ข้ามไปเนื้อหา

การรับรู้ (จิต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การรับรู้ (อังกฤษ: orientation) เป็นหน้าที่หนึ่งของจิตซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรู้สามมิติ ได้แก่ กาละ เทศะ และบุคคล[1] "ความงุนงงสับสน" (disorientation) เป็นปัญหาของการรับรู้ และอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อาการเพ้อจนถึงภาวะพิษ ตรงแบบความงุนงงสับสนจะเกิดกับกาละก่อน แล้วเป็นเทศะ และบุคคลในขั้นสุดท้าย

การประเมิน

[แก้]

ในบริบทอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บใหญ่ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (Emergency Medical Responder) ดำเนินการประเมินแบบละเอียดมากขึ้นเป็นลำดับซึ่งช่วยชี้แนวทางการตอบสนองในระยะแรกวิกฤต ตามแบบแล้วการประเมินการรับรู้ทางจิตมีลำดับสำคัญสุดโดยพลันสามอันดับ ได้แก่

  1. ความปลอดภัย - ประเมินความปลอดภัยของพื้นที่ (การจราจร, ไฟ, วัตถุเหนือศีรษะ/ใต้เท้าและความเสี่ยงจากการพังถล่ม, น้ำซัด, กระสุนปืน, ภัยสารเคมี /รังสี, สภาพพายุ, สายไฟจมน้ำ ฯลฯ) ให้รอภัยคุกคามหมดไปก่อน หรือเคลื่อนย้ายบุคคลสู่ที่ปลอดภัยหากเป็นไปได้ โดยไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
  2. ABC - สังเกตว่ายังมีสติหรือหมดสติแล้ว ประเมินทางเดินหายใจ (airway), การหายใจ (breathing) และการไหลเวียน (circulation) (โดยให้ความสำคัญกับการเสียเลือดที่่เห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือทำให้อาการทรุดลงที่อาจมีได้)
  3. การรับรู้ - พิจารณาว่าบุคคลนั้น "ตื่น รู้สติและรับรู้หรือไม่ คูณสาม (ต่อบุคคล กาลและเทศะ)" มักย่อเป็น AAOx3 ซึ่งเป็นคำช่วยจำด้วย การประเมินการรับรู้ได้แก่การให้ผู้ป่วยทวนชื่อตััวเอง ตำแหน่งปัจจุบันและวันที่ปัจจุบัน ทั้งนี้ ควรทดสอบการรับรู้ก่อนเคลื่อนย้ายและขนส่งผู้ป่วย เพราะอาจบอกความเสียหายภายในที่อาจมีได้
  4. เหตุการณ์/สถานการณ์[2][3] - หากบุคคลรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว จะเรียกได้ว่าเป็น AAOx4 ทั้งนี้ AAOx3 ไม่เป็นการตอบสนองที่น่ากังวล เพราะบางทีบุคคลอาจรู้สถานการณ์รอบตัวได้ลดลงเนื่องจากความปวด ช่วงเวลาของวัน หรือเพราะไม่มีเหตุการณ์สำคัญ

ตัวอักษร AAOx4 สามารถบันทึกได้อีกอย่างเป็น COAX4 บุคคลที่เป็น COAx4 กล่าวกันว่า "มีสติ รู้สติและรับรู้บุคคล กาละเทศะ และเหตุการณ์" เมื่อรายงาน ค่าที่น้อยกว่า 4 จะมีการระบุเพื่อความชัดเจน (เช่น ผู้ป่วย COAx2 รับรู้เทศะและตนเอง)

การรับรู้ทางจิตมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด และมักปนกับช็อกเหตุอุบัติเหตุ รวมทั้งภาวะช็อกทางกายภาพ (ช็อก) และภาวะช็อกทางจิต (ได้แก่ ปฏิกิริยาเฉียบพลันต่อความเครียด ภาวะจิตใจที่สนองต่อเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัว)

ไม่ชัดเจนว่าบริเวณใดของสมองเกี่ยวข้องกับการรับรู้ แต่มีรายงานว่ารอยโรคของก้านสมองและซีกสมองทำให้เกิดความงุนงงสับสน โดยเสนอว่าทั้งสองส่วนนี้ทำงานร่วมกันเพื่อธำรงการรู้และหน้าที่ย่อยของการรับรู้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Berrios G E (1982) Disorientation States in Psychiatry. Comprehensive Psychiatry 23: 479-491
  2. "LICENSED PROFESSIONALS PRACTICE DESCRIPTION - MENTAL STATUS EXAM" (PDF).
  3. Gary., Groth-Marnat, (2003). Handbook of psychological assessment (4th ed.). Hoboken, N.J.: John Wiley & Sons. ISBN 0471420182. OCLC 52389268.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)