ข้ามไปเนื้อหา

การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเข้าเมืองกับอาชญากรรมหมายความถึงความสัมพันธ์ที่รับรู้หรือเป็นจริงระหว่างอาชญากรรมกับการเข้าเมือง เอกสารข้อมูลวิชาการให้ข้อค้นพบคละกันสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมทั่วโลก การนำเสนอเกินของผู้เข้าเมืองในระบบยุติธรรมทางอาญาของหลายประเทศอาจเป็นเนื่องจากปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ การจำคุกสำหรับโทษการย้ายถิ่น และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติโดยตำรวจและระบบยุติธรรม การวิจัยเสนอว่าบุคคลมีแนวโน้มประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมสูงเกินจริง

ทั่วโลก

[แก้]

การวิจัยเชิงประจักษ์จำนวนมากเรื่องความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรมมีข้อจำกัดเนื่องจากมีเครื่องมือสำหรับกำหนดเหตุภาพอ่อน[1] นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งเขียนในปี 2557 ว่า "แม้มีงานวิจัยหลายฉบับซึ่งบันทึกสหสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างผู้เข้าเมืองกับอาชญากรรมสำหรับหลายประเทศและระยะเวลา แต่ส่วนใหญ่มิได้จัดการกับปัญหาเหตุภาพอย่างจริงจัง"[2] ปัญหาเหตุภาพส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของผู้เข้าเมืองเป็นแบบภายใน (endogenous) หมายความว่า ผู้เข้าเมืองมักอยู่ในพื้นที่ขาดแคลนซึ่งมีอาชญากรรมสูงกว่า (เพราะไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ค่าครองชีพแพงกว่าได้) หรือเพราะมีแนวโน้มอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรผู้อยู่อาศัยซึ่งมีภูมิหลังชาติพันธุ์เดียวกันจำนวนมาก[3] เอกสารข้อมูลจำนวนเพิ่มขึ้นที่อาศัยเครื่องมือที่เข้มข้นให้ข้อค้นพบที่คละกัน[3][4][5][6][7][8][9][10] นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งอธิบายเอกสารข้อมูลที่มีอยู่ในปี 2557 ว่า "การวิจัยสำหรับสหรัฐส่วนมากบ่งชี้ว่าถ้ามีสนธิการใด สนธิการนี้เป็นลบ... ขณะที่ผลสำหรับทวีปยุโรปคละกันสำหรับอาชญากรรมทรัพย์สินแต่ไม่พบสนธิการสำหรับอาชญากรรมรุนแรง"[3] นักเศรษฐศาสตร์อีกผู้หนึ่งเขียนในปี 2557 อธิบายว่า ""หลักฐานที่ยึดการศึกษาเชิงประจักษ์ของหลายประเทศบ่งชี้ว่าไม่มีความเชื่อมโยงเชิงเดียวระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรม แต่การทำให้สถานภาพของผู้เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายมีผลเป็นประโยชน์ต่ออัตราอาชญากรรม"[2] บทปฏิทัศน์ปี 2552 ของเอกสารข้อมูลที่เน้นการศึกษาล่าสุดคุณภาพสูงจากสหรัฐพบว่า การเข้าเมืองโดยทั่วไปมิได้เพิ่มอาชญากรรม อันที่จริง มักกลับลดเสียด้วยซ้ำ[11]

ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมและสถานภาพทางกฎหมายของผู้เข้าเมืองยังมีการศึกษาน้อย[12] แต่การศึกษาโครงการนิรโทษกรรมในสหรัฐและประเทศอิตาลีเสนอว่าสถานภาพทางกฎหมายสามารถอธิบายข้อแตกต่างในอาชญากรรมระหว่างผู้เข้าเมืองชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายได้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะสถานภาพทางกฎหมายนำไปสู่โอกาสตลาดอาชีพที่ดีกว่าสำหรับผู้เข้าเมืองมากที่สุด[2][13][14][15][16][17] ทว่า การศึกษาหนึ่งพบว่ารัฐบัญญัติปฏิรูปและควบคุมการเข้าเมือง (IRCA) ค.ศ. 1986 นำไปสู่การเพิ่มอาชญากรรมในหมู่ผู้เข้าเมืองไม่มีเอกสารเดิม[18]

การวิจัยที่มีอยู่เสนอว่าโอกาสตลาดแรงานมีผลกระทบสำคัญต่ออัตราอาชญากรรมของผู้เข้าเมือง[2][10] ผู้เข้าเมืองมีการศึกษาชายหนุ่มยากจนมีความน่าจะเป็นปัจเจกของการจำคุกสูงสุดในบรรดาผู้เข้าเมือง[19] การวิจัยเสนอว่าการจัดสรรผู้เข้าเมืองสู่ย่านอาชญากรรมสูงเพิ่มความโน้มเอียงอาชญากรรมของผู้เข้าเมืองปัจเจกในระยะต่อมาของชีวิตเนื่องจากมีอันตรกิริยาทางสังคมกับอาชญากรรม[20]

บางปัจจัยอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลเรื่องอัตราการต้องสงสัย อัตราอาชญากรรม อัตราการพิพากษาลงโทษและประชากรเรือนจำสำหรับการหาข้อสรุปเกี่ยวกับการเกี่ยวข้องโดยรวมของผู้เข้าเมืองในกิจกรรมอาชญากรรม ได้แก่

  • การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ เช่น โพรไฟล์เชื้อชาติ (racial profiling) การตรวจตราเกินในพื้นที่ที่มีผู้เข้าเมืองหรืออคติในกลุ่มอาจทำให้มีจำนวนผู้เข้าเมืองสูงไม่เป็นสัดส่วนในหมู่ผู้ต้องสงสัยอาชญากรรม[21][22][23][24][25][26][27][28][29]
  • การเลือกปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นโดยระบบตุลาการอาจเพิ่มจำนวนการพิพากษาลงโทษ[21][25][27][30][31][32][33][34][35][36][37][38]
  • คำวินิจฉัยการประกันตัวและคำพิพากษาลงโทษที่ไม่ช่วยเหลือเนื่องจากความง่ายของคนต่างด้าวในการหลบหนี การขาดภูมิลำเนา การขาดการจ้างงานเป็นประจำและการขาดครอบครัวที่สามารถให้ที่พักอาศัยแก่ปัจเจกสามารถอธิบายอัตราการกักขังที่สูงกว่าของผู้เข้าเมืองเมื่อเทียบกับสัดส่วนการพิพากษาลงโทษโดยสัมพัทธ์กับประชากรท้องถิ่น[39][40]
  • คนพื้นเมืองอาจมีแนวโน้มรายงานอาชญากรรมเมื่อตนเชื่อว่าผู้ก่อเหตุมีภูมิหลังเป็นผู้เข้าเมือง[41]
  • การจำคุกสำหรับความผิดการย้ายถิ่น ซึ่งพบมากกว่าในหมู่ผู้เข้าเมือง จำเป็นต้องนำมาพิจารณาด้วยสำหรับการเปรียบเทียบอย่างมีความหมายระหว่างการมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมโดยรวมของผู้เข้าเมืองกับคนพื้นเมือง[19][27][42][43]
  • คนต่างด้าวที่ถูกจำคุกสำหรับความผิดยาเสพติดอาจมิได้อาศัยอยู่ในประเทศที่ตนกำลังรับโทษอยู่จริง แต่ถูกจับกุมขณะกำลังผ่านแดน[19]
  • การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้ามีแนวโน้มรายงานต่อตำรวจมากกว่าการข่มขืนกระทำชำเราโดยคนรู้จักมาก[44]

ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองกับการก่อการร้ายยังมีการศึกษาน้อย การศึกษาในปี 2559 พบว่าระดับการย้ายถิ่นที่สูงกว่าสัมพันธ์กับระดับการก่อการร้ายที่ต่ำกว่าในประเทศให้อาศัย แต่การย้ายถิ่นจากรัฐที่มีแนวโน้มก่อการร้ายเพิ่มความเสี่ยงการก่อการร้ายในประเทศให้อาศัย[45] แต่ผู้ประพันธ์หมายเหตุว่า "เฉพาะผู้ย้ายถิ่นส่วนน้อยจากรัฐที่มีการก่อการร้ายสูงเท่านั้นที่สามารถสัมพันธ์กับการเพิ่มการก่อการร้าย และไม่จำเป็นต้องเป็นความสัมพันธ์ทางตรง"[45]

ทวีปยุโรป

[แก้]

การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเพิ่มการหลั่งไหลของการเข้าเมืองสู่ประเทศยุโรปตะวันตกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 2000 นั้น "ไม่มีผลต่อการตกเป็นผู้เสียหายอาชญากรรม แต่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความกลัวอาชญากรรม โดยความกลัวอาชญากรรมนี้ต้องกันและสัมพันธ์เชิงบวกกับเจตคติไม่สนับสนุนต่อผู้เข้าเมืองของคนพื้นเมือง"[5] ในการสำรวจเอกสารข้อมูลเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่เรื่องการเข้าเมืองกับอาชญากรรม นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งอธิบายเอกสารข้อมูลที่มีอยู่ในปี 2557 ว่าแสดงว่า "ผลลัพธ์สำหรับทวีปยุโรปนั้นคละกันสำหรับอาชญากรรมทรัพย์สินแต่ไม่พบสนธิการสำหรับอาชญากรรมรุนแรง"[3]

ประเทศเยอรมนี

[แก้]

การศึกษาผลกระทบทางสังคมแบบเบ็ดเสร็จครั้งแรกของผู้ลี้ภัยหนึ่งล้านคนที่ไปประเทศเยอรมนีพบว่าก่อให้เกิด "อาชญากรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับความผิดยาเสพติดและการเลี่ยงค่าโดยสาร"[46][47]

รายงานที่สำนักงานการสอบสวนอาชญากรรมกลางเยอรมันในเดือนพฤศจิกายน 2558 ออกพบว่าในช่วงเดือนมกราคม–กันยายน 2558 อัตราอาชญากรรมของผู้ลี้ภัยอยู่ในระดับเดียวกับชาวเยอรมันพื้นเมือง[48] ตามข้อมูลของดอยท์เชอเวลเลอ รายงานดังกล่าว "สรุปอาชญากรรมส่วนใหญ่ที่ผู้ลี้ภัยเป็นผู้กระทำ (ร้อยละ 67) ประกอบด้วยการลักทรัพย์ การชิงทรัพย์และกลฉ้อฉล อาชญากรรมทางเพศประกอบเป็นน้อยกว่าร้อยละ 1 ของอาชญากรรมทั้งหมดที่ผู้ลี้ภัยก่อ ขณะที่การฆ่าคนประกอบเป็นสัดส่วนน้อยที่สุดที่ร้อยละ 0.1"[48] ตามคำอธิบายของรายงานดังกล่าวของหนังสือพิมพ์อนุรักษนิยม ดีเวลท์ อาชญากรรมที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้ลี้ภัยก่อคือการไม่จ่ายค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ[49] จากข้อมูลของดอยท์เชอเวลเลอที่รายงานรายงานของสำนักงานการสอบสวนอาชญากรรมกลางเยอรมันในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จำนวนอาชญากรรมที่ผู้ลี้ภัยก่อมิได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้ลี้ภัยระหว่างปี 2557–2558[50] จากข้อมูลของดอยท์เชอเวลเลอ "ระหว่างปี 2557 ถึง 2558 จำนวนอาชญากรรมที่ผู้ลี้ภัยก่อเพิ่มร้อยละ 79 ทว่า ในช่วงเดียวกัน จำนวนผู้ลี้ภัยในประเทศเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 440"[50]

ในเดือนพฤษภาคม 2559 โพลิติแฟ็กต์ถือว่าคำแถลงของดอนัลด์ ทรัมป์ที่ว่า "ประเทศเยอรมนีเดี๋ยวนี้เต็มไปด้วยอาชญากรรม" เนื่องจากการย้ายถิ่นเข้าทวีปยุโรปเป็นเท็จเสียส่วนใหญ่[51] เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวหมายเหตุว่าอัตราอาชญากรรมของประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราอาชญากรรมรุนแรง ต่ำกว่าในสหรัฐมาก และข้อมูลเสนอว่าอัตราอาชญากรรมของผู้ลี้ภัยโดยเฉลี่ยต่ำกว่าของชาวเยอรมันโดยเฉลี่ย[51]

การศึกษาหนึ่งในบทปฏิทัศน์เศรษฐกิจยุโรปพบว่านโยบายการเข้าเมืองของรัฐบาลเยอรมันของผู้มีเชื้อสายเยอรมันกว่า 3 ล้านคนสู่ประเทศเยอรมนีหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมอย่างมีนัยสำคัญ[52] ผลนี้มีมากที่สุดในภูมิภาคที่มีการว่างงานสูง ระดับอาชญากรรมเดิมสูงหรือสัดส่วนคนต่างด้าวสูง[52]

ดอยท์เชอเวลเลอรายงานในปี 2549 ว่าในกรุงเบอร์ลิน ผู้เข้าเมืองชายหนุ่มมีแนวโน้มก่ออาชญากรรมรุนแรงสูงกว่าชายหนุ่มชาวเยอรมันสามเท่า[53] ขณะที่กัสทาร์ไบเทอร์ (Gastarbeiter) ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 มิได้มีอัตราอาชญากรรมเพิ่มขึ้น แต่ผู้เข้าเมืองรุ่นที่สองและรุ่นที่สามมีอัตราอาชญากรรมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ[54]

ประเทศสวีเดน

[แก้]

รายงานปี 2548 ของสภาแห่งชาติสวีเดนเพื่อการป้องกันอาชญากรรมที่ศึกษาชาวสวีเดนอายุระหว่าง 15 ถึง 51 ปีจำนวน 4.4 ล้านคนระหว่างช่วงปี 2540–2544 พบว่า 58.9% ของผู้ต้องสงสัยอาชญากรรมเกิดกับบิดามารดาที่เป็นชาวสวีเดนทั้งสองคน (74.5% ของประชากรทั้งหมด) 10.4% เกิดกับบิดามารดาที่เป็นชาวสวีเดนหนึ่งคน (9.3% ของประชากรทั้งหมด) 5.2% เกิดกับบิดามารดาชาวต่างด้าวทั้งสองคน (3.2% ของประชากรทั้งหมด) และ 25% ของปัจเจกบุคคลที่เกิดนอกประเทศ (13.1% ของประชากรทั้งหมด)[55] รายงานดังกล่วพบว่าผู้เข้าเมืองชายมีแนวโน้มถูกสอบสวนสำหรับความรุนแรงถึงชีวิตและการปล้นทรัพย์มากกว่าชาติพันธุ์สวีเดน 4 เท่า นอกจากนี้ ผู้เข้าเมืองชายมีโอกาสถูกสอบสวนฐานทำร้ายร่างกายรุนแรงมากกว่าประชากรทั่วไป 4 เท่า และอาชญากรรมทางเพศมากกว่า 5 เท่า[55] ผู้เข้าเมืองจากทวีปแอฟริกาและเอเชียใต้และตะวันตกมีโอกาสถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมมากกว่าปัจเจกบุคคลที่เกิดกับบิดามารดาที่เป็นชาวสวีเดนทั้งสองคน 4.5 และ 3.5 เท่าตามลำดับ[55] รายงานดังกล่าวอาศัยสถิติสำหรับ "ผู้ต้องสงสัย" กระทำผิด แต่สตินา โฮล์มเบิร์ก (Stina Holmberg) แห่งสภาสำหรับการป้องกันอาชญากรรมกล่าวว่ามี "ผลต่างเล็กน้อย" ในสถิติสำหรับผู้ต้องสงสัยอาชญากรรมและผู้ที่ถูกพิพากษาลงโทษจริง "ต่ำกว่าร้อยละ 60 เล็กน้อยของความผิดเกือบ 1,520,000 ความผิด... ที่จดทะเบียนระหว่างช่วงดังกล่าวที่รวมอยู่ในการศึกษานี้ สามารถบี้งชี้ว่าเกิดจากบุคคลที่เกิดในประเทศสวีเดนกับบิดามารดาที่เกิดเป็นชาวสวีเดนทั้งสองคน"[56] ทว่าในรายงานรัฐบาลปี 2549 เสนอว่าผู้เข้าเมืองเผชิญกับการเลือกปฏิบัติโดยฝ่ายบังคับกฎหมาย ซึ่งนำไปสู่ข้อแตกต่างอย่างมีความหมายระหว่างผู้ต้องสงสัยอาชญากรรมกับผู้ถูกพิพากษาลงโทษจริง[57] ในรายงานปี 2551 ของสภาแห่งชาติสวีเดนสำหรับการป้องกันอาชญากรรมพบหลักฐานการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อสายต่างด้าวในระบบยุติธรรมสวีเดน[21] รายงานปี 2548 พบว่าผู้เข้าเมืองที่เข้าเมืองสวีเดนระหว่างสมัยเด็กตอนต้นมีอัตราอาชญากรรมต่ำกว่าผู้เข้าเมืองอื่น[58] เมื่อคำนึงถึงปัจจัยเศรษฐกิจสังคม (เพศ อายุ การศึกษาและรายได้) ช่องว่างอัตราอาชญากรรมระหว่างผู้เข้าเมืองและชนพื้นเมืองลดลง[58]

รายงานปี 2539 โดยสภาแห่งชาติสวีเดนสำหรับการป้องกันอาชญากรรมพบว่าระหว่างปี 2528 ถึง 2532 ปัจเจกบุคคลที่เกิดในประเทศอิรัก แอฟริกาเหนือ (ประเทศแอลจีเรีย ลิเบีย โมร็อกโกและตูนิเซีย) ทวีปแอฟริกา (ยกเว้นประเทศยูกันดาและประเทศแอฟริกาเหนือ) ตะวันออกกลางอื่น (ประเทศจอร์แดน ปาเลสไตน์ ซีเรีย) ประเทศอิหร่านและยุโรปตะวันออก (ประเทศโรมาเนีย บัลแกเรีย) ถูกพิพากษาลงโทษฐานข่มขืนกระทำชำเราที่อัตราสูงกว่าปัจเจกบุคคลที่เกิดในประเทศสวีเดน 20, 23, 17, 9, 10 และ 18 เท่าตามลำดับ[59] ทั้งรายงานปี 2539 และ 2548 ถูกวิจารณ์ว่าใช้การควบคุมสำหรับปัจจัยสังคมเศรษฐกิจไม่เพียงพอ[22]

รายงานปี 2556 พบว่าทั้งผู้เข้าเมืองรุ่นแรกและรุ่นที่สองมีอัตราความผิดต้องสงสัยสูงกว่าชาวสวีเดนพื้นเมือง[60] ขณะที่ผู้เข้าเมืองรุ่นแรกมีอัตราผู้กระทำความผิดสูงสุด แต่ผู้กระทำความผิดมีจำนวนความผิดเฉลี่ยต่ำสุด ซึ่งบ่งชี้ว่ามีอัตราการกระทำความผิดอัตราต่ำสูง (ผู้กระทำความผิดต้องสงสัยจำนวนมากมีความผิดที่จดทะเบียนไว้ครั้งเดียว) อัตราการกระทำความผิดเรื้อรัง (ผู้กระทำความผิดที่ต้องสงสัยหลายความผิด) สูงกว่าในหมู่ชาวสวีเดนพื้นเมืองมากกว่าผู้เข้าเมืองรุ่นแรก ผู้เข้าเมืองรุ่นที่สองมีอัตรากระทำความผิดเรื้อรังสูงกว่าผู้เข้าเมืองรุ่นแรกที่มีอัตรากระทำความผิดรวมต่ำกว่า[60]

การศึกษาโดยใช้ปัจจัยสังคมเศรษฐกิจที่เบ็ดเสร็จกว่ารายงานปี 2539 และ 2548 พบว่า "สำหรับชาย เราสามารถอธิบายระหว่างครึ่งหนึ่งและสามในสี่ของช่องว่างอาชญากรมโดยอ้างอิงทรัพยากรทางสังคมเศรษฐกิจที่ได้จากพ่อแม่และการแบ่งแยกสถานที่ใกล้เคียง สำหรับหญิง เราสามารถอธิบายได้มากกว่า บางทีเป็นช่องว่างทั้งหมด"[22] ผู้ประพันธ์ยังพบอีกว่า "วัฒนธรรมมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นสาเหตุอาชญากรรมที่น่าเชื่อถือในหมู่ผู้เข้าเมือง"[22]

สหราชอาณาจักร

[แก้]

วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีนักโทษ 10,786 คนจาก 160 ประเทศถูกจำคุกในประเทศอังกฤษและเวลส์[61] ประเทศโปแลนด์ จาไมกาและสาธารณรัฐไอร์แลนด์มีสัดส่วนคนต่างด้าวสูงสุดในเรือนจำสหราชอาณาจักร[61] โดยรวม มีคนต่างด้าวอยู่ 13% ของประชากรเรือนจำ ขณะที่คนต่างด้าวคิดเป็น 13% ของประชากรรวมในประเทศอังกฤษและเวลส์[62] ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 2000 มีการเพิ่มขึ้นของคนต่างด้าวในเรือนจำสหราชอาณาจักร 111%[39] จากข้อมูลของการศึกษาหนึ่ง "มีหลักฐานน้อยที่จะสนับสนุนทฤษฎีว่าประชากรเรือนจำต่างด้าวยังเติบโตต่อเพราะคนต่างด้าวมีแนวโน้มก่ออาชญากรรมมากกว่าพลเมืองบริเตนหรือมีแนวโน้มก่ออาชญากรรมสภาพรุนแรงมากกว่า"[39] การเพิ่มขึ้นบางส่วนอาจเป็นเพราะจำนวนการพิพากษาลงโทษความผิดยาเสพติด อาชญากรรมที่สัมพันธ์กับการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมาย (กลฉ้อฉลและการปลอมเอกสารราชการ) ข้อกำหนดการเนรเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการขาดทางเลือกที่ใช้ได้ของการคุมขัง (ซึ่งมีผลต่อการประกันตัวและการตัดสินใจพิพากษา) จำนวนไม่เป็นสัดส่วน[39]

งานวิจัยไม่พบหลักฐานผลกระทบเชิงเหตุเฉลี่ยของการเข้าเมืองต่ออาชญากรรม[6][7][39] การศึกษาหนึ่งที่ยึดหลักฐานจากประเทศอังกฤษและเวลส์ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ไม่พบหลักฐานผลกระทบเชิงเหตุเฉลี่ยของการเข้าเมืองต่ออาชญากรรมในประเทศอังกฤษและเวลส์[6] ไม่พบผลกระทบเชิงเหตุและไม่มีผลต่างของการเข้าเมืองต่อโอกาสการถูกจับสำหรับกรุงลอนดอน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของการเข้าเมืองมาก[6] การศึกษาการเข้าเมืองสหราชอาณาจักรสองระลอกใหญ่ (ผู้ลี้ภัยปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 และต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 และการไหลบ่าจากประเทศที่เข้าร่วมสหภาพยุโรปหลังปี 2547) พบว่า "ระลอกแรกนำให้อาชญากรมทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญ ส่วนระลอกที่สองมีผลกระทบเชิงลบเล็กน้อย" ไม่มีผลต่อาชญากรรมรุนแรง อัตราการจับกุมไม่แตกต่างกัน และการเปลี่ยนแปลงอาชญากรรมไม่สามารถบอกได้ว่าถือเป็นอาชญากรรมต่อผู้เข้าเมือง ข้อค้นพบนี้ต้องกันกับญัตติว่าข้อแตกต่างในโอกาสตลาดแรงงานของกลุ่มย้ายถิ่นต่าง ๆ มีผลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่ออาชญากรรม"[7] การศึกษาหนึ่งในปี 2556 พบว่า "อาชญากรรมต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญในย่านที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนประชากรเข้าเมืองพอสมควร" และ "ผลลดอาชญากรรมจะเสริมขึ้นมากหากดินแดนแทรกนั้นประกอบด้วยผู้เข้าเมืองจากภูมิหลังชาติพันธุ์เดียวกัน"[8] การศึกษาอาชญากรรมทรัพย์สินปี 2557 โดยยึดการสำรวจอาชญากรรมและความยุติธรรมปี 2546 (การสำรวจตัวแทนชาติซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศอังกฤษและเวลส์ถูกถามคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมอาชญากรรมของตน) เมื่อคำนวณการรายงานอาชญากรรมต่ำกว่าจริง พบว่า "ผู้เข้าเมืองที่อยู่ในกรุงลอนดอนและผู้เข้าเมืองผิวดำมีกิจกรรมทางการเมืองน้อยกว่าคนพื้นเมืองมากอย่างมีนัยสำคัญ"[3] อีกการศึกษาหนึ่งในปี 2557 พบว่า "พื้นที่ซึ่งมีสัดส่วนผู้เข้าเมืองล่าสุดสูงสุดตั้งแต่ปี 2547 ไม่มีระดับการปล้อนทรัพย์ ความรุนแรงหรือการกระทำความิดทางเพศสูงขึ้น" แต่ "มีระดับการกระทำความผิดยาเสพติดสูงกว่า"[63]

มีรายงานในปี 2550 ว่าผู้เข้าเมืองก่ออาชญากรรมกว่าหนึ่งในห้าของอาชญากรรมที่ไขได้ในกรุงลอนดอน พลเมืองที่มิใช่บริเตนกระทำความผิดทางเพศที่ไขได้ทั้งหมดและมีรายงานประมาณหนึ่งในสาม และกลฉ้อฉลที่ไขได้ทั้งหมดและมีรายงานกึ่งหนึ่งในเมืองหลวง[64] การศึกษาหนึ่งในปี 2551 พบว่าอัตราอาชญากรรมของผู้เข้าเมืองยุโรปตะวันออกเท่ากับอัตราของประชากรพื้นเมือง[65]

สหรัฐ

[แก้]

การศึกษาส่วนใหญ่ในสหรัฐพบอัตราอาชญากรรมในหมู่ผู้เข้าเมืองต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มิได้เข้าเมือง และความหนาแน่นของผู้เข้าเมืองที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับอัตราอาชญากรรมต่ำลง[66][67][68][69][70][71][72][73][74][75][76][77][78][79][80][81][82][83][84][85] งานวิจัยบางส่วนถึงกับเสนอว่าการเข้าเมืองเพิ่มอาจอธิบายอัตราอาชญากรรมของสหรัฐที่ลดลงได้บางส่วน[9][86][87][88][89] การศึกษาหนึ่งในปี 2548 พบว่าการเข้าเมืองพื้นที่มหานครของสหรัฐขนาดใหญ่มิได้เพิ่มอัตราอาชญากรรมในที่นั้น ซ้ำบางกรณีกลับลด[90] การศึกษาหนึ่งในปี 2552 พบว่าการเข้าเมืองล่าสุดมิได้สัมพันธ์กับการฆ่าคนในออสติน รัฐเท็กซัส[91] อัตราอาชญากรรมต่ำของผู้เข้าเมืองสหรัฐแม้มีระดับการศึกษาต่ำกว่า ระดับรายได้ต่ำกว่า และอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควรนำให้อัตราอาชญากรรมสูงขึ้น) อาจเนื่องจากอัตราพฤติกรรมต่อต้านสังคมในหมู่คนเข้าเมืองต่ำกว่า[92] การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเข้าเมืองสหรัฐของชาวเม็กซิโกสัมพันธ์กับการเพิ่มการทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัสและการลดอาชญากรรมทรัพย์สิน[93] การศึกษาหนึ่งในปี 2559 ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างประชากรผู้เข้าเมืองกับอาชญากรรมรุนแรง แม้มีความสัมพันธ์เล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญระหว่างผู้เข้าเมืองไม่มีเอกสารกับอาชญากรรมที่สัมพันธ์กับยาเสพติด[94]

งานวิจัยพบว่าชุมชนปลอดภัย (Secure Communities) โครงการบังคับการเข้าเมืองซึ่งนำไปสู่การกักกันมากถึง 250,000 คน (เมื่อมีการจัดพิมพ์การศึกษานี้ในเดือนพฤศจิกายน 2557) ไม่มีผลกระทบที่สังเกตได้ต่ออัตราอาชญากรรม[95] การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่ารัฐบัญญัติปฏิรูปและควบคุมการเข้าเมือง ค.ศ. 1986 ซึ่งทำให้ผู้เข้าเมืองเกือบ 3 ล้านคนชอบด้วยกฎหมาย นำให้ "อาชญากรรมลดลง 3-5% เนื่องจากมีอาชญากรรมทรัพย์สินลดลงเป็นหลัก เทียบเท่ากับอาชญากรรมรุนแรงและทรัพย์สินน้อยลง 120,000-180,000 ครั้งที่มีผู้ก่อทุกปีเนื่องจากการทำให้ชอบด้วยกฎหมายนี้"[14] จากข้อมูลของการศึกษาหนึ่ง นครคุ้มภัย (sanctuary cities) ซึ่งลงมติรับนโยบายว่าจะไม่ฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลเพียงเพราะเป็นคนต่างด้าวมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลที่มีนัยสำคัญต่ออาชญากรรม[96]

มีการจัดทำการวิเคราะห์ทางการเมืองแรก ๆ ในสหรัฐของความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมในต้นคริสต์ทศวรรษ 20 โดยคณะกรรมการดิลลิงแฮม (Dillingham Commission) ซึ่งพบความสัมพันธ์โดยเฉพาะสำหรับผู้เข้าเมืองจากประเทศที่มิใช่ยุโรปเหนือ ส่งผลให้มีรัฐบัญญัติลดการเข้าเมืองต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 รวมทั้งรัฐบัญญัติโควตาฉุกเฉิน ค.ศ. 1921 ซึ่งเอื้อการเข้าเมืองจากยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก[97] การวิจัยล่าสุดมีข้อกังขาข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมการดิลลิงแฮม การศึกษาหนึ่งพบว่า "คณะกรรมการรัฐบาลสำคัญด้านการเข้าเมืองและอาชญากรรมในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 อาศัยหลักฐานที่มีความลำเอียงรวมกลุ่ม [aggregation bias] และการขาดข้อมูลประชากรที่แม่นยำ ซึ่งนำให้พวกเขานำเสนอมุมมองบางส่วนและบางครั้งชวนเข้าใจผิดของการเปรียบเทียบความเป็นอาชญากรของผู้เข้าเมือง-คนพื้นเมือง ด้วยข้อมูลและระเบียบวิธีที่ปรับปรุงขึ้น เราพบว่าในปี 2447 อัตราหมายจำคุกเรือนจำสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงกว่าค่อนข้างเท่ากันสำหรับคนพื้นเมืองทุกช่วงอายุยกเว้นอายุ 18 และ 19 ปี ซึ่งอัตราหมายจำคุกสำหรับผู้เข้าเมืองสูงกว่าผู้เกิดพื้นเมือง ในปี 2473 ผู้เข้าเมืองมีโอกาสถูกหมายจำคุกเรือนจำน้อยกว่าชนพื้นเมืองสำหรับทุกอายุ 20 ปีเป็นต้นไป แต่สถิตินี้หมดไปเมื่อดูหมายจำคุกสำหรับอาชญากรรมรุนแรง"[98]

สำหรับต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 การศึกษาหนึ่งพบว่าผู้เข้าเมืองมีอัตราจำคุก "ค่อนข้างเท่ากัน" สำหรับอาชญากรรมสำคัญเทียบกับชนพื้นเมืองในปี 2447 แต่ต่ำกว่าสำหรับอาชญากรรมสำคัญ (ยกเว้นการกระทำความผิดรุนแรง ซึ่งมีอัตราเท่ากัน) ในปี 2473[98] คณะกรรมการร่วมสมัยใช้ข้อมูลน่าคลางแคลงและตีความข้อมูลไปในทางที่ชวนสงสัย[98]

การรับรู้ความเป็นอาชญากรของผู้เข้าเมือง

[แก้]

การวิจัยเสนอว่าบุคคลประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองกับความเป็นอาชญากรสูงกว่าจริง การศึกษาในประเทศเบลเยียมในปี 2559 พบว่าการอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีหลายชาติพันธุ์นำให้กลัวอาชญากรรมเพิ่มขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับอัตราอาชญากรรมที่แท้จริง[99] การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเพิ่มการไหลบ่าของการเข้าเมืองประเทศยุโรปตะวันตกที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 2000 "ไม่มีผลต่อการตกเป็นผู้เสียหายอาชญากรรม แต่สัมพันธ์กับการเพิ่มความกลัวอาชญากรรม โดยอย่างหลังต้องกันและมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับเจตคติไม่สนับสนุนต่อผู้เข้าเมืองของชนพื้นเมือง"[5] ชาวอเมริกันประเมินความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลี้ภัยกับการก่อการร้ายสูงกว่าจริง[100]

ผลลัพธ์ทางการเมือง

[แก้]

การวิจัยเสนอว่าการรับรู้ว่ามีความเชื่อมโยงเชิงเหตุทางบวกระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรมนำให้มีการสนับสนุนนโยบายหรือพรรคการเมืองที่ต่อต้านการเข้าเมืองมากขึ้น[101][102][103][104][105] การวิจัยยังเสนอว่าวงจรร้ายความไร้เหตุผลและการลดคุณค่าในตัวผู้เข้าเมืองอาจเพิ่มความเป็นอาชญากรและความไร้เหตุผลของผู้เข้าเมือง ตัวอย่างเช่น นักรัฐศาสตร์แคลร์ แอดิดา (Claire Adida) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก นักรัฐศาสตร์เดวิด ไลทิน (David Laitin) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และนักเศรษฐศาสตร์มารี-แอน วัลฟอร์ต (Marie-Anne Valfort) แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์แย้งว่า "นโยบายที่อาศัยความกลัวซึ่งมุ่งเป้ากลุ่มบุคคลตามศาสนาหรือภูมิภาคกำเนิดนั้นเป็นการขัดขวาง การวิจัยของเราเองซึ่งอธิบายบูรณาการที่ล้มเหลวของผู้เข้าเมืองมุสลิมในประเทศฝรั่งเศสเสนอว่านโยบายดังกล่าวสามารถป้อนข้าสู่วงจรร้ายที่ทำลายความมั่นคงของชาติ ความกลัวอิสลามของชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลต่างทางวัฒนธรรมกระตุ้นให้ผู้เข้าเมืองมุสลิมถอนตัวจากสังคมฝรั่งเศส แล้วป้อนกลับเข้าสู่ความกลัวอิสลามของชาวฝรั่งเศส แล้วยิ่งกระตุ้นการลดคุณค่าในตัวมุสลิมเลวร้ายลง ที่จริง ความล้มเหลวของความมั่นคงฝรั่งเศสในปี 2558 น่าจะเกิดจากยุทธวิธีตำรวจที่ข่มขู่มากกว่าต้อนรับลูกหลานของผู้เข้าเมือง ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้ยากต่อการได้มาซึ่งสารสนเทศสำคัญจากสมาชิกชุมชนเกี่ยวกับภัยที่อาจเกิดขึ้น"[106][107]

การศึกษาผลกระทบระยะยาวของวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 พบว่าการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมความเกลียดชังต่อมุสลิมหลังเหตุการณ์ดังกล่าวลดการผสมกลมกลืนโดยผู้เข้าเมืองมุสลิม[108] เมื่อควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้ประพันธ์พบว่า "ผู้เข้าเมืองมุสลิมที่อาศัยอยู่ในรัฐที่มีอาชญากรรมความเกลียดชังเพิ่มขึ้นสูงสุดยังแสดงโอกาสากรสมรสภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกับตนสูงขึ้น การเจริญพันธุ์สูงขึ้น การเข้ามีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรีลดลงและความชำนาญภาษาอังกฤษลดลง"[108]

รีฐที่มีการกระทำก่อการร้ายในแผ่นดินตนเองหรือต่อพลเมืองของตนมีโอกาสรับการจำกัดเข้มงวดขึ้นต่อการรับรองที่ลี้ภัย[109] ปัจเจกบุคคลที่เชื่อว่าชาวแอฟริกันอเมริกันและฮิสปานิกมีแนวโน้มความรุนแรงมากกว่ายังมีโอกาสสนับสนุนโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย[110]

คณะกรรมการดิลลิงแฮม (Dillingham Commission) เลือกผู้เข้าเมืองจากยุโรปใต้สำหรับการเข้ามีส่วนในอาชญากรรมรุนแรง (แม้ข้อมูลไม่สนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว)[98] ข้อค้นพบของคณะกรรมการให้เหตุผลสำหรับรัฐบัญญัติการลดการเข้าเมืองต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 รวมทั้งรัฐบัญญัติโควตาฉุกเฉิน ค.ศ. 1921 ซึ่งเอื้อต่อการเข้าเมืองจากยุโรปเหนือและตะวันตกโดยการจำกัดจำนวนผู้เข้าเมืองต่อปีจากประเทศใด ๆ เหลือร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมดจากประเทศนั้นที่อาศัยอยู่ในสหรัฐในปี 2453 ขบวนการสนับสนุนการจำกัดการเข้าเมืองซึ่งคณะกรรมการดิลลิงแฮมช่วยส่งเสริมนั้นลงเอยด้วยสูตรถิ่นกำเนิดชาติ (National Origins Formula) ส่วนหนึ่งของรัฐบัญญัติการเข้าเมือง ค.ศ. 1924 ซึ่งจำกัดการเข้าเมืองชาติที่ 150,000 คนต่อปีและห้ามการเข้าเมืองจากทวีปเอเชียโดยสิ้นเชิง[111]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Buonanno, Paolo; Drago, Francesco; Galbiati, Roberto; Zanella, Giulio (2011-07-01). "Crime in Europe and the United States: dissecting the 'reversal of misfortunes'". Economic Policy. 26 (67): 347–385. doi:10.1111/j.1468-0327.2011.00267.x. ISSN 0266-4658.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Bell, Brian; Oxford, University of; UK. "Crime and immigration". IZA World of Labor. doi:10.15185/izawol.33.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Papadopoulos, Georgios (2014-07-02). "Immigration status and property crime: an application of estimators for underreported outcomes". IZA Journal of Migration. 3 (1): 12. doi:10.1186/2193-9039-3-12. ISSN 2193-9039.
  4. Bianchi, Milo; Buonanno, Paolo; Pinotti, Paolo (2012-12-01). "Do Immigrants Cause Crime?". Journal of the European Economic Association (ภาษาอังกฤษ). 10 (6): 1318–1347. doi:10.1111/j.1542-4774.2012.01085.x. ISSN 1542-4774.
  5. 5.0 5.1 5.2 Nunziata, Luca (2015-03-04). "Immigration and crime: evidence from victimization data". Journal of Population Economics. 28 (3): 697–736. doi:10.1007/s00148-015-0543-2. ISSN 0933-1433.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Jaitman, Laura; Machin, Stephen (2013-10-25). "Crime and immigration: new evidence from England and Wales". IZA Journal of Migration. 2 (1): 1–23. doi:10.1186/2193-9039-2-19. ISSN 2193-9039.
  7. 7.0 7.1 7.2 Bell, Brian; Fasani, Francesco; Machin, Stephen (2012-10-10). "Crime and Immigration: Evidence from Large Immigrant Waves". Review of Economics and Statistics. 95 (4): 1278–1290. doi:10.1162/REST_a_00337. ISSN 0034-6535.
  8. 8.0 8.1 Bell, Brian; Machin, Stephen (2013-02-01). "Immigrant Enclaves and Crime*". Journal of Regional Science. 53 (1): 118–141. doi:10.1111/jors.12003. ISSN 1467-9787.
  9. 9.0 9.1 Wadsworth, Tim (2010-06-01). "Is Immigration Responsible for the Crime Drop? An Assessment of the Influence of Immigration on Changes in Violent Crime Between 1990 and 2000*". Social Science Quarterly. 91 (2): 531–553. doi:10.1111/j.1540-6237.2010.00706.x. ISSN 1540-6237.
  10. 10.0 10.1 Piopiunik, Marc; Ruhose, Jens (2015-04-06). "Immigration, Regional Conditions, and Crime: Evidence from an Allocation Policy in Germany". Rochester, NY. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. Lee, Matthew T.; Martinez Jr., Ramiro (2009). "Immigration reduces crime: an emerging scholarly consensus". Immigration, Crime and Justice. Emerald Group Publishing. pp. 3–16.
  12. "Understanding the Role of Immigrants' Legal Status: Evidence from Policy Experiments". www.iza.org. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.
  13. Mastrobuoni, Giovanni; Pinotti, Paolo (2015). "Legal Status and the Criminal Activity of Immigrants". American Economic Journal: Applied Economics. 7 (2): 175–206. doi:10.1257/app.20140039.
  14. 14.0 14.1 Baker, Scott R. "Effects of Immigrant Legalization on Crime †". American Economic Review. 105 (5): 210–213. doi:10.1257/aer.p20151041.
  15. Pinotti, Paolo (2014-10-01). "Clicking on Heaven's Door: The Effect of Immigrant Legalization on Crime". Rochester, NY. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. Fasani, Francesco (2014-01-01). "Understanding the Role of Immigrants' Legal Status: Evidence from Policy Experiments". Centre for Research and Analysis of Migration (CReAM), Department of Economics, University College London. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  17. "Refugees and Economic Migrants: Facts, policies and challenges". VoxEU.org. 2016-10-31. สืบค้นเมื่อ 2016-12-02.
  18. Freedman, Matthew. "Immigration, Opportunities, and Criminal Behavior". works.bepress.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Indvandrere i Danmark 2015". Statistics Denmark. 2015.
  20. Damm, Anna Piil; Dustmann, Christian. "Does Growing Up in a High Crime Neighborhood Affect Youth Criminal Behavior? †". American Economic Review. 104 (6): 1806–1832. doi:10.1257/aer.104.6.1806.
  21. 21.0 21.1 21.2 "Diskriminering i rättsprocessen - Brå". www.bra.se (ภาษาสวีเดน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-17. สืบค้นเมื่อ 2016-01-26.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Hällsten, Martin; Szulkin, Ryszard; Sarnecki, Jerzy (2013-05-01). "Crime as a Price of Inequality? The Gap in Registered Crime between Childhood Immigrants, Children of Immigrants and Children of Native Swedes". British Journal of Criminology. 53 (3): 456–481. doi:10.1093/bjc/azt005. ISSN 0007-0955.
  23. Warren, Patricia Y.; Tomaskovic-Devey, Donald (2009-05-01). "Racial profiling and searches: Did the politics of racial profiling change police behavior?*". Criminology & Public Policy (ภาษาอังกฤษ). 8 (2): 343–369. doi:10.1111/j.1745-9133.2009.00556.x. ISSN 1745-9133.
  24. Statistics on Race and the Criminal Justice System 2008/09, p. 8., 22
  25. 25.0 25.1 Crocitti, Stefania. Immigration, Crime, and Criminalization in Italy - Oxford Handbooks. doi:10.1093/oxfordhb/9780199859016.013.029.
  26. West, Jeremy. "Racial Bias in Police Investigations" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-07.
  27. 27.0 27.1 27.2 Colombo, Asher (2013-11-01). "Foreigners and immigrants in Italy's penal and administrative detention systems". European Journal of Criminology (ภาษาอังกฤษ). 10 (6): 746–759. doi:10.1177/1477370813495128. ISSN 1477-3708.[ลิงก์เสีย]
  28. Parmar, Alpa. Ethnicities, Racism, and Crime in England and Wales - Oxford Handbooks. doi:10.1093/oxfordhb/9780199859016.013.014.
  29. Donohue III, John J.; Levitt, Steven D. (2001-01-01). "The Impact of Race on Policing and Arrests". The Journal of Law & Economics. 44 (2): 367–394. doi:10.1086/322810. JSTOR 10.1086/322810.
  30. Abrams, David S.; Bertrand, Marianne; Mullainathan, Sendhil (2012-06-01). "Do Judges Vary in Their Treatment of Race?". The Journal of Legal Studies. 41 (2): 347–383. doi:10.1086/666006. ISSN 0047-2530.
  31. Mustard, David B. (2001-04-01). "Racial, Ethnic, and Gender Disparities in Sentencing: Evidence from the U.S. Federal Courts". The Journal of Law and Economics. 44 (1): 285–314. doi:10.1086/320276. ISSN 0022-2186.
  32. Anwar, Shamena; Bayer, Patrick; Hjalmarsson, Randi (2012-05-01). "The Impact of Jury Race in Criminal Trials". The Quarterly Journal of Economics (ภาษาอังกฤษ). 127 (2): 1017–1055. doi:10.1093/qje/qjs014. ISSN 0033-5533.
  33. Daudistel, Howard C.; Hosch, Harmon M.; Holmes, Malcolm D.; Graves, Joseph B. (1999-02-01). "Effects of Defendant Ethnicity on Juries' Dispositions of Felony Cases1". Journal of Applied Social Psychology (ภาษาอังกฤษ). 29 (2): 317–336. doi:10.1111/j.1559-1816.1999.tb01389.x. ISSN 1559-1816.
  34. Holmberg, Lars; Kyvsgaard, Britta. "Are Immigrants and Their Descendants Discriminated against in the Danish Criminal Justice System?". Journal of Scandinavian Studies in Criminology and Crime Prevention. 4 (2): 125–142. doi:10.1080/14043850310020027.
  35. Roché, Sebastian; Gordon, Mirta B.; Depuiset, Marie-Aude. Case Study - Oxford Handbooks. doi:10.1093/oxfordhb/9780199859016.013.030.
  36. Depew, Briggs; Eren, Ozkan; Mocan, Naci (2016-02-01). "Judges, Juveniles and In-group Bias". National Bureau of Economic Research. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  37. Light, Michael T. (2016-03-01). "The Punishment Consequences of Lacking National Membership in Germany, 1998–2010". Social Forces (ภาษาอังกฤษ). 94 (3): 1385–1408. doi:10.1093/sf/sov084. ISSN 0037-7732.
  38. Wermink, Hilde; Johnson, Brian D.; Nieuwbeerta, Paul; Keijser, Jan W. de (2015-11-01). "Expanding the scope of sentencing research: Determinants of juvenile and adult punishment in the Netherlands". European Journal of Criminology (ภาษาอังกฤษ). 12 (6): 739–768. doi:10.1177/1477370815597253. ISSN 1477-3708.[ลิงก์เสีย]
  39. 39.0 39.1 39.2 39.3 39.4 Banks, James (2011-05-01). "Foreign National Prisoners in the UK: Explanations and Implications". The Howard Journal of Criminal Justice. 50 (2): 184–198. doi:10.1111/j.1468-2311.2010.00655.x. ISSN 1468-2311.
  40. "Immigration policy and crime" (PDF). 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-02-02.
  41. Dahlbäck, Olof (2009). "Diskrimineras invandrarna i anmälningar av brott?" (PDF).
  42. "Crimes of Mobility: Criminal Law and the Regulation of Immigration (Hardback) - Routledge". Routledge.com. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
  43. Bosworth, Mary (2011-05-01). "Deportation, Detention and Foreign National Prisoners in England and Wales". Rochester, NY: Social Science Research Network. doi:10.2139/ssrn.1852191. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  44. "Drug-facilitated, Incapacitated, and Forcible Rape: A National Study" (PDF).
  45. 45.0 45.1 Bove, Vincenzo; Böhmelt, Tobias (2016-02-11). "Does Immigration Induce Terrorism?". The Journal of Politics: 000–000. doi:10.1086/684679. ISSN 0022-3816.
  46. Mohdin, Aamna. "What effect did the record influx of refugees have on jobs and crime in Germany? Not much". Quartz (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-02-03.
  47. Gehrsitz, Markus; Ungerer, Martin (2017-01-01). "Jobs, Crime, and Votes: A Short-Run Evaluation of the Refugee Crisis in Germany". Rochester, NY. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  48. 48.0 48.1 (www.dw.com), Deutsche Welle. "Report: refugees have not increased crime rate in Germany | News | DW.COM | 13.11.2015". DW.COM. สืบค้นเมื่อ 2016-01-26.
  49. 13.11.15 Straftaten "im sehr niedrigen sechsstelligen Bereich", Die Welt, http://www.welt.de/politik/deutschland/article148812603/Straftaten-im-sehr-niedrigen-sechsstelligen-Bereich.html
  50. 50.0 50.1 (www.dw.com), Deutsche Welle. "Report: Refugee-related crimes in Germany increase less than influx of asylum seekers | NRS-Import | DW.COM | 17.02.2016". DW.COM. สืบค้นเมื่อ 2016-04-28.
  51. 51.0 51.1 "Donald Trump says Germany now riddled with crime thanks to refugees". @politifact. สืบค้นเมื่อ 2016-05-12.
  52. 52.0 52.1 Piopiunik, Marc; Ruhose, Jens. "Immigration, regional conditions, and crime: evidence from an allocation policy in Germany". European Economic Review. doi:10.1016/j.euroecorev.2016.12.004.
  53. "Identifying the Roots of Immigrant Crime". DW.COM.
  54. Prof. Dr. Frieder Dünkel, University of Greifswald,. "Migration and ethnic minorities in Germany: impacts on youth crime, juvenile justice and youth imprisonment" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-13.{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  55. 55.0 55.1 55.2 "Brottslighet bland personer födda i Sverige och i utlandet - Brå". www.bra.se (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-26.
  56. "Immigrants behind 25% of Swedish crime". thelocal.se.
  57. Regeringskansliet, Regeringen och (2006-03-16). "Är rättvisan rättvis? Tio perspektiv på diskriminering av etniska och religiösa minoriteter inom rättssystemet". Regeringskansliet (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-26.
  58. 58.0 58.1 "Brottslighet bland personer födda i Sverige och i utlandet - Brå". www.bra.se (ภาษาสวีเดน). p. 10. สืบค้นเมื่อ 2016-01-26.
  59. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-25. สืบค้นเมื่อ 2017-02-12.
  60. 60.0 60.1 Kardell, Johan; Martens, Peter L. (2013-07-01). "Are Children of Immigrants Born in Sweden More Law-Abiding Than Immigrants? A Reconsideration". Race and Justice. 3 (3): 167–189. doi:10.1177/2153368713486488. ISSN 2153-3687.[ลิงก์เสีย]
  61. 61.0 61.1 "Prison Population Statistics from the UK Parliament" (PDF).
  62. "Immigration Patterns of Non-UK Born Populations in England and Wales in 2011" (PDF).
  63. Stansfield, Richard (2014-07-15). "Reevaluating the Effect of Recent Immigration on Crime Estimating the Impact of Change in Discrete Migration Flows to the United Kingdom Following EU Accession". Crime & Delinquency: 0011128714542500. doi:10.1177/0011128714542500. ISSN 0011-1287.
  64. Harper, Tom; Leapman, Ben. "Foreigners 'commit fifth of crime in London'". The Daily Telegraph. 23 September 2007. Accessed 21 September 2011.
  65. Johnston, Phillip. "Immigration and crime: the real results" เก็บถาวร 2014-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 16 April 2008. Accessed 21 September 2011.
  66. Graif, Corina; Sampson, Robert J. (2009-07-15). "Spatial Heterogeneity in the Effects of Immigration and Diversity on Neighborhood Homicide Rates". Homicide studies. 13 (3): 242–260. doi:10.1177/1088767909336728. ISSN 1088-7679. PMC 2911240. PMID 20671811.
  67. Lee, Matthew T.; Martinez, Ramiro; Rosenfeld, Richard (2001-09-01). "Does Immigration Increase Homicide?". Sociological Quarterly (ภาษาอังกฤษ). 42 (4): 559–580. doi:10.1111/j.1533-8525.2001.tb01780.x. ISSN 1533-8525.
  68. Ousey, Graham C.; Kubrin, Charis E. (15 October 2013). "Immigration and the Changing Nature of Homicide in US Cities, 1980–2010". Journal of Quantitative Criminology. 30 (3): 453–483. doi:10.1007/s10940-013-9210-5.
  69. Martinez, Ramiro; Lee, Matthew T.; Nielsen, Amie L. (2004-03-01). "Segmented Assimilation, Local Context and Determinants of Drug Violence in Miami and San Diego: Does Ethnicity and Immigration Matter?1". International Migration Review (ภาษาอังกฤษ). 38 (1): 131–157. doi:10.1111/j.1747-7379.2004.tb00191.x. ISSN 1747-7379.
  70. Kristin F. Butcher & Anne Morrison Piehl (Summer 1998). 1520-6688 (199822) 17:3%3C457::AID-PAM4%3E3.0.CO;2-F/abstract "Cross-city evidence on the relationship between immigration and crime". Journal of Policy Analysis and Management. 17 (3). {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  71. Butcher, Kristin F.; Piehl, Anne Morrison (2007-07-01). "Why are Immigrants' Incarceration Rates so Low? Evidence on Selective Immigration, Deterrence, and Deportation". National Bureau of Economic Research. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  72. Butcher, Kristin F.; Piehl, Anne Morrison (1997-06-01). "Recent Immigrants: Unexpected Implications for Crime and Incarceration". National Bureau of Economic Research. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  73. Wolff, Kevin T.; Baglivio, Michael T.; Intravia, Jonathan; Piquero, Alex R. (2015-11-01). "The protective impact of immigrant concentration on juvenile recidivism: A statewide analysis of youth offenders". Journal of Criminal Justice. 43 (6): 522–531. doi:10.1016/j.jcrimjus.2015.05.004.
  74. Reid, Lesley Williams; Weiss, Harald E.; Adelman, Robert M.; Jaret, Charles (2005-12-01). "The immigration–crime relationship: Evidence across US metropolitan areas". Social Science Research. 34 (4): 757–780. doi:10.1016/j.ssresearch.2005.01.001.
  75. Davies, Garth; Fagan, Jeffrey (2012-05-01). "Crime and Enforcement in Immigrant Neighborhoods Evidence from New York City". The ANNALS of the American Academy of Political and Social Science (ภาษาอังกฤษ). 641 (1): 99–124. doi:10.1177/0002716212438938. ISSN 0002-7162.
  76. Jr, Ramiro Martinez; Stowell, Jacob I.; Iwama, Janice A. (2016-03-21). "The Role of Immigration: Race/Ethnicity and San Diego Homicides Since 1970". Journal of Quantitative Criminology (ภาษาอังกฤษ): 1–18. doi:10.1007/s10940-016-9294-9. ISSN 0748-4518.
  77. Chalfin, Aaron (2014-03-01). "What is the Contribution of Mexican Immigration to U.S. Crime Rates? Evidence from Rainfall Shocks in Mexico". American Law and Economics Review (ภาษาอังกฤษ). 16 (1): 220–268. doi:10.1093/aler/aht019. ISSN 1465-7252.
  78. "Crime rises among second-generation immigrants as they assimilate". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  79. Ousey, Graham C.; Kubrin, Charis E. (2009-08-01). "Exploring the Connection between Immigration and Violent Crime Rates in U.S. Cities, 1980–2000". Social Problems (ภาษาอังกฤษ). 56 (3): 447–473. doi:10.1525/sp.2009.56.3.447. ISSN 0037-7791.
  80. Light, Michael T.; Ulmer, Jeffery T. (2016-04-01). "Explaining the Gaps in White, Black, and Hispanic Violence since 1990 Accounting for Immigration, Incarceration, and Inequality". American Sociological Review (ภาษาอังกฤษ). 81 (2): 290–315. doi:10.1177/0003122416635667. ISSN 0003-1224.
  81. Bersani, Bianca E. (2014-03-04). "An Examination of First and Second Generation Immigrant Offending Trajectories". Justice Quarterly. 31 (2): 315–343. doi:10.1080/07418825.2012.659200. ISSN 0741-8825.
  82. Spenkuch, Jörg L. "Does Immigration Increase Crime?". สืบค้นเมื่อ 2016-06-23.
  83. "Crime, Corrections, and California: What Does Immigration Have to Do with It? (PPIC Publication)". www.ppic.org. สืบค้นเมื่อ 2016-06-23.
  84. MacDonald, John M.; Hipp, John R.; Gill, Charlotte (2 June 2012). "The Effects of Immigrant Concentration on Changes in Neighborhood Crime Rates". Journal of Quantitative Criminology. 29 (2): 191–215. doi:10.1007/s10940-012-9176-8.
  85. Adelman, Robert; Reid, Lesley Williams; Markle, Gail; Weiss, Saskia; Jaret, Charles (2017-01-02). "Urban crime rates and the changing face of immigration: Evidence across four decades". Journal of Ethnicity in Criminal Justice. 15 (1): 52–77. doi:10.1080/15377938.2016.1261057. ISSN 1537-7938.
  86. Stowell, Jacob I.; Messner, Steven F.; Mcgeever, Kelly F.; Raffalovich, Lawrence E. (2009-08-01). "Immigration and the Recent Violent Crime Drop in the United States: A Pooled, Cross-Sectional Time-Series Analysis of Metropolitan Areas*". Criminology (ภาษาอังกฤษ). 47 (3): 889–928. doi:10.1111/j.1745-9125.2009.00162.x. ISSN 1745-9125.
  87. "Sign In". สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  88. Ferraro, Vincent (2015-02-14). "Immigration and Crime in the New Destinations, 2000–2007: A Test of the Disorganizing Effect of Migration". Journal of Quantitative Criminology (ภาษาอังกฤษ). 32 (1): 23–45. doi:10.1007/s10940-015-9252-y. ISSN 0748-4518.
  89. STANSFIELD, RICHARD (August 2014). "SAFER CITIES: A MACRO-LEVEL ANALYSIS OF RECENT IMMIGRATION, HISPANIC-OWNED BUSINESSES, AND CRIME RATES IN THE UNITED STATES". Journal of Urban Affairs. 36 (3): 503–518. doi:10.1111/juaf.12051.
  90. Reid, Lesley Williams; Weiss, Harald E.; Adelman, Robert M.; Jaret, Charles (December 2005). "The immigration–crime relationship: Evidence across US metropolitan areas". Social Science Research. 34 (4): 757–780. doi:10.1016/j.ssresearch.2005.01.001.
  91. Akins, S.; Rumbaut, R. G.; Stansfield, R. (10 June 2009). "Immigration, Economic Disadvantage, and Homicide: A Community-level Analysis of Austin, Texas". Homicide Studies. 13 (3): 307–314. doi:10.1177/1088767909336814.
  92. Vaughn, Michael G.; Salas-Wright, Christopher P.; DeLisi, Matt; Maynard, Brandy R. (2013-11-29). "The immigrant paradox: immigrants are less antisocial than native-born Americans". Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology (ภาษาอังกฤษ). 49 (7): 1129–1137. doi:10.1007/s00127-013-0799-3. ISSN 0933-7954. PMC 4078741. PMID 24292669.
  93. Chalfin, Aaron (May 2015). "The Long-Run Effect of Mexican Immigration on Crime in US Cities: Evidence from Variation in Mexican Fertility Rates". American Economic Review. 105 (5): 220–225. doi:10.1257/aer.p20151043.
  94. Green, David (2016-05-01). "The Trump Hypothesis: Testing Immigrant Populations as a Determinant of Violent and Drug-Related Crime in the United States". Social Science Quarterly (ภาษาอังกฤษ): n/a–n/a. doi:10.1111/ssqu.12300. ISSN 1540-6237.
  95. Miles, Thomas J.; Cox, Adam B. (2015-10-21). "Does Immigration Enforcement Reduce Crime? Evidence from Secure Communities". The Journal of Law and Economics. 57 (4): 937–973. doi:10.1086/680935.
  96. "Sanctuary cities do not experience an increase in crime". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2016-10-03.
  97. Open Collections Program: Immigration to the US, Dillingham Commission (1907-1910)
  98. 98.0 98.1 98.2 98.3 Moehling, Carolyn; Piehl, Anne Morrison (2009-11-01). "Immigration, crime, and incarceration in early twentieth-century america". Demography. 46 (4): 739–763. doi:10.1353/dem.0.0076. ISSN 0070-3370.
  99. Hooghe, Marc; de Vroome, Thomas (2016-01-01). "The relation between ethnic diversity and fear of crime: An analysis of police records and survey data in Belgian communities". International Journal of Intercultural Relations. 50: 66–75. doi:10.1016/j.ijintrel.2015.11.002.
  100. "America's puzzling moral ambivalence about Middle East refugees | Brookings Institution". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-06-28. สืบค้นเมื่อ 2017-01-26.
  101. Smith, Jason Matthew (2010-11-01). "Does Crime Pay? Issue Ownership, Political Opportunity, and the Populist Right in Western Europe". Comparative Political Studies. 43 (11): 1471–1498. doi:10.1177/0010414010372593. ISSN 0010-4140.
  102. Dinas, Elias; van Spanje, Joost (2011-12-01). "Crime Story: The role of crime and immigration in the anti-immigration vote". Electoral Studies. 30 (4): 658–671. doi:10.1016/j.electstud.2011.06.010.
  103. Burscher, Bjorn; van Spanje, Joost; de Vreese, Claes H. (2015-06-01). "Owning the issues of crime and immigration: The relation between immigration and crime news and anti-immigrant voting in 11 countries". Electoral Studies. 38: 59–69. doi:10.1016/j.electstud.2015.03.001.
  104. Rydgren, Jens (2008-10-01). "Immigration sceptics, xenophobes or racists? Radical right-wing voting in six West European countries". European Journal of Political Research. 47 (6): 737–765. doi:10.1111/j.1475-6765.2008.00784.x. ISSN 1475-6765.
  105. Mayda, Anna Maria (2006-08-01). "Who Is Against Immigration? A Cross-Country Investigation of Individual Attitudes toward Immigrants". Review of Economics and Statistics. 88 (3): 510–530. doi:10.1162/rest.88.3.510. ISSN 0034-6535.
  106. Adida, Claire L.; Laitin, David D.; Valfort, Marie-Anne (2017-02-01). "The Wrong Way to Stop Terrorism". Foreign Affairs.
  107. "AdidaLaitinValfort2017_ForeignAffairs.pdf". Google Docs. สืบค้นเมื่อ 2017-02-04.
  108. 108.0 108.1 Gould, Eric D.; Klor, Esteban F. (2015-07-01). "The Long-run Effect of 9/11: Terrorism, Backlash, and the Assimilation of Muslim Immigrants in the West". The Economic Journal: n/a-n/a. doi:10.1111/ecoj.12219. ISSN 1468-0297.
  109. Avdan, Nazli (2014-12-01). "Do asylum recognition rates in Europe respond to transnational terrorism? The migration-security nexus revisited". European Union Politics (ภาษาอังกฤษ). 15 (4): 445–471. doi:10.1177/1465116514534908. ISSN 1465-1165.
  110. Unnever, James D.; Cullen, Francis T. (2012-11-01). "White Perceptions of Whether African Americans and Hispanics are Prone to Violence and Support for the Death Penalty". Journal of Research in Crime and Delinquency (ภาษาอังกฤษ). 49 (4): 519–544. doi:10.1177/0022427811415533. ISSN 0022-4278.[ลิงก์เสีย]
  111. Open Collections Program: Immigration to the US, Dillingham Commission (1907-1910)