ข้ามไปเนื้อหา

การศึกษาในประเทศฟินแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การศึกษาในประเทศฟินแลนด์
กระทรวงการศึกษาและวัฒนธรรม
รัฐมนตรีศึกษาธิการ
รัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
Anna-Maja Henriksson
Sari Multala
งบประมาณทางการศึกษา (ค.ศ. 2018)
งบประมาณ11.9 พันล้านยูโร[1]
ข้อมูลทั่วไป
ภาษาที่ใช้ฟินแลนด์, สวีเดน, อังกฤษ
ระบบปัจจุบันตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970
การรู้หนังสือ (ค.ศ. 2000)
ทั้งหมด99.5%
ผู้ชาย99.5%
ผู้หญิง99.5%
การลงทะเบียนเรียน
ทั้งหมดไม่มีคำตอบ
ประถมศึกษา99.7% (สำเร็จการศึกษา)
มัธยมศึกษา66.2% (สำเร็จการศึกษา)
อุดมศึกษาไม่มีคำตอบ
ระดับการศึกษาของประชากร
ระดับมัธยมศึกษาสายวิชาการ 54%, อาชีวศึกษา 4%
ระดับปริญญาบัณฑิตขึ้นไป44% (อายุ 25–64 ปี)[2]

การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ เป็นระบบการศึกษาที่มีอาหารอุดหนุนครึ่งหนึ่งแก่นักเรียนเต็มเวลา ระบบการศึกษาปัจจุบันในประเทศฟินแลนด์ประกอบด้วยโปรแกรมรับเลี้ยงเด็ก (สำหรับทารกและเด็กวัยหัดเดิน) และ "ก่อนวัยเรียน" หนึ่งปี (หรือโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กวัย 6 ขวบ) ส่วนโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความสามารถทุกระดับขั้นพื้นฐานบังคับเก้าปี (เริ่มตอนอายุเจ็ดขวบและสิ้นสุดเมื่ออายุสิบหกปี) หลังมัธยมศึกษาตอนต้นแบ่งเป็นสายวิชาการและอาชีวศึกษา สำหรับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์) และการศึกษา (ตลอดชีวิต, อย่างต่อเนื่อง) สำหรับผู้ใหญ่ ยุทธศาสตร์ของฟินแลนด์มีเพื่อให้บรรลุความเสมอภาคและความเป็นเลิศด้านการศึกษาบนพื้นฐานของการสร้างระบบโรงเรียนที่มีการเลือก, การติดตาม และการสตรีมนักเรียนในระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไป[3] ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์คือการแพร่กระจายเครือข่ายโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนมีโรงเรียนใกล้บ้านของพวกเขาเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ หรือหากเป็นไปไม่ได้ เช่น ในพื้นที่ชนบท ก็อำนวยบริการขนส่งฟรีไปยังโรงเรียนอย่างแพร่หลายมากขึ้น รวมถึงการศึกษาพิเศษในห้องเรียน และความพยายามในการเรียนการสอนเพื่อลดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำ ซึ่งถือเป็นระบบการศึกษาแบบนอร์ดิกทั่วไป[3]

หลังจากสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเวลา 9 ปีในโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความสามารถทุกระดับแล้ว นักเรียนได้รับอนุญาตให้ทำทุกอย่างที่ต้องการ นักเรียนที่อายุ 16 ปีอาจเลือกที่จะเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาในสายวิชาการ (lukio) หรือสายอาชีวศึกษา (ammattikoulu) ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มักใช้เวลาสามปีและให้คุณวุฒิเพื่อศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งออกเป็นมหาวิทยาลัยและโรงเรียนโปลีเทคนิค (ammattikorkeakoulu หรือที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์") มหาวิทยาลัยมอบคุณวุฒิบัณฑิตและปริญญาเอก สมัยก่อน เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่สามารถได้รับวุฒิสูงกว่าปริญญาตรี อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การดำเนินงานของกระบวนการโบโลญญา ผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีทุกคนสามารถมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาต่อสำหรับการศึกษาทางวิชาการเพิ่มเติม โดยมีมหาวิทยาลัย 17 แห่ง และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 27 แห่งในประเทศ

ดัชนีการศึกษาที่เผยแพร่ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2008 ได้อิงข้อมูลจากปี ค.ศ. 2006 ระบุฟินแลนด์ที่ค่าดัชนี 0.993 ซึ่งอยู่ในจำนวนที่สูงที่สุดในโลก เท่ากับประเทศเดนมาร์ก, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เป็นครั้งแรก[4] กระทรวงการศึกษาของฟินแลนด์ถือว่าเป็นความสำเร็จของ "ระบบการศึกษา (การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สม่ำเสมอสำหรับกลุ่มอายุทั้งหมด), ครูที่มีความสามารถสูง และอิสรภาพที่มอบแก่โรงเรียน"[5]

ประเทศฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับสูงอย่างต่อเนื่องในการศึกษาของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ ซึ่งเปรียบเทียบระบบการศึกษาระดับประเทศในระดับสากล แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฟินแลนด์ได้ถูกแทนที่จากด้านบนสุด ในการศึกษาปี ค.ศ. 2012 ประเทศฟินแลนด์ครองอันดับที่หกในการอ่าน, อันดับที่สิบสองในวิชาคณิตศาสตร์ และอันดับที่ห้าในวิชาวิทยาศาสตร์ ในขณะที่กลับมาในส่วนการศึกษาปี ค.ศ. 2003 ประเทศฟินแลนด์ได้อันดับหนึ่งด้านวิทยาศาสตร์และการอ่าน และอันดับที่สองในด้านคณิตศาสตร์[6] นอกจากนี้ การศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่หนึ่งจากสภาเศรษฐกิจโลก[7]

ในขณะที่มีการเฉลิมฉลองความสำเร็จโดยรวม ช่องว่างระหว่างเพศของฟินแลนด์เกี่ยวกับการสอบการอ่านในปี ค.ศ. 2012 ของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติได้รับการระบุไว้ในรายงานของสถาบันบรูคิงส์ในปี ค.ศ. 2015 อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปกับหลายปัจจัย เช่น การเลือกสาขาวิชาที่แต่ละเพศเข้ามา[8] ประสิทธิภาพของเด็กชายวัย 15 ปีที่สอบข้อเขียนนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญจากค่าเฉลี่ยขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.66 ตามหลังหญิงสาวในวัยเดียวกัน

ทั้งนี้ รัฐบาลของเยอรกิ กาไตเนน, อเล็กซานเดอร์ สตุบบ์ และยูฮา สิปีลา ได้ตัดกองทุนการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ในช่วงปี ค.ศ. 2011–2018 รวมมูลค่า 1.5 พันล้านยูโร โดยมีจำนวนพนักงานมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยลดลงมากกว่า 7,500 คน[9]

ประวัติ

[แก้]

การรู้หนังสือเป็นส่วนสำคัญของลูเทอแรน, รัฐ และศาสนาส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ เนื่องจากคริสต์ศาสนิกชนควรจะสามารถอ่านคัมภีร์ไบเบิลในภาษาของตนเอง หัวหน้าบาทหลวง มิกาเอล อักริโกลา ได้รับการศึกษาภายใต้มาร์ติน ลูเทอร์ และแปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 1548 ส่วนมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศฟินแลนด์ (ราชบัณฑิตยสถานแห่งตุรกุ) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1640 มีการอ่านออกเขียนได้มากกว่า 50 เปอร์เซนต์ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 80–90 เปอร์เซนต์ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเด็นนั้นไม่มีโรงเรียนในเขตเทศบาล จึงมีการสอนการอ่านในโรงเรียนเคลื่อนที่ (kiertokoulu) ส่วนพิธีศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นพิธีกรรมของการเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่ อนุญาตให้ต่อเมื่อรู้หนังสือเท่านั้น และมอบอำนาจ เช่น เข้าสู่การแต่งงาน สถิติที่พบได้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 พบว่ามีผู้รู้หนังสืออยู่ที่ 97.6 เปอร์เซนต์[10] ระบบช่วงแรก ๆ ภายใต้การปกครองของประเทศสวีเดนอยู่ในภาษาสวีเดน และประกอบด้วย "เปดาโกฆิโอ" (pedagogio) ขั้นพื้นฐานสำหรับการสอนการอ่านและการเขียน, โรงเรียนธรรมดาที่สอนไวยากรณ์, ภาษาละติน, กรีก, วาทศาสตร์และภาษาถิ่น, โรงเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระบบได้พัฒนาเป็นสิ่งที่ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนามกานชาเกาลู (kansakoulu "โรงเรียนของประชาชน") และโอปปิเกาลู (oppikoulu "โรงเรียนการเรียนรู้") รวมถึงโรงเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยที่เรียกว่าลุกิโอ (lukio) ตามด้วยมหาวิทยาลัย ครั้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาษาฟินแลนด์ได้กลายเป็นภาษาราชการ และค่อย ๆ เปลี่ยนภาษาสวีเดนเป็นภาษาเล่าเรียนในโรงเรียน สำหรับในปี ค.ศ. 1898 ทุกคนได้รับสิทธิ์เข้าเรียนกานชาเกาลู โดยมีผู้เข้าเรียนถึง 50 เปอร์เซนต์ในปี ค.ศ. 1911 และกลายเป็นข้อบังคับในปี ค.ศ. 1921 ซึ่งเทศบาลเมืองจำเป็นต้องจัดให้มีการศึกษา[11] อาหารกลางวันที่โรงเรียนที่ไม่มีหลักสูตรตายตัวกลายเป็นข้อบังคับในปี ค.ศ. 1948 ส่วนโอปปิเกาลู ที่อายุ 10 ขวบยังคงเป็นทางเลือกและการเข้าเรียนมีการแข่งขัน เนื่องจากเป็นหนทางเดียวในการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยและการเข้าเรียน จึงได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานภาพและทางเลือกของผู้ปกครอง ซึ่งจำกัดโอกาสที่ไม่ค่อยดี คนงานชนชั้นแรงงานมักจะสำเร็จการศึกษาจากกานชาเกาลูเท่านั้นและเข้าสู่ตลาดแรงงาน ระบบนี้จะเอาออกไปในปี ค.ศ. 1972–1977 ในการสนับสนุนของระบบสมัยใหม่โดยให้เกรด 1–9 เป็นเกณฑ์บังคับ หลังจากอายุ 15 ปี ระบบจะแยกไปสองทางคือสายวิชาการ (lukio) และสายอาชีวศึกษา (ammattikoulu) ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา เมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นไปได้อย่างเป็นทางการที่จะเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยดีกรัอาชีวศึกษา แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากแผนการศึกษาสายอาชีพไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

การศึกษาปฐมวัย

[แก้]

ในประเทศฟินแลนด์ สถานรับเลี้ยงเด็กและสถานรับเลี้ยงเด็กอนุบาลชั้นสูง ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาความร่วมมือและทักษะการสื่อสารที่สำคัญในการเตรียมเด็กเล็กสำหรับการศึกษาตลอดชีวิต เช่นเดียวกับการเรียนรู้การอ่านและคณิตศาสตร์อย่างเป็นทางการ ซึ่งระยะเวลาเตรียมการนี้กินเวลาจนถึงอายุ 7 ขวบ

การศึกษาปฐมวัยของฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับการเคารพในความเป็นตัวของตัวเอง และโอกาสที่เด็กแต่ละคนจะพัฒนาเป็นบุคคลที่มีเอกลักษณ์ นักการศึกษาตอนต้นของฟินแลนด์ยังแนะนำเด็ก ๆ ในการพัฒนาทักษะทางสังคมและการโต้ตอบ, กระตุ้นให้พวกเขาใส่ใจกับความต้องการและความสนใจของผู้อื่น, ห่วงใยผู้อื่น และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้อื่น, วัฒนธรรมอื่น และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จุดประสงค์ของการค่อย ๆ ให้โอกาสสำหรับความเป็นอิสระที่เพิ่มขึ้น คือ เพื่อให้เด็กทุกคนสามารถดูแลตัวเองในฐานะ “กลายเป็นผู้ใหญ่ มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างรับผิดชอบ, มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลในสังคมในฐานะพลเมืองที่กระตือรือร้น และดูแลผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือจากเขา [หรือเธอ]”[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Current expenditure has decreased in real terms since 2010. Statistics Finland.
  2. McFarland, J.; Hussar, B.; Zhang, J.; Wang, X.; Wang, K.; Hein, S.; Diliberti, M.; Forrest Cataldi, E.; Bullock Mann, F.; Barmer, A. (2019). The Condition of Education 2019 (NCES 2019-144) (PDF). Washington, DC: National Center for Education Statistics: U.S. Department of Education. p. 296. สืบค้นเมื่อ 1 October 2019.
  3. 3.0 3.1 Antikainen, Ari; Luukkainen, Anna (2008). "Twenty-five Years of Educational Reform Initiatives in Finland" (PDF). University of Eastern Finland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 May 2017.
  4. "Human development indices" (PDF). Human Development Reports. 2008-12-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  5. "Background for Finnish PISA success". Minedu.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-08. สืบค้นเมื่อ 2012-08-07.
  6. Hallamaa, Teemu (3 December 2013). "Pisa-tulokset julki: Suomi pudonnut matematiikassa 10 sijaa yhdeksässä vuodessa". YLE Uutiset (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  7. http://reports.weforum.org/global-competitiveness-index-2017-2018/competitiveness-rankings/#series=GCI.A.04.02
  8. Loveless, Tom. "Girls, boys, and reading". Brookings.edu. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
  9. Suomen kuvalehti Koulutus säästökuurilla 27.4.2018 pages 23-25
  10. "Kysymys". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-27. สืบค้นเมื่อ 2016-09-25.
  11. Valtasaari (toim.): Kansakoulu 1866−1966, s. 133.
  12. Anneli Niikko, "Finnish Daycare: Caring, Education and Instruction", in Nordic Childhoods and Early Education: Philosophy, Research, Policy and Practice in Denmark, Finland, Iceland, Norway, and Sweden, Series: International Perspectives on Educational Policy, Research (Information Age Publishing Inc., 2006), 141

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ฝ่ายบริหารการศึกษาฟินแลนด์

องค์กรระหว่างประเทศ

ข่าว

อื่น ๆ