ข้ามไปเนื้อหา

การสังเคราะห์นิวเคลียสของบิกแบง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ การสังเคราะห์นิวเคลียสของบิกแบง (อังกฤษ: Big Bang nucleosynthesis; BBN) หรือ การสังเคราะห์นิวเคลียสเริ่มแรก เป็นการอธิบายถึงกระบวนการกำเนิดนิวเคลียสต่างๆ นอกเหนือไปจากนิวเคลียสของ H-1 (เช่น ไอโซโทปแสงของไฮโดรเจน ซึ่งนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนเดี่ยว) ระหว่างช่วงยุคต้นของการเกิดเอกภพ การสังเคราะห์นิวเคลียสแรกเริ่มนี้เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากเกิดบิกแบง เชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุของการก่อตัวของไอโซโทปธาตุหนักของไฮโดรเจน ที่รู้จักกันในชื่อ ดิวเทอเรียม (H-2 หรือ D), ฮีเลียมไอโซโทป He-3 และ He-4, และ ลิเทียมไอโซโทป Li-6 และ Li-7 นอกจากนิวเคลียสที่เสถียรเหล่านี้ ยังมีพวกที่ไม่เสถียรอยู่ด้วย หรือพวกไอโซโทปกัมมันตรังสี (Radionuclide) เช่น ทริเทียม H-3, เบอริลเลียม Be-7 และ เบอริลเลียม Be-8 ไอโซโทปที่ไม่เสถียรเหล่านี้อาจเสื่อมสลายไปหรือรวมตัวเข้ากับนิวเคลียสอื่นๆ และกลายเป็นหนึ่งในบรรดาไอโซโทปเสถียร

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

สำหรับผู้อ่านทั่วไป

[แก้]
  • Weiss, Achim. "Big Bang Nucleosynthesis: Cooking up the first light elements". Einstein Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-02-24.
  • White, Martin: Overview of BBN
  • Wright, Ned: BBN (cosmology tutorial)
  • Big Bang nucleosynthesis on arxiv.org
  • Burles, Scott; Nollett, Kenneth M.; Turner, Michael S. (1999-03-19). "Big-Bang Nucleosynthesis: Linking Inner Space and Outer Space". arXiv:astro-ph/9903300.

บทความเชิงเทคนิค

[แก้]