การเข้าตีเจาะ (การสงคราม)
การเข้าตีเจาะ[1] (อังกฤษ: penetration) คือการเจาะผ่านและเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วผ่านแนวตั้งรับทางหทาร ในตำแหน่งฐานออกตีภาคพื้นดิน
การเข้าตีเจาะเป็นการดำเนินกลยุทธ์ทางทหารระดับยุทธศาสตร์เช่นเดียวกับการโอบสองปีกที่มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย การโจมตีแบบเข้าตีเจาะจะทะลุโดยตรงผ่านผ่านแนวของศัตรู เมื่อผ่านไปแล้ว แต่ละปีกจะเลี้ยวและโจมตีด้านหลังของศัตรู คล้ายกับกลยุทธ์แบบสายฟ้าแลบ
การเข้าตีเจาะเป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินกลยุทธ์ที่กองกำลังโจมตีพยายามที่จำทำลายการตั้งรับของข้าศึกในแนวรบแคบเพื่อขัดขวางระบบตั้งรับ[2] ผู้บัญชาการจะใช้การเข้าตีเจาะเมื่อไม่มีปีกที่สามารถปฏิบัติการโจมตีได้ และตั้งรับของศัตรูนั้นมีความกว้างมากเกินไปและมีการตรวพบจุดอ่อนในตำแหน่งของข้าศึก[3] หรือข้อจำกัดด้านเวลาที่ทำให้ไม่มีการป้องกันการตีโอบ[2]
การเข้าตีเจาะเป็นการดำเนินการในรูปแบบของส่วนหนึ่งของการเข้าตีตรงหน้าซึ่งเป็นกำลังส่วนใหญ่เมื่อไม่มีหน่วยปีกที่สามารถทำการโจมตีได้[3] มันอยู่ในรูปแบบของการโจมตีตำแหน่งของศัตรู สร้างความแตกร้าวในแนว, ขยายช่องว่างของแนวให้กว้างขึ้น และสามารถเจาะผ่านได้ในที่สุด กองกำลังที่ถูกแบ่งออกจะแบ่งไว้สำหรับการโจมตีและการตีหักเข้าตีเจาะ การเข้าตีเจาะมีระยะของการบุกเข้าไป, รบระยะประชิด และตีหักออกมา ไม่มีการแบ่งระยะที่ชัดเจนระหว่างขั้นตอนเหล่านี้ และขั้นตอนแต่ละระยะอาจจะเกิดทับซ้อนพร้อมกัน
การเข้าตีทางปีกและและการดำเนินกลยุทธ์รูปแบบอื่น ๆ เป็นที่นิยมมากกว่าการเข้าตีเจาะหรือการเข้าตีตรงหน้า
นอกจากนี้ยังมีการใช้งานคำว่าการเข้าตีเจาะในการโจมตีทางอากาศในบางกรณี เช่น การเข้าตีเจาะแนวลึกทางอากาศของอิสราเอล (Israeli Deep-Penetration Air Raid) ในสงครามพร่ากำลังเมื่อปี พ.ศ. 2510–2513[4]
การปฏิบัติ
[แก้]ข้อพิจารณาพื้นฐานสำหรับการเข้าตีเจาะ[3] ประกอบไปด้วย
- สภาพภูมิประเทศ
- กำลังของข้าศึกและความลึกของฐานที่มั่น
- ระยะทางไปยังเป้าหมาย
- การเข้าจู่โจมอย่างได้ผลในพื้นที่ตำบลนั้น
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร (PDF). มณฑลทหารบกที่ 16. 2547. pp. 3–138.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "Mission Command". www.moore.army.mil.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 คู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีของกองทัพบก พ.ศ. 2556 คู่มือทหารราบเบา (PDF). กองทัพภาคที่ 1 กองทัพบกไทย. 2555. pp. 2–7.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Bar-Siman-Tov, Yaacov (1984). "The Myth of Strategic Bombing: Israeli Deep-Penetration Air Raids in the War of Attrition, 1969-70". Journal of Contemporary History. 19 (3): 549–570. ISSN 0022-0094.