การอำพรางแบบวาบ
การอำพรางแบบวาบ (อังกฤษ: flash suppression) เป็นปรากฏการณ์ของการรับรู้อารมณ์[1]ทางตา ที่รูปหนึ่ง ๆ แสดงให้ตาข้างหนึ่ง แต่ถูกอำพรางโดยการแสดงชั่วแวบหนึ่งของอีกรูปหนึ่ง ให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง
เพื่อที่จะสังเกตการณ์การอำพรางแบบวาบ ก่อนอื่น แสดงรูปเล็ก ๆ รูปหนึ่งให้แก่ตาข้างหนึ่งเป็นเวลา 1 วินาที แล้วแสดงรูปเปล่าให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้น แสดงรูปเล็ก ๆ ที่ต่างกันอย่างฉับพลัน คือ แสดงชั่วแวบ ให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง (ที่ตอนแรกได้รับการแสดงรูปเปล่า) ในเขตของจอตาที่สมนัยกันกับรูปที่แสดงให้แก่ตาแรก เมื่อได้ทำอย่างนี้ การเห็นรูปที่แสดงให้แก่ตาแรกจะหายไป แม้ว่า รูปนั้นยังแสดงอยู่ และรูปใหม่เท่านั้นที่ได้รับการเห็น ฉะนั้น รูปใหม่ที่แสดงให้แก่ตาที่สองจะอำพรางการเห็นรูปที่แสดงให้แก่ตาแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าแสดงรูปรถคันหนึ่งให้แก่ตาข้างซ้ายเป็นเวลา 1 วินาที ต่อจากนั้น แสดงใบหน้าหนึ่ง ๆ ให้แก่ตาข้างขวาโดยฉับพลัน คนดูจะเห็นรถที่แสดงให้แก่ตาข้างซ้ายก่อน หลังจากนั้น จึงเห็นใบหน้าที่แสดงให้แก่ตาข้างขวา ให้สังเกตว่า คนดูเห็นใบหน้านั้นแม้รูปรถจะยังดำรงอยู่ ถ้าลำดับของการแสดงกลับกัน ลำดับของการรับรู้อารมณ์ก็กลับกันเช่นกัน
ดูเหมือนว่า ปรากฏการณ์การอำพรางแบบวาบจะเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แล้ว แม๊คดูกอลพรรณนาถึงปรากฏการณ์นี้ในปี ค.ศ. 1901 (หน้า 598) และแลนซิงใช้ปรากฏการณ์นี้ในการทดลองด้วยอีอีจี (อังกฤษ: electroencephalogram) เมื่อปี ค.ศ. 1964 ต่อมาในปี ค.ศ. 1984 เจเรมี โวลฟ์ ก็ได้แสดงลักษณะเฉพาะของการอำพรางแบบวาบในงานวิจัยจิตวิทยาวัตถุกระตุ้น (อังกฤษ: psychophysics) อย่างเป็นระบบ[2]
การอำพรางแบบวาบเป็นตัวอย่างของเทคนิคการลวงตาที่ทำให้รูปที่ปกติเห็นได้ชัด กลายเป็นรูปที่มองไม่เห็น เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิจัยกลไกการปฏิบัติการของสมองทั้งที่มีการรับรู้และไม่มีการรับรู้ ต่อสิ่งกระตุ้นทางตา[3] เทคนิคการลวงตาที่เกี่ยวข้องกันรวมทั้ง
- การปิดบังย้อนกลับ (อังกฤษ: backward masking)
- การแข่งขันระหว่างสองตา (อังกฤษ: binocular rivalry)
- ความบอดเพราะเคลื่อนไหว (อังกฤษ: motion induced blindness)
- ความอำพรางระหว่างสองตาเพราะเคลื่อนไหว (อังกฤษ: motion-induced interocular suppression)
มูลเหตุทางสมองที่ทำให้เกิดการอำพรางแบบวาบได้รับการวิจัยโดยใช้ไมโครอีเล็คโทรดบันทึกสัญญาณในสมองส่วนสายตาของลิงมาคาก[4] และในสมองกลีบขมับส่วนกลางของมนุษย์[5]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ อารมณ์ ในที่นี้หมายถึง "สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น เสียงเป็นอารมณ์ของหู" ดู วิกิพจนานุกรม
- ↑ โวลฟ์, ค.ศ. 1984
- ↑ คอชฮ์, ค.ศ. 2004
- ↑ โลโกเธทิส, ค.ศ. 1994
- ↑ โวลฟ์ คอชฮ์ และเพื่อน, ค.ศ. 2002
อ้างอิง
[แก้]ทั่วไป
[แก้]- Koch, C. (2004) The Quest for Consciousness: A Neurobiological Approach, Roberts, Englewood, Colorado
- Kim, C.Y., and Blake, R. (2005) Psychophysical magic: rendering the visible 'invisible'. Trends Cogn Sci 9, 381-388
- Lin, Z., He, S., Seeing the invisible: The scope and limits of unconscious processing in binocular rivalry, Progress in Neurobiology (2007), [ลิงก์เสีย] doi:10.1016/j.pneurobio.2008.09.002.
- Logothetis, N.K. (1998) Single units and conscious vision. Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci 353, 1801-1818
การอำพรางแบบวาบ
[แก้]- J.M. Wolfe (1984) Reversing ocular dominance and suppression in a single flash. Vision Res 24, 471 478,
- Sheinberg, D.L., and Logothetis, N.K. (1997) The role of temporal cortical areas in perceptual organization. Proc Natl Acad Sci U S A 94, 3408-3413
- Kreiman, G., et al. (2002) Single-neuron correlates of subjective vision in the human medial temporal lobe. Proc Natl Acad Sci U S A 99, 8378-8383
- Tsuchiya, N., et al. (2006) Depth of interocular suppression associated with continuous flash suppression, flash suppression, and binocular rivalry. J Vis 6, 1068-1078
การอำพรางแบบวาบแบบกว้าง ๆ
[แก้]- Wilke, M., et al. (2003) Generalized flash suppression of salient visual targets. Neuron 39, 1043-1052
- Wilke, M., et al. (2006) Local field potential reflects perceptual suppression in monkey visual cortex.. Proc Natl Acad Sci U S A 103, 17507-17512
กาอำพรางแบบวาบแต่ต่อเนื่อง
[แก้]- Tsuchiya, N., and Koch, C. (2004) Continuous flash suppression. Vision Sciences Society, 4th annual meeting. Sarasota, FL.
- Tsuchiya, N., and Koch, C. (2005) Continuous flash suppression reduces negative afterimages. Nat Neurosci 8, 1096-1101
- Fang, F., and He, S. (2005) Cortical responses to invisible objects in the human dorsal and ventral pathways. Nat Neurosci 10, 1380-1385
- Jiang, Y., et al. (2006) A gender- and sexual orientation-dependent spatial attentional effect of invisible images. Proc Natl Acad Sci U S A 103, 17048-17052
- Jiang, Y., and He, S. (2006) Cortical Responses to Invisible Faces: Dissociating Subsystems for Facial-Information Processing. Curr Biol 16, 2023-2029
- Kanai, R., et al. (2006) The scope and limits of top-down attention in unconscious visual processing. Curr Biol
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]http://www.scholarpedia.org/article/Flash_suppression บทความการอำพรางแบบวาบบนสารานุกรมเปิด (สคอลาร์พีเดีย)