การเผาไหม้แบบไม่มีเปลวก็แบ่งออกเป็นสองลักษณะคือแบบเผาคุ (Smoldering combustion) และแบบลุกไหม้ได้ด้วยตนเอง (Spontaneous combustion)

เชื้อเพลิงชีวมวลประกอบด้วยธาตุต่างๆ

[แก้]

เชื้อเพลิงชีวมวลประกอบด้วยธาตุต่างๆ ดังนี้ คือคาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) ไฮโดรเจน (H) และธาตุอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่

เนื่องจากจะทำให้เกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ซึ่งเป็นก๊าซที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อนำเชื้อเพลิงชีวมวลมาเผาไหม้จะมีขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาดังนี้

  • 2C + O2 --> 2CO + 110,380 kj/kg-mol
  • 2CO + O2 --> 2CO2+ 283,180 kj/kg-mol
  • 2H2 + O2 --> 2H2O+ 286,470 kj/kg-mol
  • S + O2 --> SO2 + ความร้อน
  • N + O2 --> NO2 + ความร้อน

เมื่อเกิดการเผาไหม้จะเกิดสารตัวใหม่ขึ้นมามีดังนี้

[แก้]

1.แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

2.นํ้าหรือไอระเหยในอากาศ

3 ควัน

อ้างอิง

[แก้]