ข้ามไปเนื้อหา

การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง
(Sclerotherapy)
การแทรกแซง
ICD-9-CM39.92
MeSHD015911

การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง[1] (อังกฤษ: Sclerotherapy, จากคำภาษากรีกว่า skleros ซึ่งแปลว่า "แข็ง"[2][3]) เป็นวิธีการรักษาหลอดเลือดหรือสภาพวิรูปของหลอดเลือด (vascular malformation) หรือของหลอดน้ำเหลือง แพทย์จะฉีดยาเข้าไปในหลอดเลือดซึ่งทำหลอดให้หดลง ซึ่งใช้ในเด็กและเยาวชนที่มีสภาวะวิรูปของหลอดเลือดหรือหลอดน้ำเหลือง ในผู้ใหญ่ วิธีนี้บ่อยครั้งจะใช้รักษาภาวะหลอดเลือดพอง (Telangiectasia) หลอดเลือดดำขอดที่ยังเป็นน้อย ริดสีดวงทวาร[4] และน้ำขังเฉพาะที่ (hydrocele)[5]

วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งในหลายวิธี (รวมการผ่าตัด การยิงเลเซอร์ และการยิงคลื่นวิทยุ) เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดพอง เพื่อรักษาหลอดเลือดดำขอดเป็นบางครั้ง และสภาวะวิรูปของหลอดเลือดดำ ในการรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างนำทางโดยคลื่นเสียงความถี่สูง แพทย์จะใชัอัลตราซาวนด์เพื่อแสดงรูปของหลอดเลือดที่เป็นปัญหา แล้วจึงฉีดยาใส่ได้อย่างแม่นยำ การรักษาบ่อยครั้งจะทำนำโดยคลื่นเสียงความถี่สูงถ้าได้พบความผิดปกติของหลอดเลือดที่วินิจฉัยด้วย duplex ultrasound การรักษานำโดยคลื่นเสียงความถี่สูงบวกการใช้สารก่อกระด้างแบบ microfoam ได้พบว่า ได้ผลในการควบคุมการไหลกลับ (reflux) จาก sapheno-femoral junction และ sapheno-popliteal junction[6][7] แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านที่เชื่อว่า วิธีรักษานี้ไม่ควรกับหลอดเลือดดำที่สามารถมีการไหลกลับจาก greater saphenous junction หรือ lesser saphenous junction หรือที่มี axial reflux[4]

ประวัติ

[แก้]
การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง

การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างได้ใช้เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดพอง และหลอดเลือดดำขอดในบางกรณี มามากกว่า 150 ปีแล้ว โดยได้พัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆ เทคนิคปัจจุบันอาจใช้การนำทางด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และการรักษาด้วยโฟม ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ล่าสุด

มีรายงาน

  • การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างเป็นครั้งแรกในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (โดย D Zollikofer) ปี 2225 ที่ฉีดกรดเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อสร้างลิ่มเลือด[8]
  • การรักษาหลอดเลือดดำขอดที่สำเร็จผลโดยฉีด iron perchlorate ในปี 2396 (โดย Debout and Cassaignaic)[9]
  • การรักษาหลอดเลือดดำขอดโดยฉีดไอโอดีนและแทนนินเข้าในหลอดเลือดในปี 2397 (โดย Desgranges)[8] ซึ่งเกิดประมาณ 12 ปีหลังจากประดิษฐ์เทคนิคการผ่าตัดแบบ great saphenous vein stripping ในปี 2387 (โดย Madelung)[9]

แต่เนื่องจากมีอัตราผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในเวลานั้นสูง การรักษาโดยวิธีนี้จึงได้เลิกใช้โดยปี 2437[10] และเพราะมีวิธีการผ่าตัดและยาระงับความรู้สึกที่ดีขึ้น การผ่าตัดจึงกลายเป็นวิธีการรักษาอันดับต้น

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาสารก่อกระด้างที่ดีกว่า โดย carbolic acid และ mercury perchlorate ก็พบว่าสามารถรักษาหลอดเลือดดำขอด แต่ต่อมาก็เลิกใช้เพราะผลข้างเคียงเหมือนกัน ต่อมาแพทย์ชาวฝรั่งเศสจึงได้เริ่มใช้ sodium carbonate และ sodium salicylate เพื่อรักษาในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[10] Quinine ก็ได้ลองใช้ด้วยในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 โดยปี 2472 จึงมีนักวิชาการที่สนับสนุนให้ใช้ sodium salicylate หรือ quinine ว่าเป็นสารก่อกระด้างที่ได้ผลดีสุด[10]

งานต่อ ๆ มาเพื่อปรับปรุงเทคนิคและพัฒนาสารก่อกระด้างที่ปลอดภัยขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็ดำเนินต่อไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 งานที่สำคัญก็คือการพัฒนา sodium tetradecyl sulfate (STS) ในปี 2489 ซึ่งก็ยังใช้จนถึงทุกวันนี้ แพทย์คนหนึ่ง (George Fegan) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ได้รายงานรักษาคนไข้กว่า 13,000 คนด้วยการรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง ซึ่งได้สร้างความก้าวหน้าทางเทคนิคโดยมุ่งสร้างพังผืดที่หลอดเลือด (fibrosis) แทนลิ่มเลือด (thrombosis) มุ่งควบคุมจุดที่ทำให้เกิดการไหลกลับ และเน้นความสำคัญของการบีบอัด (compression) ที่ขาหลังรักษา[9] วิธีการนี้ได้กลายเป็นที่ยอมรับในยุโรปช่วงนั้น แต่ก็ไม่ได้ในประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ยังเป็นสถานการณ์ที่ดำรงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ในวงการแพทย์บางชุมชน[8]

ความก้าวหน้าสำคัญของวิธีการนี้ต่อมาก็คือเทคนิค duplex ultrasonography ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งนำมาใช้กับการรักษานี้ในปลายทศวรรษ[11]

งาน 3 งานปี 2540 ซึ่งเริ่มใช้โฟมเพื่อรักษาและประดิษฐ์วิธีผลิตโฟม คือ "3-way tap method" ก็ได้ปฏิวัติการรักษานี้ต่อมา[12][13][14] ซึ่งต่อมาปี 2557 จึงได้ปรับปรุงโดยใช้เทคนิค 3 non-silicone syringes (ใช้เข็ม 3 เข็มที่ไม่มีซิลิโคน) เพื่อให้ได้โฟมที่คงยืนนานขึ้น[15]

ขั้นตอนต่าง ๆ

[แก้]

การฉีดเส้นเลือดดำที่เป็นปัญหาด้วยสารก่อกระด้างจะทำให้เส้นเลือดหดทันที แล้วสลายไปในชั่วระยะเป็นอาทิตย์ ๆ ในขณะที่ร่างกายดูดซึมเส้นเลือดที่รักษาตามธรรมชาติ เป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดและใช้เวลาประมาณ 10 นาที เวลาที่ต้องหยุดงานน้อยมากเมื่อเทียบกับการผ่าตัด[16]

การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างเป็น "มาตรฐานทองคำ" ที่นิยมเหนือกว่าการยิงเลเซอร์เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดพองและหลอดเลือดดำขอดที่ยังเป็นน้อย[17] เพราะไม่เหมือนกับการยิงเลเซอร์ การใช้สารก่อกระด้างจะปิดเส้นเลือดอื่น ๆ ภายใต้ผิวหนังที่ส่งเลือดแล้วทำให้หลอดเลือดพอง จึงลดโอกาสการเกิดอีกของอาการ แพทย์จะฉีดสารก่อกระด้างที่เจือจางเข้าไปที่หลอดเลือดที่ผิวซึ่งผิดปกติที่ขาอาจจะหลายครั้ง แล้วก็จะบีบกดขาด้วยถุงน่องหรือผ้าพันซึ่งต้องใส่ปกติเป็นระยะ 2 อาทิตย์หลังจากรักษา หมอจะสนับสนุนให้คนไข้เดินให้เป็นปกติในช่วงเวลานั้นด้วย เพื่อให้เส้นเลือดดำที่ขาดูดีขึ้นอย่างสำคัญ การรักษาอย่างน้อย 2 ครั้งจะเป็นเรื่องสามัญโดยครั้งต่อ ๆ ไปจะเว้นช่วงหลายอาทิตย์

การรักษาสามารถทำโดยใช้สารก่อกระด้างแบบ microfoam และนำทางด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงสำหรับหลอดเลือดดำขอดที่ใหญ่กว่า รวมทั้ง great/small saphenous veins[18] หลังจากที่แพทย์ตรวจดูเส้นเลือดดำขอดด้วยอัลตราซาวนด์แล้ว แพทย์ก็จะฉีดยาเข้าที่เส้นในขณะที่ตรวจดูด้วยอัลตราซาวนด์ในเวลาจริง ซึ่งจะช่วยให้เห็นสารก่อกระด้างเข้าไปในเส้นเลือด แล้วก็จะฉีดที่ต่อ ๆ ไปเพื่อรักษาเส้นเลือดที่ผิดปกติทั้งหมด การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเมื่อนัดครั้งต่อ ๆ ไปก็เพื่อดูว่าเส้นเลือดที่รักษาปิดหมดแล้ว และถ้ายังเหลือ ก็จะได้รักษาให้หมด

การรักษาด้วยโฟม

[แก้]

การรักษาโดยใช้โฟมก่อกระด้าง (Foam sclerotherapy)[19] เป็นเทคนิคที่ฉีด "สารก่อกระด้างที่เป็นโฟม" เข้าในเส้นเลือดโดยใช้เข็มฉีดยาสองเข็ม เข็มหนึ่งมีสารก่อกระด้าง อีกเข็มหนึ่งใช้แก๊ส (ดั้งเดิมเป็นอากาศ) ซึ่งเมื่อปี 2557 เริ่มเปลี่ยนใช้เป็น 3 เข็ม โดยทั้งหมดไร้ซิลิโคน[15] และใช้สารก่อกระด้าง sodium tetradecyl sulfate หรือ polidocanol ผสมกับอากาศหรือแก๊สอื่น ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ภายในเข็มฉีดยาหรือใช้ปั๊ม เป็นวิธีการที่เพิ่มพื้นที่ผิวการก่อความกระด้างของยา

โฟมก่อกระด้างมีประสิทธิผลดีกว่าสารละลายในการก่อความกระด้าง (Sclerosis)[20] คือทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้นแล้วปิดทางเดินของเลือด เพราะมันไม่ผสมกับเลือดแต่จะเข้าแทนเลือด และดังนั้น ยาจะไม่จางลงและก่อความกระด้างได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงเป็นข้อดีเมื่อใช้กับหลอดเลือดที่ยาวและใหญ่กว่า กล่าวอีกอย่างก็คือ ผู้ชำนาญการได้ประดิษฐ์โฟมก่อกระด้างแบบหนาคล้ายกับ "ยาสีฟัน" เพื่อใช้ฉีด ซึ่งเป็นเทคนิคที่ปฏิวัติการรักษาหลอดเลือดขอดดำโดยไม่ต้องผ่าตัด[21] และการรักษาสภาวะวิรูปของหลอดเลือด รวมทั้ง Klippel Trenaunay syndrome[22]

ผลการรักษา

[แก้]

งานศึกษาปี 2539 (Kanter and Thibault) รายงานอัตราการรักษาสำเร็จที่ 76% ในระยะ 24 เดือนที่ใช้รักษา saphenofemoral junction incompetence และ great saphenous vein incompetence ด้วยสารละลาย STS 3%[6] งานศึกษาปี 2547 (Padbury and Benveniste)[7] พบว่า การรักษาที่นำทางโดยคลื่นเสียงความถี่สูงมีประสิทธิผลในการควบคุมการไหลกลับในหลอดเลือดดำซาฟีนัสเส้นเล็ก งานอีกงานหนึ่งปีเดียวกัน (Barrett et al) พบว่า การรักษาที่นำทางโดยคลื่นเสียงความถี่สูงและทำด้วย microfoam "มีประสิทธิผลในการรักษาเส้นเลือดดำขอดทุกขนาดโดยคนไข้มีความพึงพอใจสูงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"[23]

งานทบทวนวรรณกรรมการแพทย์ปี 2549 แบบ Cochrane Collaboration สรุปว่า "หลักฐานสนับสนุนจุดยืนการรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างในเวชปฏิบัติปัจจุบัน ซึ่งปกติจะจำกัดอยู่กับการรักษาหลอดเลือดดำขอดที่กลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดและภาวะหลอดเลือดพอง (thread vein)"[24] งานทบทวนแบบ Cochrane Collaboration ปีเดียวกันที่เทียบการผ่าตัดกับการรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างสรุปว่า การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างมีข้อดีมากกว่าการผ่าตัดในระยะสั้น แต่การผ่าตัดมีข้อดีมากกว่าในระยะยาว สารก่อกระด้างมีข้อดีในเรื่องความสำเร็จในการรักษา อัตราภาวะแทรกซ้อน และค่าใช้จ่ายที่ 1 ปี แต่การผ่าตัดจะดีกว่าหลังจาก 5 ปี แต่หลักฐานที่มีไม่มีคุณภาพและจำเป็นต้องมีงานวิจัยเพิ่มขึ้น[25]

วารสารการแพทย์ Health Technology Assessment ปี 2549 ของรัฐบาลอังกฤษพบว่า การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างมีประโยชน์น้อยกว่าการผ่าตัด แต่น่าจะมีประโยชน์เพื่อรักษาหลอดเลือดดำขอดที่ไม่มีการไหลกลับจาก sapheno-femoral junction หรือ sapheno-popliteal junction แต่ก็ไม่ได้ทำการศึกษาในเรื่องประโยชน์โดยเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดกับการรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างในหลอดเลือดดำขอดที่มีการไหลกลับ (junctional reflux)[26]

ส่วนงานประชุม European Consensus Meeting on Foam Sclerotherapy ปี 2546 สรุปว่า "การรักษาโดยใช้โฟมก่อกระด้างอำนวยให้ผู้ชำนาญการสามารถรักษาหลอดเลือดที่ใหญ่กว่ารวมทั้ง saphenous trunks"[27] และงานประชุมเดียวกันปี 2549 ต่อมาก็ได้ตีพิมพ์ผลประชุมแล้ว[28]

ภาวะแทรกซ้อน

[แก้]

ภาวะแทรกซ้อนมีน้อย ซึ่งรวมทั้งภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (venous thromboembolism) ความผิดปกติในการมองเห็น อาการแพ้[29] หลอดเลือดดำอักเสบมีลิ่มเลือด (thrombophlebitis) ผิวหนังตาย และบริเวณผิวที่รักษาแดง[30]

ถ้าสารก่อกระด้างฉีดเข้าเส้นเลือดอย่างถูกต้อง ผิวหนังข้างเคียงก็จะไม่เสียหาย แต่ถ้าฉีดออกนอกเส้น ผิวหนังอาจตายทำให้เกิดรอย/แผลเป็น[31] ซึ่งแม้จะมีน้อย แต่อาจเป็นปัญหาใหญ่ด้านความสวยงามสำหรับคนไข้ และอาจใช้เวลาเป็นเดือน ๆ กว่าจะหาย ปัญหานี้มีน้อยมากเมื่อ STS ที่ใช้จางมาก (<0.25%) แต่เกิดบ่อยครั้งกว่าเมื่อสารที่ใช้เข้มข้นกว่า (3%) ผิวขาวซีดเกิดบ่อยครั้งเมื่อฉีด STS เข้าที่หลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ส่วนการเกิดเส้นเลือดแดงจิ๋ว ๆ เป็นแผ่น อาจเกิดขึ้นได้และปกติต้องรักษาโดยใช้สารก่อกระด้างหรือการยิงเลเซอร์เพิ่ม[32]

ภาวะแทรกซ้อนโดยมากเกิดจากการบวมโดยเป็นปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อสารก่อกระด้างในบริเวณที่ฉีดยา นอกจากนั้น ยังมีภาวะแทรกซ้อนทั้งระบบที่เริ่มได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดเมื่อสารก่อกระด้างวิ่งไปตามเส้นเลือดจนถึงหัวใจ ปอด และสมอง รายงานปี 2549 ยกการรักษาด้วยโฟมว่าเป็นเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)[33] แม้กรณีนี้จะฉีดโฟมมากกว่าปกติ รายงานต่อ ๆ มาแสดงว่า ฟองแม้จากโฟมก่อกระด้างเพียงเล็กน้อยที่ฉีดเข้าเส้นเลือดจะปรากฏอย่างรวดเร็วในหัวใจ ปอด และสมอง[34] ความสำคัญของผลเช่นนี้ยังไม่ชัดเจนและงานศึกษาขนาดใหญ่ก็ได้แสดงว่า การรักษาโดยใช้โฟมก่อกระด้างนั้นปลอดภัย[35] องค์กรอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติให้รักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Sclerotherapy", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง
  2. Harper, Douglas. "sclero-". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ November 8, 2017.
  3. "scler-", Merriam-Webster Collegiate Dictionary (11 ed.), Springfield, Massachusetts, USA: Merriam-Webster, Inc., 2003, hard, hardness
  4. 4.0 4.1 Finkelmeier, William R (2004). "12". Sclerotherapy. ACS Surgery: Principles & Practice (hardcover ed.). WebMD.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Beiko, Darren T (April 2003). "Aspiration and Sclerotherapy versus hydrocelectomy for treatment of hydroceles". Urology. 61 (4).{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Kanter, A; Thibault, P (1996). "Saphenofemoral incompetence treated by ultrasound-guided sclerotherapy". Dermatol Surg. 22 (7): 648–52. doi:10.1016/1076-0512(96)00173-2. PMID 8680788.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Padbury, A; Benveniste, GL (December 2004). "Foam echosclerotherapy of the small saphenous vein". Australian and New Zealand Journal of Phlebology. 8 (1).{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 Goldman, M. (1995). Sclerotherapy Treatment of varicose and telangiectatic leg vein (2nd, hardcover ed.).{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 Sharmi, S; Cheatle, T (2003). Fegan's Compression Sclerotherapy of Varicose Veins (Hardcover ed.).{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 Coppleson, VM (1929). The Treatment of Varicose Veins by Injection (2nd, Hardcover ed.).{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Knight, RM; Vin, F; Zygmut, JA (1989). Ultrasonic guidance of injection into the superficial venous system. Phlebologie. John Libbey Eurotext Ltd. pp. 339–341. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Cabrera, Garrido Jr; Cabrera, Garcia-Olmeda Jr; Dominguez, MA (1997). "Elargissment des limites de la schleotherapie: Nouveaux produits sclerosants". Phlebologie. 50: 181–188.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Monfreux, A (1997). "Traitement sclerosant des trones saphen'nies et collaterales de gros calibre par le method MUS". Phlebologie. 50: 351–353.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Tessari, L (1997). "Nouvelle technique d'obtention de la sclero-mousse". Phlebologie. 53: 129.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 Whiteley, MS; Patel, SB (October 2014). "Modified Tessari Tourbillon technique for making foam sclerotherapy with silicone-free syringes.". Phlebology. 30 (9): 614–7. doi:10.1177/0268355514554476. PMID 25288590.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. "Articles - Sclerotherapy (Varicose Vein Treatment)". Novasans.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2011. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
  17. Sadick, N; Sorhaindo, L (2007). "16". Laser Treatment of Telangiectatic and Reticular Veins. The Vein Book. p. 157. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. Thibault, Paul (2007). Sclerotherapy and Ultrasound-Guided Sclerotherapy. The Vein Book. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Ultrasound Guided Sclerotherapy (ภาพยนตร์).
  20. Yamaki, T; Nozaki, M; Iwasaka, S (2004). "Comparative study of duplex-guided foam sclerotherapy and duplex-guided liquid sclerotherapy for the treatment of superficial venous insufficiency". Dermatol Surg. 30 (5): 718–22, discussion 722. doi:10.1111/j.1524-4725.2004.30202.x. PMID 15099313. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2012. สืบค้นเมื่อ January 26, 2018.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. Frullini, A; Cavezzi, A (2002). "Sclerosing Foam in the Treatment of Varicose Veins and Telangiectases: History and Analysis of Safety and Complications". Dermatologic Surgery. 28 (1): 11–15. doi:10.1097/00042728-200201000-00003.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. McDonagh, B; Sorenson, S; และคณะ (2005). "Management of venous malformations in Klippel-Trenaunay syndrome with ultrasound-guided foam sclerotherapy". Phlebology. 20 (2): 63–81. doi:10.1258/0268355054069188.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Barrett, JM; Allen, B; Ockelford, A; Goldman, MP (2004). "Microfoam ultrasound-guided sclerotherapy treatment for varicose veins in a subgroup with diameters at the junction of 10 mm or greater compared with a subgroup of less than 10 mm". Dermatol Surg. 30 (11): 1386–90. doi:10.1111/j.1524-4725.2004.30430.x. PMID 15522019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2012. สืบค้นเมื่อ January 26, 2018. effective in treating all sizes of varicose veins with high patient satisfaction and improvement in quality of life{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Tisi, PV; Beverley, C; Rees, A (2006). Tisi, Paul V (บ.ก.). "Injection sclerotherapy for varicose veins" (PDF). Cochrane Database Syst Rev (4): CD001732. doi:10.1002/14651858.CD001732.pub2. PMID 17054141. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 16, 2017.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Rigby, KA; Palfreyman, SJ; Beverley, C; Michaels, JA (2004). Rigby, Kathryn A (บ.ก.). "Surgery versus sclerotherapy for the treatment of varicose veins". Cochrane Database Syst Rev (4): CD004980. doi:10.1002/14651858.CD004980. PMID 15495134.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Michaels, JA; Campbell, WB; Brazier, JE และคณะ (2006). "Randomised clinical trial, observational study and assessment of cost-effectiveness of the treatment of varicose veins (REACTIV trial)". Health Technol Assess. 10 (13): 1–196, iii–iv. doi:10.3310/hta10130. PMID 16707070. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2010. สืบค้นเมื่อ January 26, 2018.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) This Health Technology Assessment monograph includes reviews of the epidemiology, assessment, and treatment of varicose veins, as well as a study on clinical and cost effectiveness of surgery and sclerotherapy
  27. Breu, FX; Guggenbichler, S (2004). "European Consensus Meeting on Foam Sclerotherapy, April, 4-6, 2003, Tegernsee, Germany". Dermatol Surg. 30 (5): 709–17, discussion 717. doi:10.1111/j.1524-4725.2004.30209.x. PMID 15099312. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2012. สืบค้นเมื่อ January 26, 2018.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Breu, FX; Guggenbichler, S; Wollmann, JC (2008). "Duplex ultrasound and efficacy criteria in foam sclerotherapy from the 2nd European Consensus Meeting on Foam Sclerotherapy 2006, Tegernsee, Germany". Vasa. 37 (1): 90–5. doi:10.1024/0301-1526.37.1.90. PMID 18512547.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  29. Scurr, JR; Fisher, RK; Wallace, SB (2007). "Anaphylaxis Following Foam Sclerotherapy: A Life Threatening Complication of Non Invasive Treatment For Varicose Veins". EJVES Extra. 13 (6): 87–89. doi:10.1016/j.ejvsextra.2007.02.005.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. "Sclerotherapy and Cosmetic Surgery in the Philippines, Interview with Dr. John Cenica at Jancen". Novasans.com. September 19, 2011. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
  31. Campbell, B (2006). "Varicose veins and their management". BMJ. 333 (7562): 287–92. doi:10.1136/bmj.333.7562.287. PMC 1526945. PMID 16888305.
  32. Finkelmeier, William R (2003). "What's New in ACS Surgery: Sclerotherapy". ACS Surgery.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Forlee, MV; Grouden, M; Moore, DJ; Shanik, G (2006). "Stroke after varicose vein foam injection sclerotherapy". J. Vasc. Surg. 43 (1): 162–4. doi:10.1016/j.jvs.2005.09.032. PMID 16414404.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. Morrison, N; Neuhardt, DL (2009). "Foam Sclerotherapy: cardiac and cerebral monitoring". Phlebology. 24 (6): 252–259. doi:10.1258/phleb.2009.009051. PMID 19952381.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. Myers, KA; Roberts, S (2009). "Evaluation of published reports of foam sclerotherapy". Phlebology. 24 (6): 275–280. doi:10.1258/phleb.2009.009048. PMID 19952384.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]