ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด
จารึกเหตุการณ์สังหารหมู่ที่อาคารผู้โดยสารสามของท่าอากาศยานลอด
สถานที่ท่าอากาศยานลอด นอกเมืองเทลอาวีฟ อิสราเอล
พิกัด31°59′42.4″N 34°53′38.65″E / 31.995111°N 34.8940694°E / 31.995111; 34.8940694
วันที่30 พฤษภาคม ค.ศ. 1972
ประเภทการสังหารหมู่
อาวุธปืนเล็กยาวจู่โจม วีซี. 58, ระเบิดมือ
ตาย26 คน
เจ็บ79 คน
ผู้ก่อเหตุสมาชิกกองทัพแดงญี่ปุ่น 3 คน
(สนับสนุนโดย PFLP-EO)

การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด เป็นการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 เมื่อสมาชิกกองทัพแดงญี่ปุ่น 3 คนที่สนับสนุนโดยฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine – External Operations; ย่อ PFLP-EO)[1][2] โจมตีท่าอากาศยานลอด (ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียนในปัจจุบัน) ใกล้เมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน บาดเจ็บ 80 คน[3]

วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 โกะโซะ โอะกะโมะโตะ, สึโยะชิ โอะกุไดระและยะสึยุกิ ยะสึดะ สมาชิกกองทัพแดงญี่ปุ่นที่ได้รับการฝึกจากกลุ่ม PFLP-EO เดินทางมาที่ท่าอากาศยานด้วยเที่ยวบินจากกรุงโรม[4][5] กลุ่ม PFLP-EO เลือกพวกเขาแทนชาวปาเลสไตน์เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับจากฝ่ายอิสราเอล[6] ทั้งสามคนแต่งกายทั่วไปและถือกล่องไวโอลิน เมื่อมาถึงพื้นที่พักคอย พวกเขาหยิบปืนเล็กยาวจู่โจม vz. 58 ที่ถอดพันท้ายออกจากกล่องไวโอลินแล้วกราดยิงไปที่ผู้คน ก่อนจะโยนระเบิดมือ ต่อมายะสึดะถูกผู้ก่อเหตุด้วยกันยิงเสียชีวิต ด้านโอะกุไดระย้ายไปยิงผู้โดยสารขาเข้าก่อนจะถูกระเบิดตัวเองเสียชีวิต ส่วนโอะกะโมะโตะถูกยิงก่อนถูกจับกุม[7][8] เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน เป็นชาวปวยร์โตรีโก 17 คน ชาวอิสราเอล 8 คนและชาวแคนาดา 1 คนและมีผู้บาดเจ็บ 80 คน

หลังเกิดเหตุ ในขั้นต้นทางการญี่ปุ่นไม่เชื่อว่าผู้ก่อเหตุเป็นชาวญี่ปุ่น จนกระทั่งสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นยืนยันว่าโอะกะโมะโตะเป็นชาวญี่ปุ่น โอะกะโมะโตะกล่าวว่าตนไม่มีความแค้นกับชาวอิสราเอล แต่ก่อเหตุเพราะ "เป็นหน้าที่ของทหารผู้ปฏิวัติ"[9] เขายอมรับสารภาพและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน[7] โอะกะโมะโตะถูกจำคุกนาน 13 ปีก่อนได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1985 ร่วมกับนักโทษคนอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนนักโทษกับทหารอิสราเอลที่ถูกจับ[10] ภายหลังโอะกะโมะโตะลี้ภัยอยู่ในเลบานอน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "They were responsible for the Lod Airport massacre in Israel in 1972, which was committed on behalf of the PFLP." Jeffrey D. Simon, The Terrorist Trap: America's Experience with Terrorism, Indiana University Press, p. 324. ISBN 0-253-21477-7
  2. "This Week in History:". July 24, 2012. สืบค้นเมื่อ July 24, 2012. The assailants, members of communist group the Japanese Red Army (JRA), were enlisted by the Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP),
  3. "In what became known as the Lod Airport Massacre, three members of the terrorist group, Japanese Red Army, arrived at the airport aboard Air France Flight 132 from Rome. Once inside the airport they grabbed automatic firearms from their carry-on cases and fired at airport staff and visitors. In the end, 26 people died and 80 people were injured." CBC News, The Fifth Estate, "Fasten Your Seatbelts: Ben Gurion Airport in Israel", 2007. Retrieved June 2, 2008.
  4. Burns, John F. (March 17, 2000). "Fate of 5 Terrorists Hangs Between Japan and Lebanon". The New York Times.
  5. Patricia G. Steinhoff (1976). "Portrait of a Terrorist: An Interview with Kozo Okamoto". Asian Survey. 16: 830–845. doi:10.1525/as.1976.16.9.01p0218n.
  6. Tucker, Spencer C.; Roberts, Priscilla. "The Encyclopedia of the Arab-Israeli Conflict: A Political, Social, and Military History". Google Book. สืบค้นเมื่อ November 28, 2017.
  7. 7.0 7.1 Schreiber, Mark (1996). Shocking Crimes of Postwar Japan. Tuttle Publishing. ISBN 4-900737-34-8.
  8. Burleigh, M (2009) Blood & Rage, a cultural history of terrorism, Harper Perennial P161
  9. Perdue, Jon B. "The War of All the People: The Nexus of Latin American Radicalism and Middle Eastern Terrorism". Google Books. สืบค้นเมื่อ November 28, 2017.
  10. The Terrorist Attack on Lod Airport: 40 Years After เก็บถาวร ธันวาคม 27, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "Japanese Red Army member Kozo Okamoto living quietly in Lebanon refugee camp". The Japan Times. December 25, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-02. สืบค้นเมื่อ November 28, 2017.