ข้ามไปเนื้อหา

การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน (อังกฤษ: Reflection seismology หรือ Seismic reflection) เป็นรูปแบบการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์อย่างหนึ่งซึ่งใช้หลักการของวิทยาแผ่นดินไหวในการประมาณสิ่งที่อยู่ใต้ผิวของโลกจากคลื่นแผ่นดินไหวที่สะท้อนกลับมา การสำรวจด้วยวิธีการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยแหล่งพลังงานกำเนิดแผ่นดินไหวที่อยู่ภายใต้การควบคุม เช่น ไดนาไมต์ เป็นต้น โดยการจดบันทึกเวลาที่ใช้ในการสะท้อนกลับเข้าสู่ตัวรับคลื่น ทำให้การประมาณความลึกของพื้นผิวซึ่งทำให้เกิดการสะท้อนนั้นเป็นไปได้ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับโซนาร์และการหาตำแหน่งของวัตถุโดยใช้เวลาและทิศทาง

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]