การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)
การรับมือโดยใช้อารมณ์ (อังกฤษ: Emotional approach coping) เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่ใช้การประมวลทางอารมณ์ในสมองและการแสดงอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ก่อความเครียด[1][2] เทียบกับการหลีกเลี่ยงอารมณ์ ที่การมีอารมณ์ถือเป็นเรื่องลบ เป็นปฏิกิริยาที่ไม่ต้องการในสถานการณ์เครียด การรับมือวิธีนี้ใช้การแสดงอารมณ์และการประมวลอารมณ์เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์เครียดได้ดีกว่า[3] แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายความไม่คล้องจองกันในวรรณกรรมทางจิตวิทยาเรื่องความเครียด (stress) และวิธีการรับมือ (coping) คือการรับมือโดยเพ่งอารมณ์ (emotion-focused coping) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีก่อนแล้ว โดยมากสัมพันธ์กับผลที่ถือเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี (maladaptive) แต่การประมวลและแสดงอารมณ์กลับมีหลักฐานว่ามีประโยชน์[3]
ประวัติ
[แก้]การรับมือ (coping) เป็นความตั้งใจพยายามแก้และบรรเทาปัญหาที่ทำให้เครียด[4] งานวิจัยได้แสดงการรับมืออย่างกว้าง ๆ 2 หมวด คือที่เพ่งอารมณ์ หรือที่เพ่งปัญหา[5][6] การรับมือที่เพ่งอารมณ์มุ่งการควบคุมอารมณ์เชิงลบต่อความเครียด เทียบกับการรับมือที่เพ่งปัญหา ซึ่งมุ่งเปลี่ยนตัวก่อความเครียดโดยตรง[5][7] นอกจากนั้นแล้ว กระบวนการรับมือยังแบ่งออกได้อีก 2 หมวด คือ การเข้าหาหรือการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ก่อความเครียด[8][9][10]
นักวิจัยได้แสดงการมีอารมณ์รุนแรงว่า เป็นตัวสร้างปัญหาและเป็นการทำหน้าที่ผิดปกติ โดยเฉพาะของกระบวนการรู้คิด[11] นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยยังแสดงด้วยว่า การรับมือแบบเพ่งอารมณ์สัมพันธ์กับผลทางจิตที่ไม่ดี คือ งานทบทวนวรรณกรรมกว่า 100 งานพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือแบบเพ่งอารมณ์กับผลลบ เช่น ความพอใจในชีวิตที่ไม่ดี อาการซึมเศร้าและวิตกกังวลที่มากกว่า และความไม่เสถียรทางอารมณ์ (neuroticism)[1]
แต่ว่า ก็ยังมีหลักฐานเชิงประสบการณ์ด้วยว่า การแสดงอารมณ์อาจเป็นการทำหน้าที่อย่างสมควรและเป็นการปรับตัวที่ดี งานทดลองแสดงว่า การเขียนเปิดแสดงอารมณ์มีผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านการรู้คิดและผลที่ดีกว่าทางจิต เช่นปรับอารมณ์ซึมเศร้าได้[12] งานวิจัยในเรื่องการควบคุมอารมณ์ยังแสดงถึงความสำคัญของการประมวลและการแสดงอารมณ์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี[13] งานวิจัยเรื่องการบำบัดก็แสดงถึงบทบาทสำคัญของอารมณ์ในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากอีกด้วย เช่น การบำบัดเพ่งอารมณ์ (Emotion-focused therapy) เป็นจิตบำบัดที่เน้นความสำคัญของการยอมรับและอดทนอารมณ์เชิงลบ และมีความสุขกับอารมณ์เชิงบวกเพื่อให้จิตปรับตัวอย่างถูกสุขภาพ[14]
นักวิจัยได้พยายามจำแนกการรับมือโดยเพ่งอารมณ์ส่วนที่เป็นการปรับตัวผิดจากส่วนที่ใช้ได้ โดยวัดค่าต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาหลายงานพบด้วยว่า การรับมือโดยเพ่งอารมณ์บ่อยครั้งรวมกลยุทธ์ทั้งแบบเข้าหาและหลีกเลี่ยง[1][3] เหตุผลที่สองที่การรับมือโดยเพ่งอารมณ์ถือว่าเป็นการปรับตัวผิดก็เพราะว่า การวัดมีตัวแปรกวนเป็นความทุกข์ (distress) ซึ่งในที่สุดก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบปรับตัวผิด[15] เพื่อแก้ปัญหาการวัดค่าของการรับมือโดยเพ่งอารมณ์ (emotion-focused coping) จึงมีการเสนอให้ใช้บทว่า การรับมือโดยใช้อารมณ์ (emotional approach coping) แทน[3][16]
การประเมินการรับมือโดยใช้อารมณ์
[แก้]กลุ่มนักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งได้พัฒนาแบบวัดการรับมือโดยใช้อารมณ์ในปี 2543[16] ซึ่งมีการวัดย่อย 2 กลุ่ม คือ การประมวลอารมณ์ และการแสดงอารมณ์[16] โดยค่าทั้งสองมีสหสัมพันธ์กัน แต่ก็เป็นเรื่องต่างกัน[16]
ส่วนที่วัดการประมวลอารมณ์สะท้อนให้เห็นความพยายามเพื่อเข้าใจ พิจารณา และตรวจสอบอารมณ์เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์เครียด ยกตัวอย่างเช่นเป็นการยอมรับว่า "ฉันยอมรับความรู้สึกของฉัน" และ "ฉันใช้เวลาเพื่อพิจารณาว่าฉันกำลังรู้สึกอย่างไรจริง ๆ" ส่วนการแสดงอารมณ์สะท้อนให้เห็นความพยายามเพื่อสื่อสารและแชร์อารมณ์กับคนอื่น ๆ ทั้งทางคำพูดและไม่ใช่คำพูด[16] ตัวอย่างเช่น "ฉันปล่อยให้ตัวเองแสดงความรู้สึก" และ "ฉันตามสบายในการแสดงอารมณ์"[16] การวัดทำทั้งโดยคำถามเฉพาะสถานการณ์ (เช่น คุณทำอะไรเพื่อตอบสนองต่อความเครียดนี้) และเฉพาะนิสัย (เช่น คุณทำอะไรโดยทั่วไป)[17] โดยค่าวัดไม่มีสหสัมพันธ์กับความเอนเอียงเพราะเหตุความชอบใจทางสังคม (social desirability bias)[18]
นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว แบบวัดยังได้ตรวจความสมเหตุสมผลแล้วในภาษานอร์เวย์[19] และภาษาตุรกี[20] ด้วย
หลักฐาน
[แก้]งานวิจัยตามยาว
[แก้]ความเป็นหมัน
[แก้]ในบรรดาคู่รักต่างเพศที่มีบุตรยาก การรับมือโดยใช้อารมณ์พยากรณ์อาการซึมเศร้าที่ลดลงสำหรับทั้งคู่หลังจากได้ลองผสมเทียมที่ไม่สำเร็จ[21] การรับมือโดยใช้อารมณ์อาจจะมีประโยชน์กับคู่ชีวิต คือมีหลักฐานว่า การมีคู่ชีวิตเพศชายที่รับมือโดยใช้อารมณ์มีผลป้องกันอาการซึมเศร้าในคู่เพศหญิงผู้ที่ระดับการรับมือด้วยอารมณ์ต่ำ[21]
การถูกทำร้ายทางเพศ
[แก้]การรับมือโดยใช้อารมณ์อาจมีประโยชน์กับผู้ถูกทำร้ายทางเพศ ในบรรดาผู้ถูกทำร้ายทางเพศ การเพิ่มการแสดงอารมณ์สัมพันธ์กับความรู้สึกว่าตนสามารถควบคุมกระบวนการฟื้นสภาพได้ และความรู้สึกว่าควบคุมได้สัมพันธ์กับความทุกข์ที่น้อยลงหลังเหตุการณ์[22]
มะเร็งเต้านม
[แก้]มีหลักฐานไม่ชัดเจนว่า การรับมือโดยใช้อารมณ์มีผลต่อตัวอย่างหญิงที่มีมะเร็งเต้านมหรือไม่ คือ ในการศึกษาตามยาวในหญิงที่มีมะเร็งเต้านม หญิงที่รู้สึกว่าสังคมของตนสามารถรับการแสดงอารมณ์ได้ การแสดงอารมณ์ก็จะพยากรณ์คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น[23] การรับมือโดยใช้อารมณ์ในหญิงที่มีมะเร็งเต้านมยังพยากรณ์สภาพทางจิตใจที่เจริญขึ้นหลังเหตุการณ์อีกด้วย (Posttraumatic growth)[24] แต่ว่าก็ยังมีงานศึกษาอื่น ๆ ที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงอารมณ์และสภาพทางจิตใจที่เจริญขึ้นหลังเหตุการณ์[25]
งานศึกษาตามขวาง
[แก้]นักศึกษาและชุมชน
[แก้]งานศึกษาตามขวางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือโดยใช้อารมณ์กับการปรับตัวทางจิตเชิงบวก ในสถานการณ์บางอย่างสำหรับนักศึกษาและตัวอย่างจากชุมชน ในงานศึกษาตามขวางของนักศึกษาหญิงปริญญาตรี ผู้ที่รับมือปัญหาโดยใช้อารมณ์มากกว่าจะรายงานความคิดเชิงบวกมากกว่าและความคิดเชิงลบน้อยกว่า[26] ส่วนในตัวอย่างชุมชนของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา การรับมือโดยใช้อารมณ์สัมพันธ์ในเชิงลบกับความโกรธ ความวิตกกังวลที่เป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) และอาการซึมเศร้า[27] นอกจากนั้นแล้ว หญิงที่รายงานการประมวลอารมณ์เป็นนิสัยในระดับสูงกว่ายังรายงานอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลที่น้อยกว่า และความพอใจในชีวิตที่สูงกว่า และสำหรับชาย การแสดงอารมณ์เป็นนิสัยสัมพันธ์กับความพอใจในชีวิตที่สูงกว่า[16]
ตัวอย่างคนไข้ความผิดปกติทางจิต
[แก้]มีหลักฐานบ้างที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือโดยใช้อารมณ์กับความเป็นสุขทางใจ ในงานศึกษาบุคคลที่ผ่านเกณฑ์ DSM-IV สำหรับความผิดปกติแบบวิตกกังวลเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ปกติ ระดับการรับมือโดยใช้อารมณ์จะต่ำกว่าในบุคคลที่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัย[28]
ส่วนอีกงานศึกษาหนึ่งตรวจสอบทหารผ่านศึกแล้วพบว่า ผู้ที่มีระดับการแสดงอารมณ์สูงกว่า (แต่ไม่เป็นสำหรับผู้ที่มีระดับการประมวลอารมณ์สูงกว่า) สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าที่ลดลง และกับระดับที่ต่ำกว่าของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) แม้ว่าจะได้ควบคุมอายุ เพศ และเชื้อชาติแล้วโดยสถิติ[29]
ตัวอย่างคนไข้โรคมะเร็ง
[แก้]งานศึกษาตามขวางของตัวอย่างคนไข้โรคมะเร็งพบความสัมพันธ์ทั้งในเชิงบวก เชิงลบ และผสมเผสกับการรับมือโดยใช้อารมณ์ การประมวลและแสดงอารมณ์ระดับสูงในหญิงผู้รอดชีวิตจากโรค สัมพันธ์กับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่าและกับอารมณ์เชิงลบที่ต่ำกว่า[30] ส่วนในชายผู้รอดชีวิต การประมวลอารมณ์ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่า และการแสดงอารมณ์ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับอารมณ์เชิงลบที่ต่ำกว่า และกับความคิดที่ไม่ต้องการน้อยกว่า[30]
แต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าการรับมือโดยใช้อารมณ์กับการปรับตัวทางจิตไม่ใช่เป็นบวกทั้งหมด เพราะมีทั้งแบบลบแบบผสม ในงานศึกษาในหญิงที่ได้ผลผิดปกติจากการคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ การประมวลอารมณ์ในระดับสูงสัมพันธ์กับความคิดที่ไม่ต้องการที่สูงกว่า และทั้งการประมวลและแสดงอารมณ์ไม่สัมพันธ์กับสภาพทางจิตใจที่เจริญขึ้นหลังเหตุการณ์ (Posttraumatic growth)[31]
ตัวอย่างคนไข้โรคเบาหวาน
[แก้]มีงานศึกษาตามขวางที่แสดงประโยชน์ของการประมวลอารมณ์สำหรับคนไข้โรคเบาหวาน คือในบรรดาคนไข้โรคเบาหวานแบบ 2 การประมวลอารมณ์ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับยาตามหมอสั่ง และพฤติกรรมดูแลตัวเองเช่น การลดอาหาร การออกกำลังกาย และการตรวจน้ำตาลในเลือดที่ดีกว่า[32] และโดยนัยเดียวกัน สำหรับคนไข้วัยรุ่นโรคเบาหวานแบบ 1 การประมวลอารมณ์สัมพันธ์กับการควบคุมเมแทบอลิซึมที่ดีกว่า[33]
ปัจจัยที่กำหนดประสิทธิผล
[แก้]ความเหมาะกับตัวสร้างความเครียด
[แก้]ตัวสร้างความเครียดและการประเมินมันของแต่ละบุคคล อาจกำหนดประสิทธิผลของการรับมือด้วยอารมณ์เพื่อจัดการความเครียด[5] การประเมินสถานการณ์เครียดว่าควบคุมไม่ได้ อาจทำการรับมือโดยใช้อารมณ์ให้เป็นวิธีการที่ดี[1] งานศึกษาในนักศึกษาปริญญาตรีแสดงว่า เมื่อเผชิญหน้ากับตัวสร้างความเครียดที่บุคคลประเมินว่ายิ่งควบคุมไม่ได้เท่าไร ก็จะเห็นด้วยกับการใช้การรับมือโดยใช้อารมณ์เพื่อจัดการความเครียดยิ่งขึ้นเท่านั้น[34]
เพศ
[แก้]มีหลักฐานที่แสดงว่า การรับมือโดยใช้อารมณ์ต่างกันระหว่างเพศ[1] ในงานศึกษาตามยาว การรับมือโดยใช้อารมณ์เป็นตัวพยากรณ์ความพอใจในชีวิตและอาการซึมเศร้าที่ลดลงในหญิง แต่ว่า ในชาย กลับเป็นตัวพยากรณ์การปรับตัวได้ไม่ดีในช่วงระยะเวลายาว[15]
มีตัวอย่างที่แสดงว่า หญิงรายงานการประมวลและแสดงอารมณ์มากกว่าชาย[17][28][30] แต่ว่า งานวิจัยในคู่ที่เป็นหมัน ไม่พบการใช้การรับมือโดยใช้อารมณ์ระหว่างชายหญิงในระดับที่แตกต่างกัน[21]
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
[แก้]ความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่นทักษะในการใช้วิธีรับมือต่าง ๆ และความรู้สึกสบายในการแสดงอารมณ์ อาจเปลี่ยนความโน้มเอียงเพื่อใช้วิธีรับมือโดยใช้อารมณ์อย่างมีประสิทธิผล[1] บุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงอาจจะใช้การรับมือโดยใช้อารมณ์ได้ดีกว่า[1] แต่การมีความรู้สึกว่าสามารถควบคุมเหตุการณ์ได้โดยไม่สมจริง อาจทำให้โอกาสการใช้การรับมือโดยใช้อารมณ์มีน้อยลงเพราะว่า การแสดงและการประมวลอารมณ์อาจนำไปสู่การประเมินที่ต้องยอมรับว่า ความรู้สึกว่าควบคุมได้เป็นภาพลวง[35]
ลักษณะส่วนบุคคล เช่น การมีหวัง สามารถเปลี่ยนประสิทธิผลของการรับมือโดยใช้อารมณ์ หญิงคนไข้มะเร็งเต้านมที่มีความหวังสูงและรายงานการรับมือโดยแสดงอารมณ์ ต้องไปหาหมอเพราะปัญหาเกี่ยวกับมะเร็งน้อยกว่า มีสุขภาพทางกายที่ดีกว่า และทุกข์น้อยกว่าเทียบกับหญิงที่ไม่แสดงอารมณ์[23]
กลไกการทำงานของการรับมือโดยใช้อารมณ์
[แก้]การบ่งเป้าหมายและการทำเพื่อให้ถึงเป้าหมาย
[แก้]ผลของการรับมือโดยใช้อารมณ์อาจมาจากการระบุเป้าหมาย เข้าใจปัญหาการเข้าถึงเป้าหมาย แล้วหาทางเพื่อจะไปถึง[1] คือ การประมวลและแสดงอารมณ์อาจช่วยบุคคลให้หันไปสนใจการระบุเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิตของตน[1]
ความชินต่อตัวก่อความเครียดและการประเมินทางการรู้คิดใหม่
[แก้]ผลของการรับมือโดยใช้อารมณ์อาจมาจากการได้รับสิ่งเร้าที่สร้างความเครียดเมื่อพยายามประมวลและแสดงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกัน[1] และการได้ตัวสร้างความเครียดอย่างซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิดความชินทางสรีรภาพ (habituation)[2] การได้รับสิ่งเร้าซ้ำ ๆ ผ่านการประมวลและแสดงอารมณ์อาจนำไปสู่การประเมินทางการรู้คิดใหม่ (cognitive reappraisal) ของตัวสร้างความเครียดและการยืนยันตนเอง (self-affirmation) ที่สัมพันธ์กัน[16][36]
การกำหนดอารมณ์
[แก้]กระบวนการขี้นป้ายให้กับอารมณ์ (เช่น เรียกชื่อมัน) อาจช่วยลดความรุนแรงของประสบการณ์ทางอารมณ์ งานศึกษาได้แสดงว่า การขึ้นป้ายให้กับอารมณ์นำไปสู่การทำงานที่ลดลงในสมองเช่นบริเวณอะมิกดะลา และเพิ่มการทำงานของ prefrontal cortex ซึ่งอาจเป็นการทำงานเพื่อควบคุมอารมณ์ที่เป็นประโยชน์[37]
การควบคุมสถานการณ์ทางสังคม
[แก้]การรับมือโดยใช้อารมณ์อาจเป็นตัวส่งสัญญาณให้สังคมรู้ว่าบุคคลจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ[1] การตอบสนองจากสังคมเป็นตัวกำหนดว่าการรับมือเช่นนี้เป็นการปรับตัวที่ดีหรือไม่ การแสดงอารมณ์ที่ได้รับความเห็นใจจากผู้อื่นอาจทำให้ปรับตัวได้ดีกว่าการไม่ยอมรับ[2] หลักฐานงานวิจัยบางอย่างแสดงว่า นี่อาจจะเป็นกลไกการทำงานของการรับมือวิธีนี้ เพราะว่า หญิงคนไข้มะเร็งเต้านมที่รู้สึกว่าสังคมยอมรับการแสดงอารมณ์ของตนได้ การรับมือโดยใช้อารมณ์จะเป็นตัวพยากรณ์คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า[23]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Stanton, A.L.; Parsa, A.; Austenfeld, J.L. (2002). Snyder, C.R.; Lopez, S.J. (บ.ก.). Oxford handbook of positive psychology. New York: Oxford University Press. pp. 148–158. ISBN 978-0199862160.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Stanton, A.L.; Franz, R. (1999). Snyder, C.R. (บ.ก.). Coping : the psychology of what works ([Online-Ausg.]. ed.). New York, NY [u.a.]: Oxford Univ. Press. pp. 90-118. ISBN 978-0195119343.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Snyder, C.R. (2001). Coping with stress : effective people and processes ([Online-Ausg.]. ed.). New York: Oxford University Press. pp. 16-17. ISBN 9780195130447.
- ↑ Folkman, Richard S; Lazarus, Susan (2006). Stress, appraisal, and coping ([Nachdr.] ed.). New York: Springer. ISBN 0-8261-4191-9.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 5.2 Lazarus, Richard S.; Folkman, Susan (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer. ISBN 978-0826141910.
- ↑ Lazarus, Richard S. "Progress on a cognitive-motivational-relational theory of emotion". American Psychologist. 46 (8): 819–834. doi:10.1037/0003-066x.46.8.819.
- ↑ Taylor, Shelley E. (2011). Health psychology (8th ed.). New York, NY: McGraw-Hill. ISBN 9780078035197.
- ↑
Allport, G. W. (1948). "The Genius of Kurt Lewin". Journal of Social Issues. 4: 14–21.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Lewin, K (1935). A Dynamic Theory of Personality. New York: McGraw-Hill.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Carver, Charles S.; White, Teri L. "Behavioral inhibition, behavioral activation, and affective responses to impending reward and punishment: The BIS/BAS Scales". Journal of Personality and Social Psychology. 67 (2): 319–333. doi:10.1037/0022-3514.67.2.319.
- ↑ Averill, James R. (1990). Leary, David E. (บ.ก.). Metaphors in the history of psychology (New ed.). New York: Cambridge University Press. pp. 104-132. ISBN 9780521421522.
- ↑ Frattaroli, Joanne (2006). "Experimental disclosure and its moderators: A meta-analysis". Psychological Bulletin. 132 (6): 823–865. doi:10.1037/0033-2909.132.6.823.
- ↑ Gross, James J.; John, Oliver P. (2013). Gross, James J. (บ.ก.). Handbook of emotion regulation (Second ed.). New York: The Guilford Press. pp. 555–568. ISBN 9781462503506.
- ↑ Greenberg, Leslie (2015). Emotion-focused Therapy: Coaching Clients to Work Through Their Feelings. American Psychological Association. ISBN 9781433819957.
- ↑ 15.0 15.1 Stanton, Annette L.; Danoff-Burg, Sharon; Cameron, Christine L.; Ellis, Andrew P. "Coping through emotional approach: Problems of conceptualizaton and confounding". Journal of Personality and Social Psychology. 66 (2): 350–362. doi:10.1037/0022-3514.66.2.350.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 16.7 Stanton, Annette L.; Kirk, Sarah B.; Cameron, Christine L.; Danoff-Burg, Sharon (2000). "Coping through emotional approach: Scale construction and validation". Journal of Personality and Social Psychology. 78 (6): 1150–1169. doi:10.1037/0022-3514.78.6.1150.
- ↑ 17.0 17.1 Austenfeld, Jennifer L.; Stanton, Annette L. (1 December 2004). "Coping Through Emotional Approach: A New Look at Emotion, Coping, and Health-Related Outcomes". Journal of Personality. 72 (6): 1335–1364. doi:10.1111/j.1467-6494.2004.00299.x. ISSN 1467-6494.
- ↑ Segerstrom, Suzanne C.; Stanton, Annette L.; Alden, Lynn E.; Shortridge, Brenna E. "A Multidimensional Structure for Repetitive Thought: What's on Your Mind, and How, and How Much?". Journal of Personality and Social Psychology. 85 (5): 909–921. doi:10.1037/0022-3514.85.5.909.
- ↑ Zangi, Heidi A.; Garratt, Andrew; Hagen, Kåre B.; Stanton, Annette L.; Mowinckel, Petter; Finset, Arnstein (3 September 2009). "Emotion regulation in patients with rheumatic diseases: validity and responsiveness of the Emotional Approach Coping Scale (EAC)". BMC Musculoskeletal Disorders. 10 (1): 107. doi:10.1186/1471-2474-10-107. ISSN 1471-2474. PMC 2749806. PMID 19728869.
- ↑ Durak, Mihat; Senol-Durak, Emre (2011). "Turkish Validation of the Emotional Approach Coping Scale". Psychological Reports. doi:10.2466/02.08.20.21.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Berghuis, James P.; Stanton, Annette L. (April 2002). "Adjustment to a dyadic stressor: A longitudinal study of coping and depressive symptoms in infertile couples over an insemination attempt". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 70 (2): 433–438. doi:10.1037/0022-006x.70.2.433.
- ↑ Frazier, Patricia; Tashiro, Ty; Berman, Margit; Steger, Michael; Long, Jeffrey. "Correlates of Levels and Patterns of Positive Life Changes Following Sexual Assault". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 72 (1): 19–30. doi:10.1037/0022-006x.72.1.19.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 Stanton, Annette L.; Danoff-Burg, Sharon; Cameron, Christine L.; Bishop, Michelle; Collins, Charlotte A.; Kirk, Sarah B.; Sworowski, Lisa A.; Twillman, Robert (October 2000). "Emotionally expressive coping predicts psychological and physical adjustment to breast cancer". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 68 (5): 875–882. doi:10.1037/0022-006x.68.5.875.
- ↑ Manne, S.; Ostroff, J.; Winkel, G.; Goldstein, L.; Fox, K.; Grana, G. (2004). "Posttraumatic growth after breast cancer: Patient, partner, and couple perspectives". Psychosomatic Medicine: 442–454.
- ↑ Lechner, Suzanne C.; Carver, Charles S.; Antoni, Michael H.; Weaver, Kathryn E.; Phillips, Kristin M. (October 2006). "Curvilinear associations between benefit finding and psychosocial adjustment to breast cancer". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 74 (5): 828–840. doi:10.1037/0022-006x.74.5.828.
- ↑ Segerstrom, Suzanne C.; Stanton, Annette L.; Flynn, Sarah McQueary; Roach, Abbey R.; Testa, Jamie J.; Hardy, Jaime K. (2012-01-01). "Episodic repetitive thought: dimensions, correlates, and consequences". Anxiety, Stress, & Coping. 25 (1): 3–21. doi:10.1080/10615806.2011.608126. ISSN 1061-5806. PMC 3237825. PMID 21861772.
- ↑ Peters, Rosalind M. (1 September 2006). "The Relationship of Racism, Chronic Stress Emotions, and Blood Pressure". Journal of Nursing Scholarship. 38 (3): 234–240. doi:10.1111/j.1547-5069.2006.00108.x. ISSN 1547-5069.
- ↑ 28.0 28.1 Marques, Luana; Kaufman, Rebecca E.; LeBeau, Richard T.; Moshier, Samantha J.; Otto, Michael W.; Pollack, Mark H.; Simon, Naomi M. (1 June 2009). "A Comparison of Emotional Approach Coping (EAC) between Individuals with Anxiety Disorders and Nonanxious Controls". CNS Neuroscience & Therapeutics. 15 (2): 100–106. doi:10.1111/j.1755-5949.2009.00080.x. ISSN 1755-5949.
- ↑ Hassija, Christina M.; Luterek, Jane A.; Naragon-Gainey, Kristin; Moore, Sally A.; Simpson, Tracy (1 September 2012). "Impact of emotional approach coping and hope on PTSD and depression symptoms in a trauma exposed sample of Veterans receiving outpatient VA mental health care services". Anxiety, Stress, & Coping. 25 (5): 559–573. doi:10.1080/10615806.2011.621948. ISSN 1061-5806. PMID 22059938.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 Cho, Dalnim; Park, Crystal L.; Blank, Thomas O. (1 August 2013). "Emotional approach coping: Gender differences on psychological adjustment in young to middle-aged cancer survivors". Psychology & Health. 28 (8): 874–894. doi:10.1080/08870446.2012.762979. ISSN 0887-0446. PMID 23391312.
- ↑ Andrykowski, Michael A.; Pavlik, Edward J. (1 April 2011). "Response to an abnormal ovarian cancer-screening test result: Test of the social cognitive processing and cognitive social health information processing models". Psychology & Health. 26 (4): 383–397. doi:10.1080/08870440903437034. ISSN 0887-0446. PMC 2911487. PMID 20419561.
- ↑ Smalls, Brittany L.; Walker, Rebekah J.; Hernandez-Tejada, Melba A.; Campbell, Jennifer A.; Davis, Kimberly S.; Egede, Leonard E. (2012). "Associations between coping, diabetes knowledge, medication adherence and self-care behaviors in adults with type 2 diabetes". General Hospital Psychiatry. 34 (4): 385–389. doi:10.1016/j.genhosppsych.2012.03.018. PMC 3383912. PMID 22554428.
- ↑ Hughes, Amy E.; Berg, Cynthia A.; Wiebe, Deborah J. (1 September 2012). "Emotional Processing and Self-Control in Adolescents With Type 1 Diabetes". Journal of Pediatric Psychology. 37 (8): 925–934. doi:10.1093/jpepsy/jss062. ISSN 0146-8693. PMC 3437683. PMID 22523404.
- ↑ Park, Crystal L.; Armeli, Stephen; Tennen, Howard (1 May 2004). "Appraisal-Coping Goodness of Fit: A Daily Internet Study". Personality and Social Psychology Bulletin. 30 (5): 558–569. doi:10.1177/0146167203262855. ISSN 0146-1672. PMID 15107156.
- ↑ Zuckerman, Miron; Knee, C. Raymond; Kieffer, Suzanne C.; Gagne, Marylene (1 April 2004). "What Individuals Believe They Can and Cannot Do: Explorations of Realistic and Unrealistic Control Beliefs". Journal of Personality Assessment. 82 (2): 215–232. doi:10.1207/s15327752jpa8202_9. ISSN 0022-3891. PMID 15080132.
- ↑ Creswell, J. David; Lam, Suman; Stanton, Annette L.; Taylor, Shelley E.; Bower, Julienne E.; Sherman, David K. (1 February 2007). "Does Self-Affirmation, Cognitive Processing, or Discovery of Meaning Explain Cancer-Related Health Benefits of Expressive Writing?". Personality and Social Psychology Bulletin. 33 (2): 238–250. doi:10.1177/0146167206294412. ISSN 0146-1672. PMID 17259584.
- ↑ Burklund, Lisa Jane; Creswell, J. David; Irwin, Michael; Lieberman, Matthew (2014-01-01). "The common and distinct neural bases of affect labeling and reappraisal in healthy adults". Emotion Science. 5: 221. doi:10.3389/fpsyg.2014.00221. PMC 3970015. PMID 24715880.