ข้ามไปเนื้อหา

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การรุกรานของนอร์มัน)
ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า

ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (อังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพัก ๆ ร่วมพันปี

ที่มา

[แก้]

นอร์มังดีเป็นบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ก่อนปี ค.ศ. 1066 ไวกิงเป็นจำนวนมากเดินทางมาตั้งถิ่นฐานในนอร์มังดี ในปี ค.ศ. 911 สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ซิมเปิล (Charles the Simple) แห่งราชวงศ์คาโรลิงเกียนทรงอนุญาตให้ชาวไวกิงกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของโรลโลแห่งนอร์มังดี (Rollo of Normandy) ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของฝรั่งเศส โดยทรงหวังว่าไวกิงจะช่วยป้องกันดินแดนทางริมฝั่งทะเลจากการรุกรานของชาวไวกิงกลุ่มอื่นในอนาคตซึ่งก็ได้ผล ชาวไวกิงที่มาตั้งถิ่นฐานรู้จักกันว่า “Northmen” (ชาวเหนือ) ซึ่งมาเพี้ยนเป็น “Normandy” (นอร์มังดี) ต่อมา นอกจากนั้นชาวไวกิงก็ยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่นและละทิ้งความเชื่อลัทธิเพกัน และเปลื่ยนมานับถือคริสต์ศาสนา และเริ่มใช้ล็องก์ดอยล์ (Langues d'oïl) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มโรมานซ์กอลที่พูดกันในท้องถิ่นแทนภาษานอร์สซึ่งกลายมาเป็นภาษานอร์มัน การยอมรับวัฒนธรรมรวมไปถึงการแต่งงานกับชนท้องถิ่น และยังใช้ดัชชีที่ได้รับมาเป็นฐานในการขยายเขตแดนไปทางตะวันตกผนวกดินแดนที่รวมทั้งเบส์แซง และแหลมโคเต็งแตง และหมู่เกาะแชนเนล (ปัจจุบันเป็นของอังกฤษ)

ในระยะเวลาเดียวกันในอังกฤษ การโจมตีของไวกิงเริ่มขึ้นอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 และในปี ค.ศ. 991 พระเจ้าเอเธลเรดที่ 2 ทรงตกลงที่จะเสกสมรสกับเอ็มมาแห่งนอร์มังดีธิดาของดยุคแห่งนอร์มังดีซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในการช่วยยุติการโจมตีของไวกิง เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1066 โดยไม่มีรัชทายาทจึงทำให้เกิดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากหลายฝ่าย ในจำนวนผู้อ้างสิทธิก็มีที่สำคัญ ๆ อยู่สามคน

:* ฝ่ายหนึ่งคือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “Harald Hardraada” แฮโรลด์อ้างว่าเป็นผลจากการตกลงระหว่างพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูทที่ว่าถ้าคนใดคนหนึ่งตายก่อนโดยไม่มีรัชทายาท อีกผู้หนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่หรือผู้สืบเชื้อสายจากผู้นั้นก็จะได้รับราชบัลลังก์ของทั้งสองอาณาจักร
:* อีกผู้หนึ่งที่อ้างสิทธิก็คือดยุคแห่งนอร์มังดี เพราะวิลเลียมเป็นพระญาติกับพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 ทางพระชายา (พระราชินีเอ็มมาแห่งนอร์มังดี)
:* คนที่สามที่อ้างคือ แฮโรลด์ กอดวินสัน เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ผู้ได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์โดยสภาวิททัน (Witan หรือ Witenagemot) แห่งอังกฤษ[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Other contenders later came to the fore. The first was Edgar Ætheling, Edward the Confessor's great nephew who was of direct descent from King Edmund II of England. He was the son of Edward the Exile, son of Edmund Ironside and after his father's return to and subsequent death in England in 1057, Edgar had by far the strongest hereditary claim to the throne. Unfortunately for Edgar,he was only about thirteen or fourteen at the time of Edward the Confessor's death and with little family to support him, his claim was passed over by the Witan. Another contender was Sweyn II of Denmark, who had a claim to the throne as the grandson of Sweyn I of Denmark and nephew of Canute the Great, but he did not make his bid for the throne until 1069. Tostig Godwinson's attacks in early 1066 may have been the beginning of a bid for the throne, but after defeat at the hands of Edwin, Earl of Mercia and Morcar of Northumbria and the desertion of most of his followers he threw his lot in with Harald Hardrada.


ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]