ข้ามไปเนื้อหา

การระบาดของเอ็มพ็อกซ์ พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดของเอ็มพ็อกซ์ พ.ศ. 2567
  ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยมากกว่า 10,000+ ราย
  ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วย 1,000–9,999 ราย
  ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วย 100–999 ราย
  ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วย 1–99 ราย
  รอผลตรวจยืนยันผู้ป่วยในประเทศ
  ยังไม่มีรายงานยืนยันผู้ป่วยในประเทศ
โรคเอ็มพ็อกซ์ (เคลด Ib)
สถานที่แอฟริกากลาง, มีจำกัดในยุโรป และ เอเชียใต้
วันที่กันยายน 2023 – ปัจจุบัน
(PHEIC: 14 สิงหาคม 2024 – ปัจจุบัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม14,654
เสียชีวิต
517

การระบาดของเอ็มพ็อกซ์สายพันธุ์ใหม่ในเคลด I[1] เริ่มต้นขึ้นในแอฟริกากลางตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2023 เป็นอย่างน้อย[2] ข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 รายงานว่ามีผู้ป่วยแล้วรวม 17,000 คน และยอดเสียชีวิตอยู่ที่ 517 ราย[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[4]

ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2024 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแอฟริกาประกาศให้การระบาดของเอ็มพ็อกซ์ที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในแอฟริกาเป็นภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ ในเวลานั้นมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคนี้รวม 517 ราย และยังเรียกร้องให้ประชาคมโลกมีส่วนร่วมในการควบคุมการระบาดของไวรัสนี้และให้การรักษาผู้ป่วย[4][5] ACDC รายงานว่าอัตราการเสียชีวิตในการระบาดครั้งนี้อยู่ที่ 3–4% ซึ่งมากกว่าอัตราการเสียชีวิต 1% เดิมในการระบาดเมื่อปีก่อน[4]

ในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2024 องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ[1][6]

ภูมิหลัง

[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม 2022 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศภาวะการระบาดของเอ็มพอกซ์จากไวรัสเคลดอื่นให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพโลก โดยมียอดผู้ติดเขื้อสิริรวม 87,000 คน เสียชีวิต 140 ราย หลัง WHO ประกาศสิ้นสุดภาวะฉุกเฉินในเดือนพฤษภาคม 2023[7]

รานงานผู้ติดเชื้อเอ็มพ็อกซ์เริ่มมีจำนวนสูงขึ้นอีกครั้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในเดือนกันยายน 2023 ถึง 2024 โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแอริกา (ACDC) รายงานการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ป่วยเอ็มกพ็อกซ์ 160% จากปีก่อน[8]

ในเดือนเมษายน 2024 คณะนักวิจัยรายงานการค้นพบสายพันธุ์ย่อยใหม่ในเคลด I ของไวรัสเอ็มพ็อกซ์ในคามีตูกา เมืองเหมืองแร่ในจังหวัดคีวูใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[2][9] นักระบาดวิทยารายงานว่าสายพันธุ์ใหม่นี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า "เคลด Ib" หรือ "เคลด 1b" มีความสามารถในการแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ[2] และตั้งทฤษฎีว่าสายพันธุ์นี้น่าจะเกิดการมิวเทชั่นของยีนจนเกิดการแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นเนื่องมาจากที่ตั้งของเมืองคามีตูกาที่อยู่ห่างไกล ทำให้ไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายผ่านทางสัตว์ที่เดิมทีมักใช้เป็นตัวกลางในการแพร่กระจาย[2]

การแพร่ระบาด

[แก้]
ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2024
จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต
ประเทศ ติดเชื้อ[10][11] เสียชีวิต[10][11] หมายเหตุ
แอฟริกา
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 17,800 584 [12][a][12][b]
 ไนจีเรีย 788 0
 บุรุนดี 572 0
 สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 263 0 [c]
 สาธารณรัฐคองโก 146 1 [d]
 แคเมอรูน 35 2 [e]
 เคนยา 31 0 [f]
 โกตดิวัวร์ 28 1
 แอฟริกาใต้ 24 3 [13]
 กานา 4 0
 รวันดา 4 0
 ยูกันดา 2 0
 มาลาวี 1 0
เอเชีย
 ปากีสถาน 3 0 [14]
 ไต้หวัน 3 0 [15]
 ฟิลิปปินส์ 1 0 [16]
 ไทย 1 0 [17]
ยุโรป
 สวีเดน 1 0 [18]
อเมริกาใต้
 อาร์เจนตินา 1 0 [19]
รวม 19,693 591
  1. 1,888 of which have been laboratory confirmed
  2. 8 of which have been laboratory confirmed
  3. 28 of which have been laboratory confirmed
  4. 19 of which have been laboratory confirmed
  5. 5 of which have been laboratory confirmed
  6. One of which has been laboratory confirmed

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "WHO Director-General declares mpox outbreak a public health emergency of international concern". www.who.int. World Health Organization. 14 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2024. สืบค้นเมื่อ 16 August 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Cheng, Maria; Christina, Malkia (2 May 2024). "A new form of mpox that may spread more easily found in Congo's biggest outbreak". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2024. สืบค้นเมื่อ 14 August 2024.
  3. Bariyo, Nicholas (14 August 2024). "Rapid Spread of Mpox in Africa Is Global Health Emergency, WHO Says". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2024. สืบค้นเมื่อ 14 August 2024.
  4. 4.0 4.1 4.2 Cheng, Maria (14 August 2024). "WHO declares mpox outbreaks in Africa a global health emergency as a new form of the virus spreads". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2024. สืบค้นเมื่อ 14 August 2024.
  5. "Africa CDC Declares Mpox A Public Health Emergency of Continental Security, Mobilizing Resources Across the Continent". ACDC. 13 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2024. สืบค้นเมื่อ 18 August 2024.
  6. Mandavilli, Apoorva (14 August 2024). "W.H.O. Declares Global Emergency Over New Mpox Outbreak". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2024. สืบค้นเมื่อ 14 August 2024.
  7. Mandavilli, Apoorva (11 May 2023). "W.H.O. Ends Mpox Global Emergency". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2024. สืบค้นเมื่อ 14 August 2024.
  8. "Statement by His Excellency President Cyril Ramaphosa, the African Union Champion on Pandemic Prevention, Preparedness, and Response (PPPR) on the situation of Mpox outbreak in Africa". ACDC. 17 August 2024. สืบค้นเมื่อ 18 August 2024.
  9. Murhula Masirika et al. 2024, p. 1.
  10. 10.0 10.1 Africa Centres for Disease Control and Prevention 2024, p. 1.
  11. 11.0 11.1 World Health Organization 2024, p. 2–3.
  12. 12.0 12.1 "Mpox en RDC: un plan de riposte de 49 millions de dollars et des doses de vaccin attendues". RFI (ภาษาฝรั่งเศส). 19 August 2024. สืบค้นเมื่อ 21 August 2024.
  13. "Mpox Updates" (ภาษาอังกฤษ). National Institute for Communicable Diseases. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2024. สืบค้นเมื่อ 17 August 2024.
  14. [1]
  15. "Taiwan confirms three mpox cases amid global outbreak". TVBS. 19 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2024. สืบค้นเมื่อ 19 August 2024.
  16. [2]
  17. Wee, Sui-Lee (2024-08-21). "Thailand Reports Mpox Case in Traveler Who Arrived From Africa". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2024-08-22.
  18. "One case of mpox clade I reported in Sweden". Public Health Agency of Sweden. 15 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2024. สืบค้นเมื่อ 15 August 2024.
  19. [3]