การลอบสังหารราชีพ คานธี
การลอบสังหารราชีพ คานธี | |
---|---|
เสาเจ็ดเสาตั้งขึ้นตรงจุดที่เกิดเหตุ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานราชีพ คานธี ในศรีปรุมปุตตูร | |
สถานที่ | ศรีปรุมปุตตูร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย |
พิกัด | 12°57′37″N 79°56′43″E / 12.9602°N 79.9454°E |
วันที่ | 21 พฤษภาคม 1991 22:10 น. (IST) |
เป้าหมาย | ราชีพ คานธี |
ประเภท | ระเบิดฆ่าตัวตาย |
อาวุธ | เข็มขัดระเบิด RDX |
ตาย | 16 (รวมผู้ก่อเหตุ) |
เจ็บ | 43 |
ผู้เสียหาย | ราชีพ คานธี และบุคคลอื่นอีก 57 ราย |
ผู้ก่อเหตุ | กไลวานิ ราชรัตนัม (Kalaivani Rajaratnam)[1] |
ราชีพ คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกลอบสังหารจากระเบิดฆ่าตัวตายในศรีปรุมปุตตูร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1991[2] มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้อีก 14 รายนอกจากคานธี รวมถึงผู้ก่อเหตุ[3] ผู้ก่อเหตุเป็นสตรีวัย 22 ปี ชื่อ กไลวานิ ราชรัตนัม (Kalaivani Rajaratnam) หรือเป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อปลอม เตนโมฬี ราชรัตนัม (Thenmozhi Rajaratnam)[4][5] สมาชิกขององค์การกบฏแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ปลดแอกทมิฬอีฬัมของชาวทมิฬศรีลังกา ณ เวลานั้น อินเดียพึ่งจะเพิกถอนบทบาทในสงครามกลางเมืองศรีลังกาโดยกองกำลังรักษาสันติสุขอินเดีย
ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ ราชีพ คานธี กำลังเดินสายหาเสียงเลือกตั้งร่วมกับจี.เค. มูปนัร ในภาคใต้ของประเทศอินเดีย ในวันที่ 21 พฤษภาคม หลังการหาเสียงในวิสาขาปัฏฏนัม รัฐอานธรประเทศ ทีมหาเสียงออกเดินทางไปยังเมืองศรีปรุมปุตตูร รัฐทมิฬนาฑู หลังเดินทางออกจากนครมัทราส (เจนไนในปัจจุบัน) สองชั่วโมงต่อมา คานธีและคณะหาเสียงออกเดินทางในขบวนรถที่มีการคุ้มกันในรถแอมบาสซาเดอร์ มุ่งหน้าศรีปรุมปุตตูร โดยมีจุดแวะพักหาเสียงรายทางสองสามแห่ง[6]
เมื่อคานธีและคณะเดินทางถึงพื้นที่หาเสียงในศรีปรุมปุตตูร เขาเดินลงจากรถและมุ่งหน้าไปยังเวทีเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ ระหว่างทาง เขารับพวงมาลัยจากผู้หวังดีมากมาย ตลอดจนสมาชิกพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดียและนักเรียน ผู้ก่อเหตุ กไลวานิ ราชรัตนัม แฝงตัวอยู่ในฝูงชนนี้และมุ่งหน้าเข้าเพื่อทักทายกับคานธี เธอก้มลงเพื่อสัมผัสเท้าของคานธี (เป็นวิธีการแสดงความเคารพในอินเดีย) พร้อมทั้งกดจุดระเบิด RDX ซึ่งติดตั้งในรูปเข็มขัดระเบิดที่เธอสวมภายใต้ชุดของเธอ ระเบิดถูกจุดที่เวลา 22:10 ตรง[7] มีผู้เสียชีวิตทันทีจากแรงระเบิดรวม 15 ราย ซึ่งรวมทั้งคานธีและราชรัตนัม มีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง 43 ราย เหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกบนฟิล์มโดยชายท้องถิ่นชื่อ หริบาบู (Haribabu) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์[8] และเสียชีวิตจากแรงระเบิดเช่นกัน กระนั้น กล้องฟิล์มของเขาไม่ได้เสียหายไปด้วย[1]
🏕️ปีพศ.2530 ราจีฟ คานธี เคยมาประเทศไทย วางพวงมาลาที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการคุ้มกันอย่างแน่หนา บนตึก สูงรอบ อนุสาวรีย์ ฯ☄️
- ↑ 1.0 1.1 Kaarthikeyan, D. R. (23 June 2015). The Rajiv Gandhi Assassination: The Investigation. Sterling Publishers Pvt. ISBN 9788120793088.
- ↑ Assassination in India; Rajiv Gandhi is assassinated in bombing at campaign stop; India puts off rest of voting [1] เก็บถาวร 30 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "1991: Bomb kills India's former leader Rajiv Gandhi". BBC News. 1991-05-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
- ↑ Gopal, Neena (2016-08-16). The Assassination of Rajiv Gandhi (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. ISBN 978-93-86057-68-6.
- ↑ "Lady With The Poison Flowers". www.outlookindia.com. 5 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
With Rajiv Gandhi's gruesome assassination, the suicide bomber had well and truly arrived
- ↑ Barbara Crossette, "Assassination in India; Rajiv Gandhi is assassinated in bombing at campaign stop" เก็บถาวร 13 มกราคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The New York Times, 22 May 1991.
- ↑ "A look back at Rajiv Gandhi assassination: Rare images from the past". The New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2019. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.
- ↑ Supreme Court of India, State Of Tamil Nadu Through vs Nalini And 25 Others on 11 May 1999 [2] เก็บถาวร 13 ธันวาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน